กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรจึงริเริ่มโครงการพัฒนาระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงเขาหัวโล้นภูทับเบิก (ทับเบิกโมเดล) ขึ้น เพื่อพลิกฟื้นคืนผืนป่า รวมทั้งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผลผลิตของเกษตกร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตพืชที่มีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลักอย่างยั่งยืนเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำบนพื้นที่สูงเขาหัวโล้นภูทับเบิก ใช้เป็นต้นแบบขยายผลสู่พื้นที่สูงเขาหัวโล้นรอยต่อ 3 จังหวัด อีกทั้งเพื่อพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตพืชผักปลอดภัยและพืชผักอินทรีย์บนพื้นที่สูง ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้ระบบการรองรับแหล่งผลิตพืช GAP และเกษตรอินทรีย์ที่สามารถเชื่อมโยงจากแหล่งการผลิตสู่การตลาดที่ยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรโดยเฉพาะกาแฟที่มีรสชาติเฉพาะถิ่นบนพื้นที่สูง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้แก่ชุมชน ขณะนี้มีการนำร่องแล้ว30 ครัวเรือน และกำลังขยายผลอีก 59 ครัวเรือน โดยโครงการดังกล่าวมีการดำเนินการใน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1. การผลิตพืชที่มีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลักอย่างยั่งยืน 2. การผลิตพืชผักปลอดภัยและพืชผักอินทรีย์ และ 3. การผลิตสมุนไพรพื้นบ้านและกาแฟ
"รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สนับสนุนด้านองค์ความรู้รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตกร ตลอดจนการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพ การเก็บเกี่ยว แปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกกาแฟอาราบิกา มะคาเดเมีย ซี่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งพืชเมืองหนาว 2-3ชนิด โดยสามารถปลูกควบคู่ไปกับการปลูกผักได้ เพราะในช่วง 2-3 ปีแรกที่ไม้ผลเหล่านี้ยังไม่ออกผล เกษตกรกผ้มีรายได้จากการปลูกพืช สามารถปลูกผักได้ตามปกติ. จึงถือเป็นโครงการที่ช่วยพลิกฟื้นภูทับเบิกให้เกิดความยั่งยืนในการทำเกษตรกรและลดการทำลายสิ่งแวดล้อม" นายลักษณ์ กล่าว
ในการนี้ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการการดำเนินงานโครงการทับเบิกโมเดล พร้อมมอบใบรับรอง GAP และเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกรจำนวน 10 ราย และมอบต้นพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวและกาแฟอาราบิก้าให้กับเกษตรกรต้นแบบจำนวน 24 ราย ตลอดจนเยี่ยมชมแปลงต้นแบบระบบเกษตรผสมผสานบนพื้นที่สูง และแปลงผลิตผักอินทรีย์ของเกษตกรในพื้นที่