ศูนย์สำรวจความคิดเห็น
บ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาข่าวปลอม (Fake News) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัด
กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,211 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 20 - 23 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็น
บ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต้องการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ในอดีตปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ไม่ได้ส่งผลกระทบกับสังคมในวงกว้างได้ อย่างในสังคมไทยนั้นข่าวลือไม่ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่ไม่จริง ในอดีตที่พูดกันปากต่อปากนั้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้างได้ แต่ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารได้พัฒนาทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารจากหนึ่งคนไปยังคนจำนวนมากๆได้อย่างรวดเร็ว และการส่งต่อๆกันนั้นทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างได้ ไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศต่างๆทั่วโลกก็ประสบปัญหาในเรื่องของปัญหาข่าวปลอม (Fake News) เป็นปัญหาระดับนานาชาติให้ความสนใจและหาแนวทางในการแก้ไข การตรวจสอบข่าวปลอมของคนสังคมไทยนั้นมีการตรวจสอบหรือไม่ มีการตรวจสอบด้วยวิธีใด ภาครัฐจะต้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างไรในการกำกับดูแลและควบคุมข่าวปลอม (Fake News) ที่ส่งผลกระทบในเชิงลบกับสังคม ทำให้เกิดความแตกตื่นของคนในสังคม ในสภาวการณ์ที่คนทุกคนในสังคมสามารถติดต่อสื่อสารจากหนึ่งคนไปยังคนจำนวนมากๆได้อย่างรวดเร็ว และมีการส่งต่อไปยังกว้างขวางและรวดเร็ว ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาข่าวปลอม (Fake News) ในเขต
กรุงเทพมหานคร โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยพบเห็นข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 85.1 และเคยตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่คิดว่าเป็นข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 65.8
และเคยพบเห็นข่าวปลอม (Fake News) ในลักษณะข่าวที่ตั้งใจให้เกิดความเข้าใจผิด มากที่สุด ร้อยละ 31.3 อันดับที่สองคือข่าวที่นำภาพปลอมหรือภาพที่ไม่เกี่ยวข้องนำมาเป็นภาพประกอบ ร้อยละ 17.8 อันดับที่สามคือข่าวที่มีการตัดต่อภาพ และข้อมูลในข่าวที่ไม่มีความจริงใดๆ ร้อยละ 16.8 อันดับที่สี่คือข่าวปลอมแบบล้อเลียนขำขัน ร้อยละ 15.2 และอันดับที่ห้าคือข่าวที่นำคำพูดของบุคคลที่ไม่ได้พูดจริงมาอ้างถึง ร้อยละ 7.6
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีการในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่คิดว่าเป็นข่าวปลอม (Fake News) โดยดูแหล่งที่มา / ผู้เขียน ร้อยละ 33.1 อันดับที่สองคือไม่คิดจะตรวจสอบ ร้อยละ 26.8อันดับสามคือค้นหาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 17.0 อันดับที่สี่คือตรวจสอบวันเวลาที่เผยแพร่ ร้อยละ 9.6 และอันดับที่ห้าคือตรวจสอบว่าเป็นการตัดต่อ ร้อยละ 8.2
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเห็นข่าวปลอม (Fake News) ผ่านสื่อ
เฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 72.7 อันดับสองคือมีคนเล่าให้ฟัง ร้อยละ 10.3 และอันดับสามคือผ่านสื่อไลน์ (Line) ร้อยละ 8.8 และพบเห็นข่าวปลอม (Fake News) มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเมืองเป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 28.2 อันดับสองคือประเด็นเรื่องดารา ร้อยละ 26.9 อันดับสามคือประเด็นเรื่องหลอกขายสินค้า ร้อยละ 17.3 อันดับที่สี่คือประเด็นเรื่องสุขภาพ ร้อยละ 15.6 อันดับที่ห้าคือประเด็นเรื่องภัยพิบัติ ร้อยละ 7.3 และอันดับสุดท้ายคือประเด็นเรื่องศาสนา ร้อยละ 4.6
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาข่าวปลอม (Fake News) เป็นปัญหาที่ควรมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ร้อยละ 84.5 และอยากให้ภาครัฐมีมาตรการในการป้องกันและปราบปราบ ข่าวปลอม (Fake News) ร้อยละ 85.0