ทั้งนี้ ได้มีการนำเสนอทางเลือกในการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการเป็น 3 แนวทางหลักได้แก่
1.โครงการระบบเก็บกักน้ำในถ้ำตามแนวพระราชดำริ(ถ้ำห้วยลึก) บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 7ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับกรมชลประทาน พิจารณาแนวทางเก็บกักน้ำในถ้ำ เพื่อใช้สนับสนุนด้านการเกษตรในพื้นที่ที่ทางศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึกจัดสรรให้ราษฎรทำกิน โดยเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่อย่างคุ้มค่า มีการศึกษาสภาพน้ำใต้ดินในเขตพื้นที่โครงการก่อนที่จะดำเนินโครงการ และภายหลังจากที่ดำเนินโครงการแล้วดำเนินการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตด้วยการปิดด้านหน้าถ้ำเพื่อเก็บกักน้ำในถ้ำ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางด้านวิศวกรรม ความคุ้มค่า ประหยัด และการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าว เป็นทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อที่ดินของราษฎรในเขตโครงการที่อาจจะถูกน้ำท่วมเหนืออ่างเก็บน้ำได้
2.การบริหารจัดการน้ำด้วย "ธนาคารน้ำใต้ดิน" เป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม น้ำขัง โดยการขุดหลุมที่มีลักษณะก้นครก เพื่อจัดกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาช่วงฤดูฝนลงสู่ใต้ดิน โดยเป็นการกักเก็บน้ำ รักษาความชุ่มชื้นให้ผิวดินที่แห้งแล้ง ทำให้ต้นไม้บริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีฝนตกหนักก็มีแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใต้ดิน เหมือนเป็นการฝากน้ำไว้แล้วค่อยถอน(สูบ) เอามาใช้ในช่วงหน้าแล้ง จึงเป็นการแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและ 3. การออกแบบการจัดการน้ำตามภูมิสังคม โดยมีการยกตัวอย่าง "โคก หนอง นา โมเดล"ซึ่งเป็นโมเดลต้นแบบที่ได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่เกษตรให้สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม อาทิ การเก็บกักน้ำไว้ในหนอง เก็บน้ำไว้บนโคก และเก็บน้ำไว้ในนา โดยแนวทางดังกล่าวเป็นการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง และรับน้ำในช่วงน้ำหลาก ทั้งนี้ คันนา คือ เขื่อนของชาวนา เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงแนะนำให้คนไทยอย่าทิ้งภูมิปัญญาไทย
" นอกจากนี้ ยังมีทางเลือกในการบริหารจัดการน้ำอื่นๆ อีกมากมาย โดยที่เชิญมานำเสนอในวันนี้ เป็นตัวอย่างที่ดำเนินการแล้วมีผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ทั้งโครงการพระราชดำริที่ทรงทำไว้ให้ดูในหลายพื้นที่ โครงการที่ภาคศาสนาดำเนินการ และโครงการที่ภาคประชาชนรวมกลุ่มกันทำร่วมกับภาควิชาการและเอกชน เป็นต้น อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่สุด คือ กระบวนการมีส่วนร่วมนั่นคือการเดินหน้าจับมือไปด้วยกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาและชาวบ้าน เพราะเรื่องน้ำ เป็นเรื่องสำคัญของทุกคนในการร่วมสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อบูรณาการจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป" นายวิวัฒน์ กล่าว
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit