ไทยนับเป็นประเทศแรกต่อจากสิงคโปร์ที่ เดอะ ฟินแล็บจะนำโครงการ Smart Business Transformation เข้ามาบ่มเพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ตามรอยความสำเร็จของโครงการที่สามารถบ่มเพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประเทศสิงคโปร์จาก 11 บริษัท ให้สามารถพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล โดยนำร่องการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์และกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ เพื่อให้การทำงานเป็นแบบอัตโนมัติและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ ที่จัดทำโดยเดอะฟินแล็บ พูดถึงสองกลยุทธ์หลักที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยใช้ในการเติบโตธุรกิจ โดยระบุว่า 54% ของเอสเอ็มอีจะให้ความสำคัญในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่ ในขณะที่ 51% จะเน้นไปที่การทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งเครื่องมือในการเพิ่มยอดขายและสร้างความผูกพันกับกลุ่มลูกค้าที่นิยมใช้ ได้แก่ การทำการตลาดบนสังคมออนไลน์ (62%) และ การทำการตลาดดิจิทัล (61%)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะให้ความสำคัญกับการใช้โซลูชั่นดิจิทัลต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการให้บริการออนไลน์ แต่ยังคงมีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย (67%) และความซับซ้อน (44%) ในการดำเนินงาน
โครงการบ่มเพาะ Smart Business Transformation ตลอดระยะเวลา 3 เดือนจะช่วยให้เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับโมเดลธุรกิจและนำโซลูชั่นดิจิทัลต่างๆ มาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจ โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือการตลาดและการขายออนไลน์ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตลอดโครงการผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะได้รับการอบรมและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและผู้พัฒนาเทคโนโลยีจากเครือข่ายของเดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และธนาคารยูโอบี ตั้งแต่รากฐานกระบวนการทำงาน การวิเคราะห์ปัญหา การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และพัฒนาโซลูชั่น การตลาด วัฒนธรรมองค์กร และการกำหนดเป้าหมายการเติบโตในอนาคต หลังจากนั้น จะมีการจับคู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกับผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีไปทดลองแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฟิลิกซ์ ตัน กรรมการผู้จัดการ เดอะฟินแล็บ กล่าวว่า "ภารกิจของเดอะ ฟินแล็บคือการช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั่วภูมิภาคอาเซียน สามารถระบุและแก้ไขปัญหาในการทำธุรกิจที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะปรับตัวและขยายธุรกิจของพวกเขาในยุคดิจิทัลได้ เดอะ ฟินแล็บมีความยินดีที่จะนำประสบการณ์ของเราในการเชื่อมโยงพันธมิตรและคู่ค้าด้านเทคโนโลยี ให้เข้ากับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อที่จะบรรลุความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ได้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการ Smart Business Transformation ด้วยการสนับสนุนและความร่วมมือจากธนาคารยูโอบีและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมรวมทั้งพันธมิตรใหม่ๆ"
เจมส์ รามา ปัทมินทรวิภาส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Channels & Digitalisation ธนาคาร ยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า "ด้วยประสบการณ์และการสนับสนุนที่ยูโอบี (ไทย) มีให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาโดยตลอด ทำให้เราทราบว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน และเราทราบว่า เอสเอ็มอีได้ตระหนักถึงความสำคัญอย่างมากของการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ให้ทันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เราจึงต้องการช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเติบโตธุรกิจของตัวเองได้ โครงการ Smart Business Transformation จะช่วยผู้ประกอบการให้ได้รับความรู้ที่จำเป็นต่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล พร้อมทั้งเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคได้"
ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน (กลุ่มเศรษฐกิจดิจิทัล) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวว่า "ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 เรากำลังขับเคลื่อนสู่อีกขั้นของการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเราเห็นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือทางดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจอย่างแพร่หลาย เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือจากยูโอบีและเดอะ ฟินแล็บในการสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จสู่จุดมุ่งหมายทางเศษฐกิจยุคดิจิทัลที่เราตั้งเป้าไว้"
โครงการ Smart Business Transformation เปิดรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยที่มีความสนใจแล้วตั้งแต่วันนี้ และจะปิดรับในเดือนมกราคม 2562 รวมถึงสตาร์ตอัพและบริษัทผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจากทั่วโลกที่ต้องการนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่น โดยโครงการจะเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายน 2562
เกี่ยวกับเดอะ ฟินแล็บ (The FinLab)
เดอะ ฟินแล็บ(The FinLab) ดำเนินโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค (FinTech) และบริษัทเทคโนโลยีให้สามารถพัฒนาและเติบโตได้ในยุคดิจิทัล ตั้งแต่เริ่มต้นในปี 2558 เดอะ ฟินแล็บได้ดำเนินการโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านการเงินหรือฟินเทค (FinTech) ไปแล้ว 2 รุ่น โดยทำการเลือกจาก 700 บริษัทใน 44 ประเทศ สำหรับรุ่นที่ 3 ของโครงการบ่มเพาะนี้จะเน้นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการปรับองค์กรเข้าสู่ดิจิทัลอย่างเต็มตัว รวมทั้งจับคู่เอสเอ็มอีกับบริษัทฟินเทคและผู้ให้บริการโซลูชั่นที่เหมาะสมและตรงความต้องการในการทำธุรกิจของกลุ่มเอสเอ็มอี
เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ โครงการภายใต้การดำเนินงานของ depa ได้สนับสนุนให้เกิดการเติบโตของสตาร์อัพผ่านการสนับสนุนด้านเงินทุน การพัฒนาโครงการ Smart City เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนไทย รวมทั้งการจัดตั้ง Digital Park Thailand เพื่อให้เป็นสถานที่ส่งเสริมพัฒนานวัตกรรมและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในภูมิภาค
เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย)
ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จำกัด ประเทศไทย (กลุ่มธนาคารยูโอบี) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีเครือข่ายทั่วประเทศ 154 สาขาและเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 363 เครื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561) ยูโอบีเป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานมากกว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ กลุ่มธนาคารยูโอบี มีสินค้าและบริการด้านการเงิน โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจในการให้บริการ
ธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA โดยฟิทช์ เรทติ้งส์
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit