'สภาเอสเอ็มอี’ จัดงานเสวนา DINNER TALK 2018 โชว์วิสัยทัศน์จัดตั้งโครงการ SMEs Smart Province พัฒนาแบรนด์สินค้า ดันผู้ประกอบการเข้าระบบ 1,000,000 ราย ภายใน 10 ปี

29 Nov 2018
เมื่อวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561 เวลา 17.00 น. ณ โรงแรมยู สาทรกรุงเทพฯ สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยจัดงานเสวนา SMEs DINNER TALK 2018 : SMEs ไทยสู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงGMS โดยนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เสวนาในหัวข้อ แนวทางการส่งเสริม SMEs สู่ GMS และGlobal และ นายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย เสวนาในหัวข้อ SMEs Smart Province สู่การรวมกลุ่มของ ASEAN SMEs
'สภาเอสเอ็มอี’ จัดงานเสวนา DINNER TALK 2018 โชว์วิสัยทัศน์จัดตั้งโครงการ SMEs Smart Province พัฒนาแบรนด์สินค้า ดันผู้ประกอบการเข้าระบบ 1,000,000 ราย ภายใน 10 ปี

นายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวในงาน "SMEs Dinner Talk 2018 : SMEs ไทยสู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงGMS" ว่า สภาเอสเอ็มอีเตรียมจัดตั้งโครงการ SMEs Smart Province เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการระดับจังหวัด และพัฒนาสินค้าเด่นสร้างเป็น Brand Province โดยมีเป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าระบบ500,000 รายใน 5 ปี และ 1,000,000 รายใน 10 ปี

ทั้งนี้ ปัญหาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)ของไทยเรื้อรังมานาน เนื่องจากประเทศ ไทยไม่มีนิยามโครงสร้างการส่งเสริมผู้ประกอบการที่เป็นเอกภาพ หลายหน่วยงานมีนิยามต่างกันออกไป รวมทั้งไม่ได้บูรณาการความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริม ให้ร่วมขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การดำเนินโครงการต่างๆ กระจัดกระจายและไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหา จึงควรเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งจากระดับจังหวัด ด้วยโครงการ SMEs Smart Provinceซึ่งพัฒนาขึ้นโดยสภาเอสเอ็มอี เพื่อสนับสนุนความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงแหล่งทุน และองค์ความรู้ต่างๆ โดยบูรณาการความร่วมมือและใช้กลไกทุกภาคส่วนของจังหวัดในการขับเคลื่อนทั้งระบบ ประกอบด้วย ภาครัฐ ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด สสว. ภาคเอกชน ได้แก่ สภาเอสเอ็มอีจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด สมาคม มูลนิธิ วิสาหกิจ ชุมชน และบริษัทประชารัฐ ภาคการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัย มทร. และ มรภ. ในจังหวัด และภาคสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐที่อยู่ในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขใน 3 ประเด็นปัญหาหลักของ SMEs คือ

1) การตลาด โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ด้วยการรับรองระบบคุณภาพ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การได้ตรามาตรฐานฮาลาล และการสร้าง Brand Province โดยความร่วมมือกับบริษัทประชารัฐในการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์ ได้แก่ ผ่านเครือข่ายโทรทัศน์และวิทยุ

2) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยร่วมมือกับธนาคารให้ความรู้กับ SMEs ในการเตรียมตัวขอสินเชื่อ ธนาคาร และการเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีเดียว โดยการจัดอบรมให้กับผู้ประกอบการทั้งที่เข้าระบบแล้วและยังไม่เข้าระบบให้ทราบแนวทางและการเตรียมตัวเพื่อสามารถเข้าถึงแหล่งทุนภาคสถาบันการเงินในอนาคตได้

3) การให้องค์ความรู้ โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้คนรุ่นใหม่สำเร็จออกมาเป็นผู้ประกอบการที่มีความพร้อมและมีคุณภาพ รวมทั้งการสนับสนุนติดอาวุธทางปัญญาให้ผู้ประกอบการ ด้วยหลักสูตรการศึกษาไร้ปริญญา และบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมและอื่น ๆ

HTML::image( HTML::image( HTML::image(