"ผู้เลี้ยงหมูทุกคนหวังอย่างยิ่งให้ไทยเป็นประเทศที่หลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ของโรค ASF เพราะมีหลายประเทศที่สามารถป้องกันตัวเองได้ด้วยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ Biosecurity ในระดับสูง ขอขอบคุณรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะยกระดับเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอครม.อนุมัติงบประมาณในกรอบระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี และมีแผนเตรียมความพร้อมรับมือด้วย 8 มาตราการ ใน 3 ระยะ ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแท้จริง เพราะหากภาคอุตสาหกรรมสุกรมีปัญหา ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคผู้ผลิตพืชไร่ ซึ่งตลอดห่วงโซ่การผลิตสุกรมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านบาท ที่อาจได้รับความเสียหาย ทำให้ประเทศชาติมีปัญหาในภาพรวม และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมแรงร่วมใจต้านภัย ASF ที่สำคัญขอย้ำว่าหมูไทยปลอดภัยบริโภคได้อย่างมั่นใจ100%" น.สพ.วิวัฒน์กล่าว
นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้ลงพื่นที่ตรวจสอบความพร้อมในการสร้างศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะสำหรับขนส่งปศุสัตว์ที่ด่านกักสัตว์ชายแดน ใน 5 จังหวัดเป้าหมาย เพื่อเป็นปราการป้องกันโรคตามแนวชายแดนจากประเทศลาวและกัมพูชา แต่ละด่านใช้งบ 1 ล้านบาท โดยสมาคมฯสร้างศูนย์ 1 แห่งที่ริมทางหลวงใกล้ด่านกักกันสัตว์ จ.หนองคาย และอีก 4 ศูนย์ฯ ได้รับการสนับสนุนจาก บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ดำเนินการสร้าง 2 แห่ง ที่ด่าน อ.เชียงของ จ.เชียงราย และด่านจ.มุกดาหาร ส่วน บจ.เบทาโกร สร้างที่ด่านกักกันสัตว์ จ.นครพนม และ บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป สร้างที่ด่านปอยเปต จ.สระแก้ว เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญและเร่งรีบ หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจะมอบศูนย์ทั้ง 5 แห่งให้กับราชการ โดยกรมปศุสัตว์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการดูแลความเข้มแข็งด้านปศุสัตว์ต่อไป ขณะเดียวกัน ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ สมาคม นักวิชาการ และภาคเอกชน ได้เดินหน้าสร้างความตระหนักและตื่นตัวในการช่วยกันป้องกัน ASF ในทุกช่องทาง.
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit