อาจารย์อนุสิทธิ์ เรสลี เผยว่า "ผมเป็นคนชอบไวโอลินตั้งแต่เด็ก ตอนเด็กๆผมดูละครไทยจักษ์ๆวงศ์ๆ แล้วมันมีเพลงประกอบที่เป็นไวโอลิน เกี่ยวกับเพลงไทยของครูเล็ก ชะอุ่มงาม ผมชอบมาก ผมเป็นเด็กที่เรียนไม่เก่งสอบตกซ้ำชั้น ส่วนเพื่อนๆเขาก็ไปสอบเขาเรียนช่างศิลป์กันไปก่อน พอมาถึงปีผมไปสอบดันสอบไม่ติด ตอนนั้นเสียใจมาก เดินออกมายืนหน้ากรมศิลป์ก็ได้ยินเสียงเพลงจากไวโอลินอีก ทำให้เกิดแรงบันดาลใจว่าเราต้องเล่นไวโอลินให้เป็นให้ได้ จึงเริ่มไปหาซื้อและสะสมนับแต่นั้นมา แล้วผมก็ไปเรียนต่อเรียนจบออกแบบจากเพาะช่าง ระหว่างนั้นก็ฝึกเล่นไวโอลินแบบที่ตัวเองก็อ่านโน้ตไม่เป็นเนี้ยแหละแล้วรวมวงกับเพื่อน ผมชอบเล่นเพลงอาหรับ แต่พอเลิกฮิตเพื่อนๆก็แยกย้ายกันไป ตอนนั้นผมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่โสตที่จุฬาฯ แต่ด้วยจิตใจที่รักในไวโอลินผมก็ไม่ค่อยสนใจในเรื่องงานที่ทำอยู่ประกอบกับคำดูถูกจากเพื่อนๆกับงานและเงินเดือนที่ผมได้รับขณะนั้น เพราะพวกเขาไปทำงานดีๆบ้างอยู่ในบริษัทโฆษณาใหญ่โตเงินเดือนเยอะ แล้วเขาก็นำแปลนงานออกมาโชว์ว่านี้คือผลงานเขา ได้ลงนิตยสารบ้านและสวนด้วยนะ ซึ่งแท้จริงแล้วงานชิ้นนั้นมันไปจบด้วยฝีมือช่าง ผมก็นึกในใจว่าเขากล้าพูดได้อย่างไรว่าคือผลงานตัวเอง ผมจึงเริ่มอาชีพช่างไม้ ทำเฟอนิเจอร์ เพราะลึกๆก็ต้องการลบคำดูจากจากพ่อว่าอย่างผมเป็นช่างไม้ไม่ได้หรอกด้วย แรกๆกิจการดีมากแต่พอถึงปี40ฟองสบู่แตก ผมหมดตัวและที่สะเทือนใจที่สุดคือไม่มีเงินถึงขนาดต้องให้ลูกหยุดเรียน แต่เพื่ออนาคตของลูกผมต้องยอมแลกสิ่งที่รักเพื่อให้ลูกได้เรียนด้วยการขายไวโอลินที่สะสมมา หลังจากนั้นจึงเริ่มมุ่งมั่นทำไวโอลิน เมียก็บอกว่าอย่าทำเลยคนไทยทำไม่ได้หรอก แต่ผมก็ไม่สนใจ จนในที่สุดทำสำเร็จ จนได้เอาออกมาสีให้คนอื่นชม เพราะผมอยากหาคนที่เขาสามารถบอกได้ว่าที่ผมทำมันใช้ได้มั้ย ก็โชคดีที่มีนักสะสมมีอายุท่านหนึ่งแรกๆเขาก็ไม่เชื่อว่าคนไทยจะทำได้ แต่สุดท้ายเขาก็มองเห็นและยอมรับ เขาเอาแบบการทำไวโอลินของนักไวโอลินระดับโลกมาให้ผม 2-3 แบบให้ผมลองเลือกทำ แต่ผมไม่ทำตามแบบใดแบบหนึ่งแต่นำทุกแบบดึงข้อดีออกมาผสมกัน ถึงตอนนี้ผมทำออกมาเกือบ 300 ตัวแล้วซึ่งแต่ละตัวมีเรื่องราวมีเสียงเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป มูลค่าก็ขึ้นอยู่กับความพอใจ เพราะผมสร้างเองจะตั้งเท่าไหร่ก็ได้ บางคนไม่มีเงินแต่ถ้าเขาสีให้ผมฟังแล้วผมพอใจอยากขายให้ผมให้เขาผ่อนก็มี ตอนนี้คนที่จะซื้อไวโอลินจากผม ต้องมาหาผมแบบให้เห็นหน้าและลองเล่นให้ผมดูเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่มุมไหนของโลก เพราะผมไม่ได้ถือว่าไวโอลินที่ผมสร้างคือสินค้า แต่มันคืองานศิลปะ ตอนนี้ในวงการนักทำไวโอลินระดับโลกก็เป็นที่ยอมรับแล้ว หลายๆตัวก็ถูกนำไปเล่นบนเวทีสากล ผมก็อยากให้คนไทยยอมรับด้วยครับ"
จากนั้นอาจารย์อนุสิทธิ์ ได้พาไปชมขั้นตอนการทำไวโอลินที่เรียกได้ว่าประณีตสุดๆ และพบกับลูกชายของอาจารย์อนุสิทธิ์ซึ่งเป็นลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นที่ชื่นชอบการทำงานไม้เหมือนผู้เป็นพ่อ
อย่าพลาดชมเรื่องราวชีวิตของอาจารย์อนุสิทธิ์ ได้ในรายการ "Perspective" ในคืนวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2562 เวลา 21.00 น.ทางช่อง 9 MCOT HD และ Facebook Live : PerspectiveTV
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit