โมเดล "ชุมชนสมาร์ทมันนี่" ... กับ จุดหมายยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
นางสาววันวิสาข์ โคมินทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ตัวแทนมูลนิธิซิตี้ กล่าวว่า โมเดล "ชุมชนสมาร์ทมันนี่" เป็นโมเดลที่มูลนิธิซิตี้ คีนัน และ พอช. ร่วมกันพัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายชุมชนให้เข้มแข็ง และมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาสมาชิกชุมชนให้มีศักยภาพทางการเงินที่ดีตั้งแต่ระดับครอบครัว ผ่านการให้ความรู้ด้านการเงิน การฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการติดตามผล โดยทีมผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน เริ่มตั้งแต่การวางแผนการเงินจากระดับครอบครัว อาทิ การจดบันทึกบัญชี รู้จักลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ กำหนดเป้าหมายทางการเงิน การออมเงิน และการบริหารจัดการหนี้สิน ฯลฯ ให้สามารถนำความรู้ดังกล่าว ไปช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในบ้าน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินในอนาคต รวมไปถึงการพัฒนาผู้นำในแต่ละชุมชน ให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้รู้ทางการเงินประจำชุมชนที่สามารถช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาคนในชุมชนได้
"มูลนิธิซิตี้ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความรู้ความสามารถด้านการเงิน เพื่อให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองโดยนำความรู้ด้านการเงินไปประยุกต์ใช้ในการบริหารค่าใช้จ่ายภายในบ้าน การชำระหนี้สิน ไปจนถึงการออมเงินเพื่อเลี้ยงดู และส่งเสริมอนาคตที่ดีให้แก่บุตรหลานได้อย่างเป็นสัดส่วน และเพียงพอกับปริมาณรายได้ของครอบครัว นอกจากนี้ โมเดลชุมชนสมาร์ทมันนี่ ยังมีจุดเด่นในการพัฒนาผู้นำชุมชนให้สามารถเป็นต้นแบบและแบบอย่างให้แก่สมาชิกชุมชน ตลอดจนสามารถให้คำปรึกษา และช่วยเหลือสมาชิกชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงินที่ดีขึ้นได้ โดยมูลนิธิซิตี้ ยังคงสานต่อโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน เป็นปีที่ 3 และได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และพอช. เมื่อเร็วๆนี้ โดยเป้าหมายของโครงการในปี 2562 จะเน้นสร้างทักษะให้ผู้นำชุมชนเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่สมาชิกในชุมชน และต่อยอดความรู้ให้สามารถเขียนข้อเสนอโครงการ และบริหารโครงการด้านการเงินที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนได้"
รูปแบบการพัฒนาดังกล่าว เริ่มดำเนินการมาเป็นระยะเวลามากว่า 2 ปี โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้นำชุมชนกว่า 150 คน และสมาชิกชุมชนมากกว่า 1,500 คน จาก 40 ชุมชน ทั้งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อช่วยให้แต่ละครอบครัว สามารถวางแผนการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ในระยะยาว โดยมูลนิธิซิตี้ มุ่งหวังให้เกิดการขยายผลไปสู่เครือข่ายชุมชนอื่นๆ ในประเทศต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมูลนิธิฯ ในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลก น.ส.วันวิสาข์ กล่าวทิ้งท้าย
โมเดล "ชุมชนสมาร์ทมันนี่" ... กับผลลัพธ์การพัฒนาที่จับต้องได้
มร.ริชาร์ด เบิร์นฮาร์ด กรรมการอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า โมเดลชุมชนสมาร์ทมันนี่ เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาภายใต้ "โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน" ซึ่งจากการติดตามผลผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่าก่อให้เกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านการเงินที่ดีขึ้น โดยผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจทางการเงินเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สมาชิกชุมชนกว่า 55% มีการจดบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายครัวเรือน เพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่าย และปรับปรุงการบริหารการใช้เงินให้เพียงพอกับรายจ่ายของครอบครัว รวมถึงกว่า 90% มีพฤติกรรมการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเงิน เพื่อใช้ยกระดับชีวิตให้กับครอบครัวของตนเองได้ในอนาคต ทั้งนี้ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เชื่อว่า โมเดลดังกล่าว จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และปัญหาความยากจนให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
"ชุมชนสมาร์ทมันนี่" ... กับ แรงผลักดันจากทุกภาคส่วน
นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. กล่าวว่า พอช. มีพันธกิจหลักในการให้ความช่วยเหลือชุมชนผู้มีรายได้น้อย โดยมุ่งหวังที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน อันจะช่วยให้สมาชิกชุมชนได้รับการสนับสนุนด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่มั่นคง โมเดล "ชุมชนสมาร์ทมันนี่" นับว่าตอบโจทย์การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตั้งแต่ระดับฐานราก อย่างไรก็ดี การพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งในด้านทุนทรัพย์ องค์ความรู้ และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นสัญญาณดี ในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด และสร้างสังคมเท่าเทียม โดยไม่ทิ้งกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดไว้ข้างหลัง
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย หรือ www.citibank.co.th
เกี่ยวกับ "ซิตี้"
ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citigroup.com | ทวิตเตอร์: @Citi | ยูทูป: www.youtube.com/citi | บล็อก: http://new.citi.com | เฟซบุ๊ก: www.facebook.com/citi | ลิงก์อิน: www.linkedin.com/company/citi
เกี่ยวกับ "มูลนิธิซิตี้"
มูลนิธิซิตี้ มีบทบาทในการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลกให้ดีขึ้น ด้วยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินอย่างทั่วถึง การสร้างอาชีพสำหรับเยาวชน รวมถึงสร้างสภาพเศรษฐกิจของชุมชนที่ดีขึ้น นอกจากการให้ความช่วยเหลือแล้ว มูลนิธิซิตี้ ยังได้ใช้ความเชี่ยวชาญในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำและความพร้อมของพนักงาน ที่สนับสนุนให้พันธกิจของบริษัทประสบความสำเร็จและขับเคลื่อนแนวคิดความเป็นผู้นำและนวัตกรรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมของมูลนิธิฯ ที่ www.citifoundation.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit