ปส. จับมือ IAEA และ 14 องค์กรความมั่นคงนิวเคลียร์ไทย ประเมินภัยคุกคามและแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศ

17 Dec 2018
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จัดประชุมระดับประเทศ เรื่อง "การดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 National Design Basis Threat: Evaluation" หวังประเมินข้อมูลภัยคุกคามและดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศให้มีความพร้อมและสามารถใช้งานได้จริง ช่วยเสริมความเข้มแข็งในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทยอย่างสอดคล้องและรอบด้าน โดยมี 14 องค์กรพันธมิตรด้านความมั่นคงนิวเคลียร์ไทยร่วมประเมินอย่างเข้มข้น
ปส. จับมือ IAEA และ 14 องค์กรความมั่นคงนิวเคลียร์ไทย ประเมินภัยคุกคามและแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศ

นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับประเทศ เรื่อง "การดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 National Design Basis Threat: Evaluation" กล่าวว่า การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ เป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของ ปส. เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศมีความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชน ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งป้องกันภัยคุกคามและอันตรายจากผู้ก่อการร้ายหรือผู้ไม่หวังดีด้วยตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญ ปส. จึงร่วมกับ IAEA จัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับประเทศ เรื่อง "การดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 National Design Basis Threat: Evaluation" ตั้งแต่วันที่ 17 - 20 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมใหญ่ ปส. เพื่อประเมินข้อมูลและจัดทำภัยคุกคามพื้นฐานทางนิวเคลียร์ ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้จากการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อเดือนตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา

นางสาววิไลวรรณ กล่าวต่อไปว่า การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมต่อเนื่องซึ่ง ปส. และผู้แทนหน่วยงานพันธมิตรด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทย กว่า 40 คน จาก 14 หน่วยงาน จะมุ่งเน้นการประเมินแผนสนับสนุนการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศไทยอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีความสอดคล้องกับองค์ประกอบสำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ (1) กรอบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (2) การประเมินภัยคุกคามและความเสี่ยง (3) การคุ้มครองทางกายภาพ (4) การตรวจสอบ (5) การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (6) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ หากการประเมินในครั้งนี้พบว่าแผนสนับสนุนฯ มีความสมบูรณ์และคลอบคลุมการดำเนินงานอย่างครบถ้วนในทุกด้านตามแนวทางและมาตรฐานสากลแล้ว ประเทศไทย โดย ปส. จะได้นำเสนอแผนดังกล่าวต่อ IAEA เพื่อให้มีการรับรองและประกาศใช้แผนสนับสนุนการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศอย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศมีแนวทางในการกำกับดูแลความปลอดภัยอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม สามารถดำเนินงานเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในทางสันติภายในประเทศอย่างมีมาตรฐาน นำไปสู่การยอมรับของนานาประเทศ

HTML::image(