"ฟอร์ดมีความยินดีที่ได้ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับนักเรียนไทยอย่างต่อเนื่อง การประกวดสุดยอดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ในโครงการทุนการศึกษา Go Further Innovator Scholarship เป็นเวทีที่ให้โอกาสเด็กไทยได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ และเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ในการคิดค้นนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อนำไปพัฒนาและแก้ไขปัญหาการใช้รถใช้ถนนในประเทศไทย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้นำมาเข้าประกวดกันในครั้งนี้ล้วนแต่มีไอเดียที่แปลกใหม่ น่าสนใจ ซึ่งแต่ละไอเดียเป็นผลมาจากความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งใกล้ตัวในชีวิตประจำวันของเราที่บางครั้งอาจนึกไม่ถึง ฟอร์ดเชื่อว่าสิ่งใหม่ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดออกและพัฒนามาจากผลงานในที่นี้ จะสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่มีมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจในอนาคต"นางสาวศุภรางศุ์ อนุชปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าว
การประกวดเฟ้นหาสุดยอด "สิ่งประดิษฐ์เพื่อทุกชีวิตปลอดภัยบนท้องถนน" ของโครงการทุนการศึกษา Go Further Innovator Scholarship ในปี 2018ได้รับเกียรติจาก ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นายกษมา ถาวร กรรมการผู้จัดการบริษัท กษมา เฮลิคอปเตอร์ จำกัด และนายคมสัน นันทจิต นักแสดงและพิธีกรรายการโทรทัศน์ ให้เกียรติร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน
ผลงานชนะเลิศระดับอุดมศึกษา เป็นผลงาน "สีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืน" ของ นางสาวดลชนก ดรุณวรรณ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผลิตภัณฑ์สีเรืองแสงสูตรใหม่นี้ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยนำสาร Optical brightener ไปผสมในเนื้อสี ซึ่งสาร Optical brightener ที่อยู่ในเนื้อสี นี้จะทำปฏิกิริยากับแสงไฟหน้ารถของรถที่ขับผ่าน หรือแสงจากหลอดไฟในบริเวณใกล้เคียง แล้วเกิดการเปล่งแสงขึ้นมาโดยกระบวนการเรืองแสง สีเรืองแสงสูตรใหม่นี้สามารถนำไปใช้ทาบนพื้นถนน ทางจักรยาน ทางเดิน หรือป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสว่างและทัศนวิสัยให้กับผู้ขับขี่ยานยนต์ และผู้ใช้เส้นทางในเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนถนนและบริเวณที่ไม่มีไฟถนน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน
สำหรับผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับอาชีวศึกษา ได้แก่ ผลงาน "ระบบแจ้งเตือนสัญญาณไฟแผงหน้าปัดรถยนต์ด้วยเสียง" จากทีมวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ซึ่งในทีมประกอบด้วย นายภานุรุจ นิลรัตน์ นายณัฐกานต์ ปานสุวรรณ และนายวีระพล บุญจันทร์ โดยสิ่งประดิษฐ์จะทำงานเมื่อเซ็นเซอร์ในรถนยต์ตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบ โดยระบบจะมีการแจ้งเตือนไปยังหน้าปัดเรือนไมล์รถยนต์ ทำให้ Arduino Uno R3 ตรวจจับได้ว่ามีความผิดปกติ และจะสั่งให้โมดูล SD Card ทำการเล่นเสียงที่บันทึกไว้ของเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ออกลำโพง ทำให้ทราบถึงรายละเอียดของเซ็นเซอร์ที่มีความผิดปกติ และข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ทำให้สามารถรู้ได้ทันทีว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับรถยนต์ โดยสิ่งประดิษฐ์นี้สามารถนำไปต่อยอดกับบริษัทผลิตรถยนต์ หรือทำเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ในอนาคตได้
นอกจากนี้ นักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา ยังมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการ Ford Driving Skills for Life หรือโครงการฉลาด ขับ ประหยัด ปลอดภัย ซึ่งเป็นกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการขับขี่ปลอดภัยจากฟอร์ด โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทั้งยังสามารถนำข้อมูลและความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ขับขี่จริงบนท้องถนน ในปีนี้ ฟอร์ดได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 และมีผู้ผ่านการอบรมในประเทศไทยแล้วกว่า 12,000 ราย
ข้อมูลเกี่ยวกับฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี
ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเดียร์บอร์น รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยธุรกิจของบริษัท ได้แก่ การออกแบบ ผลิต ทำการตลาด และบริการหลังการขาย สำหรับรถยนต์ รถกระบะ รถเอสยูวี รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในแบรนด์ฟอร์ด และแบรนด์ลินคอล์น ซึ่งเป็นแบรนด์ในตลาดรถหรู รวมถึงให้บริการด้านการเงินผ่านบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ เครดิต และบริษัทกำลังเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และแผนการสัญจรอัจฉริยะ ฟอร์ดมีพนักงานรวมประมาณ 201,000 คนทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟอร์ด ผลิตภัณฑ์ของฟอร์ด และฟอร์ด มอเตอร์ เครดิต โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่www.corporate.ford.com
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit