ข้อเรียกร้องมีขึ้นในการแถลงข่าวที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศและกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำเสนองานวิจัยและข้อเสนอเชิงนโยบายว่าด้วยวิกฤตการนำเข้าของเสียที่ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในอาเซียนกำลังเผชิญอยู่ ทั้งสององค์กรระบุว่า น่าตกใจที่ต้องหยิบยกให้เห็นถึงความล้มเหลวของประชาคมอาเซียนที่ไม่นำประเด็นการค้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในวาระด่วนของการประชุมสุดยอดครั้งนี้
เลอา เกเรโร ผู้อำนวยการประจำประเทศฟิลิปปินส์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า"น่าเศร้าที่ภูมิภาคอาเซียนยังคงเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนย้ายกากของเสียของประเทศต่างๆ มากำจัดทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมาตรการห้ามนำเข้าขยะพลาสติกของจีนเมื่อปี พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา การค้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายในนามของการ "รีไซเคิล" หรือ "การใช้ประโยชน์"ของวัสดุที่เป็นวัตถุดิบ แต่กากของเสียที่นำเข้ามาส่วนใหญ่มีปลายทางที่หลุมฝังกลบหรือถูกนำไปเผาในพื้นที่ที่ผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ"
ในเอกสารข้อเสนอเชิงนโยบาย 'ต่อกรการค้าขยะพลาสติกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้' [1] กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หยิบยกให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ ณ จุดผลิกผัน เมื่อพิจารณาถึงความเชี่ยมโยงของการค้ากากของเสีย หลายประเทศในอาเซียนทะยอยออกมาตรการห้ามนำเข้าและมีคำสั่งให้ส่งกากของเสียกลับไปยังประเทศต้นทาง
ขณะเดียวกัน รายงานการศึกษาการนำเข้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ระหว่างปี 2557-2561(มิ.ย. 62) [2] โดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ ระบุถึงการนำเข้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์มายังประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อชุมชนดั้งเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดที่เข้าถึงได้ง่ายจากท่าเรือน้ำลึก
เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ อธิบายว่า "เมื่อพิจารณาอย่างผิวเผิน ผู้นำรัฐบาลอาจเห็นนี่คือโอกาสของการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ราคาที่ประชาชนต้องจ่ายคือความเสียหายต่อสุขภาพ น้ำสะอาดและผืนดินที่ใช้ในการดำรงชีวิต เหล่านี้เป็นราคาที่ไม่อาจประเมินได้ หากผู้นำอาเซียนยอมรับถึงความรับผิดชอบในการพัฒนาความมั่นคงที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจสีเขียวตามพันธกิจของอาเซียนที่มีต่อระเบียบวาระ พ.ศ. 2573(Agenda 2030) โดยที่ "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" นั่นหมายถึงว่า การนำเข้ากากของเสีย(ขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์) เข้ามาในภูมิภาคในนามของการพัฒนาก็ควรจะต้องยุติลงทันที"
นอกจากนี้ กรีนพีซเดินหน้ารณรงค์ออนไลน์ "อาเซียนไม่ใช่ถังขยะโลก" [3] เพื่อเปิดให้สาธาณะชนร่วมเรียกร้องต่อผู้นำอาเซียนกอบกู้วิกฤตมลพิษพลาสติกตามข้อเสนอต่อไปนี้
"นี่คือความท้าทายร่วมกันของอาเซียน สมาชิกอาเซียนทุกประเทศต้องออกแถลงการณ์ร่วมกันอย่างเร่งด่วนเพื่อยุติการนำเข้าขยะพลาสติกเข้ามาในภูมิภาค และวางระบบเพื่อสนับสนุนโลกที่ยั่งยืน ปราศจากพลาสติกใช้ครั้งเดียวทั้ง" เฮง เคียะ ชุน - ผู้ประสานงานรณรงค์ กรีนพีซ มาเลเซียย้ำ
หมายเหตุ :
[1] รายงาน "ต่อกรการค้าขยะพลาสติกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อประเทศสมาชิกอาเซียน" สามารถดาวน์โหลดที่ www.greenpeace.or.th/report/southeast-asias-struggles-against-the-plastic-waste-trade.pdf
[2] รายงาน"รายงานการศึกษาการนำเข้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ระหว่างปี 2557-2561(มิ.ย. 62)" สามารถดาวน์โหลดที่http://www.earththailand.org/en/document/76
[3] ร่วมลงชื่อรณรงค์ "อาเซียนไม่ใช่ถังขยะโลก" https://act.greenpeace.org/page/44108/petition/1
[4] เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ประเทศภาคีอนุสัญญาบาเซลลงมติรับรองการแก้ไขเพิ่มเติมโดยรวมกากของเสียพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิล ที่ผสมปนกันและปนเปื้อนเข้าไปในรายการภายใต้อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน โดยกำหนดให้ประเทศที่ส่งออกขยะพลาสติกต้องได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากประเทศปลายทาง และต้องมีกระบวนการกำจัดกากของเสียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ภายใต้การรับรองโดย 187 ประเทศภาคี ข้อแก้ไขดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้อีก 1 ปีข้างหน้า ผ่านการจัดตั้งคณะทำงานไตรภาคีที่เรียกว่า "ความร่วมมือว่าด้วยขยะพลาสติก" อย่างไรก็ตาม ด้วยแรงกดดันของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าขยะพลาสติก ภาคประชาสังคมนั้นมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและติดตามการทำงานของคณะทำงานและประเทศภาคีสมาชิก ตลอดจนผลประโยชน์ภาคเอกชนที่มีความซับซ้อนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อบังคับข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ :เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ อีเมล: [email protected] โทร. +66816117473
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit