นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกุล ประธานกรรมการ บสย. พร้อมด้วย ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมกันแถลงข่าว ผลการดำเนินงานการค้ำประกันสินเชื่อ ปี 2561 และแผนงาน บสย. ในปี 2562 ว่า ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ประจำปี 2561 (1 ม.ค.- 31 ธ.ค. 2561) ยังคงสร้างการเติบโตด้านยอดค้ำประกันสินเชื่อภาพรวมเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผลดำเนินงานในปี 2560 โดยมีการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อรวม 88,878 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินอนุมัติจากการค้ำประกันสินเชื่อ รวม 133,191 ล้านบาท หรือ 1.5 เท่า ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท หรือเทียบเท่า 3% ของ GDP 2561 ของประเทศ* โดยมีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อรวม 77,862 ราย เทียบกับผลดำเนินงานในปี 2560 มีการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 86,633 ล้านบาท ผ่านโครงการ SMEs ทวีทุน (PGS6 ปรับปรุงใหม่ สิ้นสุดโครงการ ณ 30 มิ.ย. 2561) และโครงการ SMEs ทวีทรัพย์ (PGS7) ระยะเวลาโครงการ 24 ก.ค.2561 สิ้นสุด 23 ก.ค. 2563
ผลงานที่โดดเด่นของ บสย. ในปี 2561 คือการสร้างความร่วมมือในการค้ำประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงินของรัฐ : SFIs (รวมธนาคารกรุงไทย) ที่ทำให้กลุ่มสถาบันการเงินของรัฐ ผนึกกำลังช่วยขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐสร้างการเติบโตให้กับ SMEs อย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพ ส่งผลให้มียอดค้ำประกันสินเชื่อในกลุ่มสถาบันการเงินของรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14% หรือเท่ากับ 42,533 ล้านบาท เทียบกับยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อปี 2560 มีวงเงิน 37,347 ล้านบาท
ปี 2562 ชูเป้าค้ำฯ 107,000 ล้านบาท ปั้นโมเดล รับโลกเปลี่ยน
ดร.รักษ์ กล่าวว่า ปีนี้ บสย. ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อ 107,000 ล้านบาท ภายใต้ความท้าทายในโลก ยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนเร็ว บสย. ต้องปรับตัวให้เร็ว และตอบโจทย์ การทำงานของรัฐบาลยุคดิจิทัล ภายใต้แผนงานปี 2562 "บสย.4.0 เคียงคู่ผู้ประกอบการ SMEs ไทย" ภายใต้แนวคิด "New Business Model 2019" ปรับ Roadmap มุ่งยกระดับการทำงานองค์กรอย่างเต็มประสิทธิภาพ คิดใหม่ ทำใหม่ ขับเคลื่อนสู่องค์กรดิจิทัล เต็มรูปแบบ พัฒนาระบบฐานข้อมูล Data Management เชื่อมการทำงาน บสย. ทั้งภายในและภายนอก ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ SOS ได้แก่ 1. SMEs Capacity Enhancer 2. Opportunity Gateway 3. Second Chance Provider เพื่อให้การสนับสนุน SMEs เข้าถึงแหล่งทุนในระบบมากขึ้น การให้ความรู้ทางการเงิน การขยายฐานการสนับสนุน SMEs ที่ต้องการขยายการลงทุนในต่างประเทศ ผู้ประกอบการกลุ่ม S-curve และ Start-up และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่ม NPLs กลุ่มฟื้นฟูกิจการมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อเช่นกัน
ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เน้นตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Market Segmentation) อาทิ กลุ่มลูกค้ารายย่อย (Micro) กลุ่มลูกค้า Small กลุ่มลูกค้า S-curve กลุ่มลูกค้าฟื้นฟูกิจการ และกลุ่มผู้ประกอบการในโครงการสินเชื่อประชารัฐ เช่น ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ผู้ประกอบการแท็กซี่ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันในรูปแบบ Direct Guarantee โดยเป้าหมายตามแผนวิสาหกิจ บสย. ปี 2562 คือ ให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น 82,600 ราย จากปีที่ผ่านมาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่ จำนวน 77,862 ราย
"แนวคิดการนำรูปแบบการค้ำประกันแบบ Direct Guarantee เป็นหนึ่งในแนวทางการดำเนินงาน บสย. เพื่อลดการพึ่งพาจากภาครัฐตามนโยบายของรัฐบาล รวมถึงแผนการบริหารจัดการหนี้ ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าจัดเก็บหนี้ให้ได้ 550 ล้านบาท หรือกว่า 3,000 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ซึ่งเก็บหนี้ได้ 380 ล้านบาท หรือกว่า 2,000 ราย" ดร.รักษ์ กล่าว
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit