ทั้งนี้ สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบใหม่ แบ่งได้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 สายพันธุ์ ปลา 23 สายพันธุ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 14 ชนิดพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน 26 ชนิดพันธุ์ และพืช 91 ชนิดพันธุ์ จาก 5 ประเทศภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย จากหลายพื้นที่ตั้งแต่ป่าเขา แม่น้ำ จนถึงทุ่งหญ้า
รายงานระบุว่า มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ ถึง 3 ชนิดต่อสัปดาห์ ซึ่ง 39 สายพันธุ์เหล่านี้ ค้นพบในประเทศเมียรมาร์ โดยเป็นสัญญาณเชิงบวก ให้กับการทำวิจัยและงานอนุรักษ์ในประเทศเมียร์มาร์หลังจากมีการเปิดประเทศ และมีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตอาจมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มเติมได้อีก ขณะที่มีการค้นพบอื่นๆ ได้แก่ การค้นพบ 58 สายพันธุ์ใหม่ในประเทศเวียดนาม และ 35 สายพันธุ์ในประเทศไทย 24 สายพันธุ์ในประเทศลาว และ 8 สายพันธุ์ในประเทศกัมพูชา
สัตว์และพืชสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบ ได้แก่
สจ๊วต แชปแมน ผู้อำนวยการสายงานอนุรักษ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง WWF ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายสายพันธุ์ที่รอการค้นพบ แต่น่าเศร้าที่พวกมันอาจจะ สูญพันธุ์ไปก่อนที่จะมีใครได้พบเห็น
"สถานการณ์อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น หากมีแหล่งน้ำสำรองที่เหมาะสมกับสัตว์ป่า รวมถึงการฝึกอบรมผู้พิทักษ์ป่าให้เกิดความเชี่ยวชาญในงานอนุรักษ์ รวมทั้งต้องมีความพยายามในการขับเคลื่อนการปิดตลาดการค้าสัตว์ป่า ที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์สภาพความหลากหลายของสัตว์ป่าในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง "
ทางด้าน ดร.อีวาน โควท จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซียระบุว่า ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ของเขาที่ค้นพบงูสายรุ้งสายพันธุ์ใหม่ ลุ่มแม่น้ำสาละวิน ในประเทศเมียรมาร์ ชี้ชัดว่าที่นี่ เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเขามั่นใจว่าหากมีการสำรวจพื้นที่ทั้งหมด จะค้นพบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่นี้มากขึ้น
รายงานแห่งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ Living Planet Index ล่าสุดจาก WWF ระบุว่าจำนวนประชากรสัตว์ป่าทั่วโลกลดลงเฉลี่ยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ใน 40 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่การลดลงของจำนวนประชากรในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกลับเลวร้ายยิ่งกว่า จากการแหล่งที่อยู่อาศัยในเขตป่าที่ถูกทำลาย รวมถึงการล่าสัตว์ในปริมาณมหาศาลในหลายพื้นที่ของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่มีอยู่จำกัด ทำให้ไม่สามารถคาดคะเนจำนวนประชากรสัตว์ป่าที่ลดลงอย่างชัดเจนในระดับภูมิภาคได้ ในขณะที่การสร้างถนน ทางรถไฟ รวมถึงเขื่อนก็ให้ผู้ล่าสัตว์ป่าสามารถเข้าถึงการล่าได้ง่ายขึ้น
ขณะที่ ตลาดบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย ประเทศเมียรมาร์ ประเทศลาว และประเทศจีน ยังคงมีการซื้อขายสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างผิดกฎหมาย รวมถึงการลักลอบขนส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศจีนและประเวียดนาม ที่มีความต้องการของผู้ซื้อที่นิยมสินค้าจากสัตว์ป่าสูง
อย่างไรก็ตาม ถือเป็นข่าวดี หลังจากที่มีการประกาศให้การค้าสัตว์ป่าในกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียร์มาร์ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และการออกคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีของประเทศลาว ให้เพิ่มมาตราการอย่างเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายการซื้อขายสัตว์ป่า นำไปสู่การจับกุมสินค้าที่ทำมาจากสัตว์ป่าได้อย่างมหาศาล นอกจากนี้การที่ประเทศจีนประกาศห้ามซื้อสินค้าที่ทำจากงาช้างทำให้มีแนวโน้มว่าจะเกิดการการเปลี่ยนแปลงในตลาด รวมถึงยังมีกระแสกดดันนักท่องเที่ยวและนักลงทุนในการงดซื้อสินค้าที่ทำมาจากสัตว์ป่าในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำแม่โขงมากขึ้น
" การค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆแต่ละครั้ง แลกมาด้วยเลือด หยดเหงื่อ และน้ำตา แต่มันก็คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป ที่จะทำให้สามารถประกาศชื่อสายพันธุ์ใหม่ๆ และทำทำให้เราได้ร่วมปกป้องธรรมชาติเอาไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้" ผู้อำนวยการสายงานอนุรักษ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง WWF ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว
เกี่ยวกับองค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF)
องค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF คือหนึ่งในองค์กรเพื่อการอนุรักษ์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด และเป็นอิสระมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีผู้ให้การสนับสนุนมากกว่า 5 ล้านคน และมีเครือข่ายทำงานอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศ พันธกิจของ WWF คือ ลดการบุกรุก และยับยั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของโลก พร้อมไปกับสร้างอนาคตใหม่ให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ด้วยการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของโลก สร้างหลักประกันให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผลักดันให้ลดมลภาวะ และลดการบริโภคอย่างสิ้นเปลือง หากต้องการรับข่าวสารและสื่อสารสนเทศล่าสุด คลิก www.wwf.or.th
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit