เผยผลสำรวจพบองค์กรเริ่มเน้นใช้ AI ด้วยความรับผิดชอบและมีจริยธรรม

10 Jan 2019
92% ขององค์กรผู้นำด้าน AI ได้อบรมจริยธรรมแก่บุคลากรด้านเทคโนโลยี และ 74% ประเมินผลการใช้ AI เป็นรายสัปดาห์ สองไฮไลต์ผลศึกษาโดย SAS, เอคเซนเชอร์ แอปไพลด์ อินเทลลิเจนซ์, อินเทล และ ฟอร์บส์ อินไซต์
เผยผลสำรวจพบองค์กรเริ่มเน้นใช้ AI ด้วยความรับผิดชอบและมีจริยธรรม

รายงานศึกษาล่าสุดเผยให้เห็นว่า ผู้บริหารธุรกิจชั้นนำเริ่มดำเนินการเสริมสร้างการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ด้วยความรับผิดชอบ โดยองค์กรส่วนใหญ่ที่ใช้ AI ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 72 ของทั่วโลก ได้เริ่มอบรมด้านจริยธรรมให้กับบุคลากรด้านเทคโนโลยีของตน (ร้อยละ 70) และจัดให้มีคณะกรรมการด้านจริยธรรม เพื่อประเมินและตรวจสอบการใช้ AI ด้วย (ร้อยละ 63)

องค์กรที่นำ AI ไปใช้ได้อย่าง "ประสบผลสำเร็จ" หรือ "ประสบผลสำเร็จอย่างสูง" ถือเป็นผู้นำด้าน AI ที่เริ่มนำในด้านจริยธรรมด้วย โดยเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 92) ได้อบรมด้านจริยธรรมให้กับบุคลากรด้านเทคโนโลยีของตนแล้ว เทียบกับองค์กรอื่นทั่วไปที่ใช้ AI แต่อบรมด้านจริยธรรมแล้วประมาณร้อยละ 48

ผลการศึกษานี้ได้จากการสำรวจข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้บริหารธุรกิจชั้นนำ 305 รายทั่วโลก โดยกว่าครึ่งเป็นผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสารสนเทศ (CIO) ด้านเทคโนโลยี (CTO) และด้านอนาลิติกส์ (CAO) ในหัวข้อ "AI Momentum, Maturity and Models for Success" ซึ่ง SAS เอคเซนเชอร์ แอปไพลด์ อินเทลลิเจนซ์ และ อินเทล ได้มอบหมายให้ ฟอร์บส์ อินไซต์ จัดทำเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561

รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีเอไอมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน กรอบจริยธรรมสำหรับการใช้งานเอไอ จึงสำคัญมาก

นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า "องค์กรต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงประเด็นความกังวลและผลจากเทคโนโลยีเอไอที่เบี่ยงเบนไป เช่น ทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมและลำเอียง อย่างไรก็ดี ต้องถือว่าเป็นก้าวย่างที่ดีที่องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มทำอะไรมากกว่าการปฏิญาณว่าจะละเว้นไม่ใช้เทคโนโลยีเอไอในทางอันตรายหรือเกิดโทษ (do no harm) โดยควรมีแนวทางที่ชอบด้วยกฎหมาย ชัดเจน เหมาะสมกับการใช้ปฏิบัติ เพื่อพัฒนาระบบเกี่ยวกับเอไอให้ปลอดภัย โปร่งใส อธิบายได้ และน่าเชื่อถือ เพื่อเลี่ยงไม่ให้เกิดผลที่ไม่คาดคิดตามมา หรือสุ่มเสี่ยงที่จะขัดต่อกฎระเบียบ และอาจเป็นอันตรายต่อตัวบุคคล ธุรกิจ และสังคม บรรดานักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจึงต้องการให้มีแนวทางด้านจริยธรรมในลักษณะนี้"

นอกจากนี้ องค์กรผู้นำด้านเอไอยังตระหนักดีว่าระบบอนาลิติกส์ (Analytics) มีส่วนสัมพันธ์กับการนำเอไอมาใช้ได้อย่างประสบผลสำเร็จ โดยองค์กรถึงร้อยละ 79 ยอมรับว่าระบบอนาลิติกส์มีบทบาทหลักหรือสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของเอไอในองค์กร และมีเพียงร้อยละ 14 ที่ยังไม่เห็นผลหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยีเอไอ

"ผู้บริหารที่นำเทคโนโลยีเอไอมาใช้ต่างรู้ดีว่า ความสำเร็จด้านเอไอนั้น หมายถึงความสำเร็จด้านอนาลิติกส์นั่นเอง" นายนนทวัฒน์ กล่าว "ทุกคนต่างเห็นว่าอนาลิติกส์ได้เข้ามากุมบทบาทสำคัญในเทคโนโลยีเอไอ"

การกำกับดูแลเอไอไม่ใช่เรื่องเสริม แต่จำเป็นต้องมี

แม้จะมีกระแสว่า เทคโนโลยีเอไอทำงานได้โดยอิสระ ปราศจากการแทรกแซงของมนุษย์ แต่งานวิจัยนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า องค์กรผู้นำด้านเอไอตระหนักดีว่า การกำกับดูแลเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเรื่องจำเป็น ไม่ใช่เรื่องเสริม โดยร้อยละ 74 ขององค์กรผู้นำด้านเอไอเปิดเผยว่า ได้ดูแลการใช้งานอย่างระมัดระวัง โดยจัดให้มีการประเมินและตรวจสอบผลอย่างน้อยทุกสัปดาห์ (ขณะที่มีเพียงร้อยละ 33 ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ AI น้อยกว่า ได้ทำการตรวจสอบ) นอกจากนี้ ร้อยละ 43 ของกลุ่มผู้นำด้านเอไอยังเผยว่า องค์กรมีกระบวนการที่สามารถเพิ่มเติมหรือลดผลได้ที่ดูผิดสังเกตในระหว่างตรวจสอบ (ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 28 ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ AI น้อยกว่า มีกระบวนการลักษณะนี้)

ทั้งนี้ รายงานระบุว่ากระบวนการกำกับดูแลยังต้องใช้เวลาพัฒนาอีกมาก กว่าที่จะเท่าทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเอไอ

"หากสามารถเข้าใจวิธีการตัดสินใจของเอไอได้ จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและช่วยให้มนุษย์กำกับดูแลเอไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ" นายนนทวัฒน์ กล่าวและเสริมว่า "สำหรับนักพัฒนาและลูกค้าที่วางแผนนำเอไอไปใช้ โดยพัฒนาอัลกอริทึมที่โปร่งใสและอธิบายได้ รวมทั้งใช้ระบบเอไอทำงานโดยแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ฝีมือมนุษย์ เส้นทางการพัฒนาจึงยังอีกยาวไกล จนกว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นจนถึงระดับที่มีการนำเอไอไปใช้อย่างแพร่หลาย"

ดังนั้น การที่องค์กรต่าง ๆ พัฒนาแนวทางการใช้เอไออย่างมีจริยธรรม และเสริมความเชื่อมั่นว่าจะมีการกำกับดูแลที่ดี จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะองค์กรตระหนักดีว่าหากผลจากการใช้เอไอออกมาคลาดเคลื่อน จะส่งผลกระทบต่อไปยังส่วนอื่น ๆ สำหรับองค์กรที่นำเอไอมาใช้แล้วหรือมีแผนจะนำมาใช้ พบว่าร้อยละ 60 มีความกังวลเรื่องการใช้เอไอในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวกับข้องกับลูกค้า เช่น องค์กรจะดูแล้งน้ำใจหรือไม่ หรือยิ่งทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในองค์กรน้อยลงก็เป็นได้

ผลการศึกษาอื่น ๆ ที่ได้จากการสำรวจนี้ ได้แก่:

  • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 72 ขององค์กรทั่วโลกมีการใช้เอไอในส่วนงานขององค์กร อย่างน้อยก็หนึ่งธุรกิจ
  • ประมาณร้อยละ 44 หรือเกือบครึ่งขององค์กรที่นำเอไอมาใช้ ระบุว่าการใช้งานได้ผลสำเร็จจริง โดยเอไอได้เข้ามาช่วยให้การประมาณการและตัดสินใจถูกต้องแม่นยำขึ้น ทำให้ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือ เพิ่มผลิตภาพการทำงานของทั่วทั้งองค์กร
  • ร้อยละ 46 หรือเกือบครึ่งขององค์กรที่นำเอไอมาใช้ เผยว่าได้ใช้เอไอครอบคลุมทั้งระบบงาน ไม่ว่าจะหนึ่งระบบ (use case) หรือมากกว่านั้น
  • ผู้ตอบแบบสำรวจที่ไม่ใช่ผู้บริหารระดับสูง (C-suite) มักจะมองผลกระทบของเอไอในเชิงบวก โดยมากกว่าครึ่งคือ ร้อยละ 55 ของผู้บริหารระดับทั่วไป เห็นว่าการนำเอไอมาใช้งานนั้น "ประสบผลสำเร็จ" หรือ "ประสบผลสำเร็จอย่างสูง" ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงมีเพียงร้อยละ 38 ที่เห็นผลเชิงบวก
  • องค์กรหลายแห่งเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่พนักงานด้านการยกระดับการทำงาน โดยร้อยละ 62 เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าเอไอให้ประโยชน์มาก เพราะทำให้พนักงานหันมาเน้นด้านกลยุทธ์ มากกว่างานด้านปฏิบัติการ
  • อย่างไรก็ตาม มีองค์กรร้อยละ 20 ที่ระบุว่า "มีแรงต้านจากพนักงานเนื่องจากความกังวลเรื่องเสถียรภาพในหน้าที่การงาน" จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของการนำเอไอมาใช้งาน ส่วนอีกร้อยละ 57 เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า "เราเป็นห่วงเรื่องผลกระทบของเอไอต่อประเด็นด้านพนักงานสัมพันธ์ (เช่น พนักงานอาจรู้สึกเหมือนโดนคุกคาม หรือต้องทำงานมากเกินกำลัง)"

"ยิ่งกระแสการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งมีความท้าทายหรือมีปัญหาที่ต้องแก้" รอส แกกนอน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยแห่ง Forbes Insights กล่าว "แต่คุณประโยชน์และโอกาสต่าง ๆ ที่จะได้จากเอไอนั้น มีมากมายอย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินงาน ไปจนถึงการเพิ่มผลิตภาพและรายได้ สิ่งที่ผู้บริหารควรถามตัวเอง ไม่ใช่ว่าควรใช้เอไอหรือไม่ แต่ควรถามตัวเองว่าจะนำมาใช้เร็วที่สุดได้เมื่อไรต่างหาก"

เกี่ยวกับการวิจัยนี้

การสำรวจได้ข้อมูลจากผู้บริหารองค์กรระดับโลก 305 รายในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก จัดทำขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 โดยฟอร์บส์ อินไซต์ ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยเชิงกลยุทธ์และแนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นผู้นำทางความคิด ของฟอร์บส์ มีเดีย

เกี่ยวกับเอคเซนเชอร์

เอคเซนเชอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ดิจิทัล การบริหารเทคโนโลยีและการปฏิบัติการชั้นนำของโลก และด้วยประสบการณ์ การทำงานอย่างลึกซึ้ง ผนวกกับศักยภาพที่สมบูรณ์แบบในกว่า 40 อุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมทุกสายงานของธุรกิจ พร้อมด้วยเครือข่ายการให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เอคเซนเชอร์สามารถร่วมมือกับลูกค้า เชื่อมต่อธุรกิจและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ยกระดับองค์กรของลูกค้าให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและสมรรถภาพสูง สามารถสร้างคุณค่าอันยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้นได้ ปัจจุบันเอคเซนเชอร์ มีพนักงานประมาณ 442,000 คนในกว่า 120 ประเทศ เอคเซนเชอร์มุ่งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำงานมีคุณภาพดีขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.accenture.com

เอคเซนเชอร์ แอปไพลด์ อินเทลลิเจนซ์ (Accenture Applied Intelligence) เป็นส่วนหนึ่งของเอคเซนเชอร์ ดิจิทัล โดยได้นำเทคโนโลยีเอไอและมันสมองอันปราดเปรื่องของมนุษย์มาใช้เป็นทรัพยากรหลัก ในการช่วยลูกค้าขบคิดแก้ปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนที่สุดได้ การนำเอไอมาใช้ด้วยความรับผิดชอบ ประสานกับความเชี่ยวชาญลึกซึ้งในอุตสาหกรรมและความสามารถในการวิเคราะห์ของเอคเซนเชอร์ แอปไพลด์ อินเทลลิเจนซ์ ได้ช่วยให้ลูกค้าองค์กรสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลได้สำเร็จ สามารถขยายขีดความสามารถของพนักงาน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการที่ชาญฉลาดออกมาให้คนสัมผัสได้จริง ติดตามเราได้ทางทวิตเตอร์ @AccentureAI หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ accenture.com/appliedintelligence

สงวนลิขสิทธิ์(C) 2018 เอคเซนเชอร์ โลโก้ และ High Performance Delivered. ถือเป็นเครื่องหมายการค้าของเอคเซนเชอร์

เอกสารนี้ จัดทำโดยที่ปรึกษาของเอคเซนเชอร์เพื่อใช้เป็นแนวทางทั่วไป มิได้มีเจตนาให้เป็นคำแนะนำเฉพาะต่อสถานการณ์ใด ๆ ของท่าน หากท่านต้องการคำแนะนำหรือรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ กรุณาติดต่อตัวแทนของเอคเซนเชอร์

เกี่ยวกับ SAS

เอสเอเอส (SAS) คือผู้นำด้านระบบอนาลิติกส์ ที่มีความพร้อมด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์และบริการ ส่งผลให้ SAS สามารถสนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าทั่วโลกสามารถแปลงข้อมูลให้เป็นปัญญา (intelligence) ได้ สมกับคำกล่าวที่ว่า SAS ช่วยจุดไฟสู่การเรียนรู้ให้กับคุณ (The POWER TO KNOW(C))

SAS รวมทั้งชื่อผลิตภัณฑ์และการบริการของ SAS Institute Inc. เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ SAS Institute Inc. ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ โดยสัญลักษณ์ (R) หมายถึงการจดทะเบียนในสหรัฐฯ สำหรับชื่อแบรนด์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทนั้น ๆ สงวนลิขสิทธิ์(C) 2018 SAS Institute Inc.

เกี่ยวกับอินเทล

อินเทล (Intel) (NASDAQ: INTC) ขยายขีดความสามารถของเทคโนโลยีให้ก้าวไกล ช่วยสร้างประสบการณ์ที่สุดแห่งความประทับใจเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล ดูได้ทาง newsroom.intel.com และ intel.com

อินเทลและโลโก้ของอินเทล เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Intel Corporation ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ

เกี่ยวกับฟอร์บส์ อินไซต์

ฟอร์บส์ อินไซต์ (Forbes Insights) เป็นหน่วยงานวิจัยเชิงกลยุทธ์และแนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นผู้นำทางความคิด ของฟอร์บส์ มีเดีย (Forbes Media) ซึ่งเป็นกิจการด้านสื่อ แบรนดิ้ง และเทคโนโลยีระดับโลก มีแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เข้าถึงผู้บริหารระดับสูงร่วม 94 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละเดือน ฐานข้อมูลจากเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัทซึ่งเป็นแหล่งรวมผู้บริหารระดับสูงในแวดวงของฟอร์บส์ ได้ช่วยให้ฟอร์บส์ อินไซต์สามารถทำวิจัยในหัวข้อที่หลากหลาย สอดรับกับการวางตำแหน่งของแบรนด์ ในฐานะผู้นำทางความคิดและการขับเคลื่อนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนผลวิจัยที่ได้ มีการนำเสนอในหลายรูปแบบ ทั้งดิจิทัล สิ่งพิมพ์ และถ่ายทอดสด รวมทั้งขยายผลผ่านแพลตฟอร์มทางโซเชียลและสื่อในเครือฟอร์บส์

เผยผลสำรวจพบองค์กรเริ่มเน้นใช้ AI ด้วยความรับผิดชอบและมีจริยธรรม เผยผลสำรวจพบองค์กรเริ่มเน้นใช้ AI ด้วยความรับผิดชอบและมีจริยธรรม เผยผลสำรวจพบองค์กรเริ่มเน้นใช้ AI ด้วยความรับผิดชอบและมีจริยธรรม