สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบในปีนี้และมีโอกาสที่จะส่งงานวิจัยไปทดลองในอวกาศมีอยู่ 2 ทีม ด้วยกัน คือ งานวิจัยของทีมที่ 2 เรื่อง "ระบบพยุงชีพที่ยั่งยืนจากไข่น้ำสำหรับการสำรวจอวกาศในอนาคต" จากมหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุบลราชธานี และงานวิจัยของทีมที่ 5 "ผลของสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงต่อการผลิตกรดแกมมาพอลิกลูตามิกโดยแบคทีเรีย Bacillus subtilis" ซึ่งผลงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการพัฒนาผลงานที่ทำร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สำหรับอาจารย์ของ มทร.อีสาน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้วิจัย ได้แก่ ดร. ฐิติกร มหิสนันท์ สาขาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มทร.อีสาน นครราชสีมา และนักวิจัยอีก 2 ท่าน ได้แก่ ดร. สุวิมล เจตะวัฒนะ จาก สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และ ผศ. ดร. ปิยะวรรณ กาสลัก จาก สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยผลงานวิจัยนี้จะได้รับสิทธิในการทดลองงานวิจัยต่อไปในอวกาศ เพื่อยกระดับพัฒนานวัตกรรมด้านงานวิจัยอวกาศสู่มาตรฐานสากล
สำหรับ อาจารย์ ดร.ฐิติกร มหิสนันท์ ท่านมีความเชี่ยวชาญและความสนใจในเรื่อง จุลชีววิทยาทางอาหาร (Food microbiology), Food fermentation, Starter culture in alkaline fermentation, Post-harvest safety, Probiotic, Starter culture preservation techniques, Predictive modelling in food microbiology, Bacterial stress response in food processing, Microbial enzymes and metabolites, Bacterial starter culture improvement by physical and chemical techniques โดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ขอบคุณภาพจาก: สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit