"พิม" เริ่มเล่นเทนนิสตั้งแต่อายุ 5 ขวบ คือก้าวขาออกจากบ้าน ก็เข้าสนามเทนนิสเลย ไม่เคยได้มีชีวิตอยู่กับ เพื่อนเลยค่ะ เริ่มแข่งตอนอายุ 7-18 ปี แข่งระดับเยาวชนมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเริ่มมีปัญหากับครอบครัวตอน ม.3 เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่เป็นนักกีฬาเทนนิสทั้งคู่ คุณแม่อยากให้เรา เล่นอาชีพแล้วเรียนต่อ กศน.(การศึกษานอกระบบ) แต่ "พิม" ไม่ยอมค่ะ ตอนนั้นเลือกเรียนต่อจนถึง ม.6 จุดแตกหัก มาจากที่คุณแม่อยากให้ไปแข่งเทนนิส เพื่อสอบเข้า เป็นตัวมหาวิทยาลัย แต่ตอนนั้นเราเจ็บหนักมาก เจ็บหลังถึงขั้นต้อง ไปฝั่งเข็ม และทางบ้านก็กดดันมาก พอเวลาเรา ฝืนตัวเองจนเกินไปก็รู้สึกไม่โอเค จึงตัดสินใจเลิกเล่นไปเลย และ เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้วยการสอบเข้า ปกติ ไม่ใช้โควต้านักกีฬา หลังจากนั้นพอทางมหาวิทยาลัย รู้ว่าเราเป็นนักกีฬาก็อยากให้ลงเล่น ซึ่งตอนนั้น "พิม" ก็ตัดสินใจแล้วว่าไม่เล่นค่ะ
อยากทำงานด้านสื่อ
"พิม" เลือกเรียน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีโอกาสได้ทำข่าว เป็นผู้สื่อข่าวลงพื้นที่จริงๆ ทำแล้วรู้สึกว่าชอบทางด้านนี้เลยค่ะ"พิม" โชคดีที่ค้นหาตัวเองได้เร็ว และได้รับโอกาสดีๆ จากผู้ใหญ่หลายๆ คน การก้าวเข้ามาตรงนี้รู้สึกภูมิใจและประทับใจมาก ชอบการทำข่าว หรือทำสกู๊ป ที่สามารถช่วยเหลือประชาชน ช่วยเหลือสังคม เพราะรู้สึกว่ามันมีประโยชน์ มันมีค่ามากที่ทำให้ชีวิตพวกเค้าดีขึ้นค่ะ
ข่าวที่ทำแล้วรู้สึกประทับใจ
เป็นข่าวน้องเด็กพิการคนนึงที่ถูกทนายโกงเงิน ตอนนั้นเป็นข่าวดังมาก เริ่มจากไปทำข่าว ตามประเด็นใน แต่ละวัน แต่พอหลังจากนั้น "พิม" ก็ได้เข้าไปคุยกับครอบครัวของน้อง มีการเข้าไปช่วยเหลือติดต่อสภาทนายความ ให้หลังจากนั้นเค้าก็ได้รับความช่วยเหลือจากสังคมมากขึ้น และเค้าสามารถอยู่ได้โดยที่ไม่ลำบากมาก ผ่านมาสอง สามปีแล้วซึ่งวันนี้ก็ยังติดต่อกันอยู่ และเค้าก็ขอบคุณเราที่เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปช่วยเหลือเค้า หลังจากนั้นก็รู้สึก ว่าการทำข่าวของเราไม่ได้ทำให้จบไปวันๆ เพราะการที่เราเข้าไปถามเค้าว่ามีอะไรให้ช่วยไหม เหมือนมันสร้างกำลังใจ ให้เค้า ทุกวันนี้ยังคอยช่วยเหลือกันอยู่ ซึ่งการทำงานของเราได้ช่วยเหลือคนถึงแม้ว่าจะเป็นแค่คนๆ เดียว แต่ก็รู้สึกดีที่ได้ช่วยเค้าได้ค่ะ
เหตุการณ์ถ้ำหลวงท้าทายตัวเอง
ข่าวถ้ำหลวงเป็นการท้าทายตัวเองมาก ใช้พลังชีวิตมาก "พิม" ไปสองช่วง หลังจากเกิดเหตุสองสามวัน ก็บินไปเลยอยู่เกือบสัปดาห์ ซึ่งต้องเก็บทุกรายละเอียด "พิม" ช่วงนั้นอยู่คนเดียวเลยก่อนที่จะมีทีมอื่นไปช่วยเสริม เครียดมากนอนวันละสองสามชั่วโมง เพราะต้องตื่นตั้งแต่ตี 3 เตรียมรายงานสดตอนตี 5 และอยู่เฝ้าทั้งวัน เก็บทุก ประเด็น เพราะหน้าที่เราไม่ได้นำเสนอแค่ทางทีวีรายงานสดเท่านั้น "พิม" ต้องนำเสนอทางออนไลน์ ไลฟ์เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ถ่ายรูป อัพคลิปทำทุกอย่างหมดค่ะ
เป็นพิธีกรรายการ "ทันข่าวเช้า" ช่วง "คนดีเปลี่ยนโลก" และล่าสุดกับช่วง 5 Minutes Big Hero
สำหรับ "คนดีเปลี่ยนโลก" เรียกว่า "พิม" ได้มีโอกาสทำทุกอย่างด้วยตัวเองเลยค่ะ หาคอนเทนต์เอง ติดต่อเอง เขียนบท สัมภาษณ์เอง เข้าห้องตัดดูทุกรายละเอียดเลยค่ะ มีเคสนึงที่ภูมิใจมาก คือ "ลุงโกโต้" ชาวอเมริกันวัย 80 หลังจากที่เค้าป่วยหนัก เป็นไวรัสตับอักเสบซี ระบบในร่างกายเค้าไม่ดี และหมอบอกว่าเค้าจะใช้ชีวิตได้อีก แค่สองปี เท่านั้น จากการที่เค้าเคยติดยา กินเหล้าอย่างหนักมาตั้งแต่วัยรุ่น จากนั้นเค้ากลับเลือกใช้บั้นปลายชีวิต เดินทางมาอยู่ที่เมืองพัทยา ประเทศไทย มุ่งมั่นทำความดีด้วยการอุทิศตนแบ่งปันแจกจ่ายอาหารน้ำและสิ่งของจำเป็นให้กับ ผู้ยากไร้ และสุนัขจรจัด ซึ่งทุกๆ วันเค้าใช้เวลาที่เหลือเดินเก็บขยะริมหาดจอมเทียนมานานกว่า 17 ปี หลังจากที่ "พิม" เข้าไปสัมภาษณ์และเทปนี้ได้ออกอากาศทางช่อง และเฟซบุ๊คของโมโน 29 ทำให้มียอดวิวพุ่งสูงถึงล้านกว่า และมีคนแชร์มากถึงสองหมื่นกว่าคน และวันนึงข่าวก็กระจายไปถึงในวัง ทำให้เค้าได้รับของพระราชทาน และทำให้คนมาบริจาคของให้เค้าเยอะมาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเคสที่ทำให้เราภูมิใจค่ะ ล่าสุดรายการปรับชื่อช่วงเป็น 5 Minutes Big Hero (ไฟว์ มินิท บิ๊ก ฮีโร่) ซึ่งคอนเซ็ปต์รายการจะคล้ายๆ กัน คือนำเสนอเรื่องราวของคนทำดีเพื่อสังคม ซึ่งก็เป็นอีกช่วงที่รู้สึกภูมิใจที่ภูมิใจที่มีโอกาสได้ทำตรงนี้ค่ะ
นิยามของคำว่าผู้สื่อข่าว
คือคุณต้องรู้ว่าสิ่งที่คุณทำอยู่คืออะไร เราไม่ใช่เครื่องมือของใคร หรือได้ประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือข่าวไหนเรามีหน้าที่ทำตัวเป็นกลางหรือรายงานข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับรู้และสิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำงานข่าวคือ สังคมต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นค่ะ
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit