จากข้อมูลของสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศฟิลิปปินส์ (PIDS) รายงานว่า แนวโน้มของอัตราการเติบโตภาคธุรกิจปศุสัตว์และสัตว์ปีก คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงทศวรรษหน้า ซึ่งการเติบโตนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศ แม้ว่าทางภาครัฐบาลไม่ได้เข้ามาสนับสนุนมากหนักเมื่อเทียบกับธุรกิจภาคเกษตรอื่นๆ แต่ก็ยังมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องการที่จะปฏิรูปภาคปศุสัตว์ที่มีอุปทานภายในประเทศสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงเป็นที่มาของการริเริ่มเข้ามาจัดงานในตลาดปศุสัตว์ของประเทศฟิลิปปินส์ครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแบ่งปันข่าวสารความรู้ในด้านการจัดงานธุรกิจปศุสัตว์อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะด้านการผลิตหมูและสัตว์ปีก โดยเชิญวิทยากรจากบริษัทชั้นนำระดับโลกมาร่วมบรรยายภายในงานครั้งนี้มากถึง 3 ท่านซึ่งแต่ละวิทยากรจะมานำเสนอมุมมองที่ต่างกัน แบ่งเป็นหัวข้อตั้งแต่การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ ระบบการจัดการอาหารสัตว์และการวางแผนจัดการฟาร์ม ในหัวข้อ "การสร้างผลกำไรจากการปรับปรุงสัตว์ด้วยการผสมเทียมและพันธุศาสาตร์ที่เหมาะสม" นำเสนอโดย Chris Jackson ผู้จัดการฝ่ายการส่งออก บริษัท UKTAG เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและพันธุศาสาตร์ วิทยากรท่านต่อมาคือ ตัวแทนจากกลุ่มบริษัท Buhler ที่จะมาแบ่งปันในหัวข้อ "อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มหมูที่สามารถปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์" และปิดท้ายด้วย Patrick Ty กรรมการผู้จัดการ บริษัท Big Dutchman Philippines ที่จะมาพูดในหัวข้อ "กลยุทธ์การส่งเสริมจัดการของเสียในฟาร์มหมูอย่างยั่งยืน" ด้วยการสนับสนุนจากธนาคารท้องถิ่น งานอิลเด็กซ์ ฟอรั่ม ในครั้งนี้จึงคาดหวังที่จะต้อนรับผู้นำ นักลงทุน ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่กำลังมองหาโอกาสทางการขยายธุรกิจต่อไป
งาน อิลเด็กซ์ ฟอรั่ม ฟิลิปปินส์ จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2562 ณ ห้อง Corregidor B โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค ณ กรุง มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ระหว่างเวลา 16.30 - 18.35 น. โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานได้ที่ https://forms.gle/FA2d8mKicLsACJtu7 หรือแจ้งความจำนงที่ [email protected] ภายในวันที่ 14 มิถุนายนนี้
หัวหน้าสายงานธุรกิจปศุสัตว์ ประจำ วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค - คุณปนัดดา ก๋งม้า กล่าวว่า "จากข้อเท็จจริงดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของรัฐบาลในประเทศฟิลิปปินส์ที่ให้สัญญานเชิงบวกและพร้อมที่จะเข้ามาสนับสนุนธุรกิจปศุสัตว์ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเปิดโอกาสให้เกิดการรวมเทคโนโลยีในสายการผลิตและการปรับปรุงธุรกิจภาคปศุสัตว์ เพื่อดึงนักลงทุนเข้าสู่ประเทศและได้รับความไว้วางใจในระยะแรกเริ่มนี้"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit