วันที่ 22 ธ.ค. 61 เรื่อง 'การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองและการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและพลเมืองในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม' เวทีเสนา โดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ได้ชวนคุยเรื่องการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการพัฒนาอบรมครู ภายใต้หัวข้อ "การเสริมสร้างครูพลเมืองที่นำไปสู่การขับเคลื่อนพลเมืองสร้างสังคมที่เป็นธรรม" ต่อด้วย คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ชวนหาคำตอบว่าเราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการเคลื่อนไหวภาคสังคม โดยนำทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือสร้างความตื่นรู้ให้กับพลเมืองเกี่ยวกับปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างไร ภายใต้หัวข้อ "การมีส่วนร่วมของภาคสังคมและพลเมือง สร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่เป็นธรรมผ่านมิติการศึกษาและเครื่องมือการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล" และช่วงสุดท้าย ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ ผู้อำนวยการสถาบันสังคมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ชวนมองว่ากลไกการศึกษาของรัฐมีบทบาทและเปิดช่องทางให้เกิดการสร้างสังคมที่เป็นธรรมได้อย่างไร ภายใต้หัวข้อ "กลไกระบบการศึกษาของรัฐที่เกื้อหนุนการสร้างสังคมที่เป็นธรรม" โดยการเสวนาทั้ง 3 ช่วง จะชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงของการใช้กลไกระบบการศึกษา ภาคสังคม และกิจกรรมพัฒนาครู เพื่อก่อให้เกิดช่องทางการยกระดับงานการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตยและการใช้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม
ช่วงที่ 2 การแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ 'การศึกษาของกระป๋องมีฝัน-01 ภาคโรงเรียน' โดย สะอาด หนังสือการ์ตูนอ่านง่ายที่เล่าเรื่องราวชีวิตในระบบการศึกษาของตัวเองผ่านลายเส้นอันมีเอกลักษณ์ ที่จะพาผู้อ่านทบทวนความทรงจำและรู้สึกร่วมไปกับเขาจากประสบการณ์ในโรงเรียนที่เด็กไทยทุกคนน่าจะได้เคยพบเจอ ต่อด้วยการเปิดตัวหนังสือ 'ครูผู้สร้างพลเมือง' ที่จะชวนผู้อ่านมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนการสอน จากครูรุ่นใหม่จำนวน 10 คน บอกเล่าเรื่องราว สื่อสารความคิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำงานของพวกเขาต่อวงวิชาชีพ ผู้สนใจ และสังคมในวงกว้าง ที่ผ่านการกลั่นกรองจากเข้าร่วมการอบรมในเครือข่าย และบทเรียนจากการสอนเรื่องพลเมืองในโรงเรียนของตัวเอง ที่บ้างก็เต็มไปด้วยอุปสรรค ความท้าทาย และเป้าหมายในการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับนักเรียนของพวกเขา และการเปิดตัวหนังสือ ชุดสื่อและคู่มือเท่าทันสื่อที่จัดทำโดยคณะทำงานของ สสย. และครูในเครือข่าย ที่รวมแนวทางการเสริมสร้างทักษะรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อให้เกิดการขยายการใช้ที่กว้างไกลยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางกระทรวงศึกษาธิการที่ได้ถือเอาการรู้เท่าทันสื่อเป็นสมรรถณะที่ต้องพัฒนาผู้เรียนในอนาคตด้วย
ช่วงบ่ายเป็นการเปิดเวทีให้กลุ่มครูในเครือข่าย Thai Civic Education ที่กระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศได้บอกเล่าประสบการณ์ในการขับเคลื่อนงานการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตยและการนำทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ไปใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยแนวทางการพัฒนาครูเพื่อการสอนพลเมือง และการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล รวมไปถึงการพัฒนาคู่มือครูสิทธิมนุษยชนการจัดงานในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการรวมตัวกันของเครือข่ายครู นักการศึกษา และภาคสังคมที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย และการสร้างทักษะการรรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลแล้ว ยังเป็นการสื่อสารแนวคิด องค์ความรู้ วิธีการ ที่เกิดจากการตกผลึกการขับเคลื่อนงานมาตลอดระยะเวลาหลายปี เพื่อสื่อสารให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และสร้างความหวังให้กับสังคมในการใช้กลไกระบบการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย
เกี่ยวกับ เครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Thai Civic Education Center)
เครือข่าย Thai Civic Education ก่อตั้งขึ้นระหว่างหน่วยงาน partner หลายฝ่าย ได้แก่ ... โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการสอนความเป็นพลเมืองในระดับโรงเรียน และจัดอบรมบุคลากรด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เวลารุ่นละประมาณ 1 ปี ปัจจุบันเครือข่ายกำลังดำเนินการเพื่อจดทะเบียนเป็นมูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
เกี่ยวกับ สสย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ก่อตั้งขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมเพื่อสร้างระบบกลไกสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก-เยาวชน ครอบครัว อย่างยั่งยืน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit