ศ.ดร.นพ. วิปร วิประกษิต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์มะเร็ง กล่าวว่า มะเร็งต่อมลูกหมากมักพบในผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักๆ คือ การมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น พ่อ หรือ พี่ชาย ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากเช่นการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือเนื้อแดง เป็นเวลานานติดต่อกัน โดยอาการที่อาจบ่งบอกว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจากการที่ก้อนมะเร็งที่ต่อมลูกหมากโตและกดทับท่อปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน ปวดตอนปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก หรือ ควบคุมการปัสสาวะลำบาก รวมถึงการมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ ซึ่งถ้าหากคนไข้มีอาการเหล่านี้ แพทย์อาจพิจารณาตรวจวินิจฉัยด้วยการคลำทางทวารหนัก (digital Rectal Examination) ร่วมกับการตรวจ PSA (Prostate Specific Antigen) ในกระแสเลือด การตรวจอัลตร้าซาวด์ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และ การเจาะที่ก้อนเนื้อหากพบก้อนต้องสงสัย
สำหรับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกหนึ่งมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50-55 ปี ขึ้นไป โดยเริ่มจากการเกิดติ่งเนื้อ (polyp) ที่เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติและควบคุมไม่ได้ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ได้แก่ประวัติการมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป การมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี การมีประวัติโรคลำไส้แปรปรวน ท้องผูกเป็นเวลานานติดต่อกัน รวมถึงการสูบบุหรี่ ความอ้วนและการไม่ออกกำลังกาย สิ่งที่น่ากลัวคือมักจะไม่มีอาการจำเพาะในระยะเริ่มแรก ทำให้ตรวจพบอีกทีเมื่อเป็นระยะท้ายๆแล้ว โดยอาการที่อาจบ่งบอกว่าอาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่นมีเลือดปนกับอุจจาระ ท้องเสียหรือท้องผูกเรื้อรัง ขับถ่ายผิดปกติ ปวดท้องร่วมกับท้องอืด อาการอื่น ๆ เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดเหมื่อย และซีด การคัดกรองมะเร็งลำไส้แนะนำให้ผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารทุกๆ 5-10 ปี อย่างเป็นประจำร่วมกับการตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจอุจจาระ การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง CEA, การตรวจ CT scan และอัลตราซาวนด์ เป็นต้น
มะเร็งปอดอีกมะเร็งที่พบบ่อยในคุณผู้ชายที่ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ คือการสูบบุหรี่ ซึ่งแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดแบบเซลล์เล็ก (SCLC: small cell lung cancer) คิดเป็น 10-15 % ของมะเร็งปอดที่พบ และมะเร็งปอดแบบเซลล์ไม่เล็ก (NSCLC: Non-small cell lung cancer) ซึ่งคิดเป็น 85-90% นอกจากการสูบบุหรี่แล้ว ปัจจัยสำคัญคือการมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ถึงแม้ไม่สูบบุหรี่ก็ตาม รวมทั้งอายุที่เพิ่มขึ้นและการสัมผัสมลภาวะต่าง ๆ เช่น แร่ใยหิน ก๊าซเรดอน ควันธูป เป็นต้น เนื่องจากมะเร็งปอดมักไม่มีอาการจำเพาะแต่อาการที่บ่งบอกว่าอาจเป็นมะเร็งปอด เช่น ไอเรื้อรัง (แบบทั้งมี หรือ ไม่มีเสมหะ) ไอเป็นเลือด หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอกและเสียงแหบ การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดโดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์ช่องอก (chest X-ray) การตรวจเอกซเรย์ช่องอกแบบรังสีต่ำ (low-dose chest CT scan) หากพบก้อนต้องสงสัยอาจต้องมีการเจาะชิ้นเนื้อ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ PET/CT scan ต่อไป ศ.ดร.นพ. วิปร กล่าวเสริม
ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากเป็นอย่างยิ่งคือ "การมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งดังกล่าว" ที่เพิ่มความเสี่ยงด้วยการถ่ายทอดความผิดปกติของยีนจากรุ่นพ่อ-แม่ สู่รุ่นลูกหลาน และด้วยนวัตกรรมการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนเหล่านี้ ด้วยชุดตรวจ Genetic Test for Cancer Screening Standard 50 Genes สามารถช่วยตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนแบบ Germline mutations หรือ การกลายพันธุ์ของยีนที่ถูกถ่ายทอดโดยตรงมาจากพันธุกรรม จำนวนทั้งหมด 50 ยีน ครอบคลุมมะเร็งมากกว่า 20 ชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
ทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติที่นำไปสู่ความเสี่ยงของมะเร็งมากกว่า 20 ชนิด ครอบคลุมมะเร็งยอดฮิตคุณผู้ชายทั้งหมด ไม่ต้องรอให้มีอาการแสดงของโรค เพียงการเจาะเลือด 6 มล. และใช้เทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา ตรวจหาการกลายพันธุ์มากกว่า 2,800 ชนิด ผลที่ได้จึงถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย ผลการรายงานเฉพาะรายบุคคลรับรองโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางพันธุกรรมโรคมะเร็ง ผลที่ได้จากการตรวจจะช่วยให้เข้าใจความเสี่ยงและช่วยวางแผนการดูแลสุขภาพของคุณและคนในครอบครัวได้อย่างตรงจุดเสี่ยงและมีประสิทธิภาพ ไม่สายเกินไปที่คุณผู้ชายจะหันมาใส่ใจสุขภาพ ชวนคุณพ่อและคนที่คุณรัก เข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำทั่วไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit