นายฮัมดาน เบ็ญญโซฟ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตันหยงกลิง หนึ่งในโรงเรียนที่ตั้งอยู่บนเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล กล่าวในฐานะของผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลบนเกาะ เข้าถึงได้ยาก ทั้งการเดินทางและการสื่อสารกับทางภาคพื้นดิน แม้ว่าในปัจจุบันโรงเรียนมีความพยายามพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเรียนในยุค 4.0 ตามนโยบายของรัฐ โดยการพยายามให้เด็กหันมาใช้สื่อดิจิทัลในการสืบหาข้อมูล แต่ในทางปฏิบัติยังคงเป็นไปได้ยาก จากปัจจัยหลายข้อ เช่น การขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย บุคลากรยังขาดความเชี่ยวชาญในการใช้สื่อการสอนใหม่ๆ รวมทั้งความสนใจของเด็กในพื้นที่ห่างไกลที่ "หนังสือ" ยังคงเป็นสื่อการเรียนรู้หลักที่พวกเขาสนใจ ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุผลสำคัญว่า "ทำไมการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ห่างไกล ยังไม่สามารถพัฒนาเทียบเท่ากับโรงเรียนในเมืองได้"
นายฮัมดาน ได้เปิดเผยเพิ่มเติมถึงปัญหาของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต้องเผชิญ ซึ่งมีส่วนทำให้การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนเป็นไปอย่างไม่เต็มที่ นายฮัมดานเชื่อว่า ไม่เพียงแต่โรงเรียนบ้านตันหยงกลิงที่ตั้งอยู่บนเกาะเท่านั้นที่เผชิญกับปัญหาเหล่านี้ แต่โรงเรียนอื่นๆ ในประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ก็กำลังเผชิญกับปัญหาความขาดแคลนโอกาสของเด็กๆ ในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกัน โดยปัญหาที่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลต้องเผชิญ อาทิ
นายศิโรโรตม์ เมธมโนศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ - ทรัพยากรบุคคลและบริหาร บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการเสริมปัญญา กับ ทาทา สตีล เป็นโครงการส่งเสริมการอ่านให้แก่เยาวชนในพื้นที่ห่างไกลที่ ทาทา สตีล ได้ริเริ่มมาเป็นเวลาครบ 10 ปี เพื่อตอบสนองปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในพื้นที่ห่างไกล โดยที่มาของโครงการนี้ เริ่มจากความตั้งใจส่งเสริมแหล่งเรียนรู้บริเวณรอบโรงงาน เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนในพื้นที่โรงงาน ทาทา สตีล รู้จักใช้เวลาว่างในการพัฒนาตัวเองผ่านการอ่านหนังสือ จากนั้นโครงการได้ขยายออกไปในพื้นที่ที่ห่างไกลมากขึ้น และขยายเป้าหมายไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย
นายศิโรโรตม์ กล่าวเพิ่มว่า สำหรับในปีนี้ โครงการเสริมปัญญา กับ ทาทา สตีล ยังมีความท้าทายที่มากขึ้น โดยการเข้าไปติดตั้งมุมหนังสือในโรงเรียนที่ห่างไกล และด้อยโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งมุมหนังสือถึงโรงเรียนบนเขาในพื้นที่ภาคเหนืออย่างจังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงการเข้าไปมอบมุมหนังสือให้กับโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เคยได้รับผลกระทบความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ผ่านมา และล่าสุด ทาทา สตีล ได้ขนเอามุมหนังสือที่ครบครันไปติดตั้งให้กับโรงเรียนบนเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล ที่ยังขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ เนื่องจากที่ตั้งบนเกาะที่ห่างไกล เข้าถึงได้แค่เพียงการนั่งเรือไปเท่านั้น อีกทั้งผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ทำให้โรงเรียนบนเกาะสาหร่าย เป็นหนึ่งในกลุ่มโรงเรียนที่ถูกหลงลืมไปจากการพัฒนาพื้นที่แหล่งเรียนรู้ ทาทา สตีล จึงเล็งเห็นว่าโครงการเสริมปัญญา กับ ทาทา สตีล จะสามารถเข้าไปเติมเต็มแหล่งเรียนรู้ พร้อมทั้งแก้ปัญหาการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลทั้ง 5 ข้อ ตามที่นายฮัมดานได้กล่าวไว้
"มุมหนังสือ เสริมปัญญา กับ ทาทา สตีล จะสามารถแก้ปัญหาการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลได้ ทั้งในแง่การเติมเต็มพื้นที่เล่นและเรียนรู้ให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างในห้องสมุดที่มีสื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น ทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกให้การสอนของครูมีรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น อีกทั้งการที่ ทาทา สตีล เข้าไปจัดระบบหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด และมีการสำรวจความต้องการหนังสือประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่องจากครูบรรณารักษ์ จะทำให้โครงการเสริมปัญญา กับ ทาทา สตีล มีส่วนช่วยให้เยาวชนไทยในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้พื้นฐาน และเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย" นายศิโรโรตม์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ยังมีโรงเรียนในจังหวัดสตูลซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้เข้าร่วมโครงการเสริมปัญญา กับ ทาทา สตีล รับสิ้นปีนี้ ได้แก่ โรงเรียนบ้านแประใต้ โรงเรียนบ้านสวนเทศ โรงเรียนบ้านผังปาล์ม โรงเรียนบ้านตันหยงกลิง และโรงเรียนบ้านตันหยงอุมาชัยพัฒนา สำหรับในปี 2562 ทาทา สตีล มีแผนสนับสนุนการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล โดยตั้งเป้าพัฒนาแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่ครบครัน ให้แก่โรงเรียนที่จะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชนที่ห่างไกล เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนและชุมชนโดยรอบ ตอบโจทย์การเรียนในยุค 4.0 ที่ทันสมัย และเข้าถึงทุกพื้นที่
สำหรับโรงเรียนและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ส่วนสื่อสารและกิจกรรมองค์กร โทรศัพท์ 02-937-1000 หรือเข้าไปที่ www.tatasteelthailand.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit