สำหรับในปีนี้เพิ่มกิจกรรมให้อาสาสมัครร่วมกันเก็บขยะชายฝั่งและใต้ท้องทะเลพร้อมแนะนำเรื่องการคัดแยกขยะ เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ทุกคนร่วมกันลดการทิ้ง เพื่อลดปัญหาขยะทางทะเลและชายฝั่ง และกิจกรรมแนะนำการนำขยะทางทะเลรอบเกาะมาใช้ประโยชน์โดยผ่านนวัตกรรมการประดิษฐ์
โดยวิทยากรนางสาวบัวทิพย์จันทรมณี เจ้าหน้าที่สื่อความหมายธรรมชาติศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3จ.ตรังเป็นที่ปรึกษาให้กับน้องๆ โรงเรียนบ้านเกาะบูโหลน โดยได้จัดการประมูลสิ่งประดิษฐ์ข้างต้นเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่น้องๆ โรงเรียนบ้านเกาะบูโหลนด้วยในตอนท้าย ซึ่งการจัดโครงการ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลเป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมเป็นผู้แทนรับมอบทุนการศึกษามูลค่า 20,000 บาท ให้แก่น้องๆนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะบูโหลน และเป็นผู้นำอาสาสมัครร่วมทำกิจกรรม พร้อมด้วย นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล, นายภาณุ วรมิตร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสตูล, นายดีนัน พัทลุง ประธานสมาคม Reef Guardian Thailand, คุณชอบ นิตรลาภ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืนอาวุโส บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน), คณะอาสาสมัครหาดทิพย์, ประชาชน, นักเรียนบนเกาะบุโหลนเล และอาสาสมัครพิทักษ์ปะการัง (ประเทศไทย) (Reef Guardian Thailand) จำนวนกว่า190 คน ณ บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านเกาะบูโหลนอ.ละงูจ.สตูล เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2562ที่ผ่านมา
นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลกล่าวว่า " ขอขอบคุณหาดทิพย์และพันธมิตรทุกหน่วยงานที่ร่วมกันจัดโครงการในครั้งนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ที่ทำให้ทรัพยากรใต้ทะเลโดยเฉพาะปะการังมีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งการปลูกปะการังด้วยวิธีการนี้เป็นเรื่องใหม่ เราจึงอยากได้องค์ความรู้นี้ไปสนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์ อาสาสมัครต่างๆมาช่วยกันทำ เพื่อการพัฒนาในระยะยาว"สิ่งสำคัญของการมาเที่ยวทะเลของเราคือ ต้องไม่แทรกแซงกระบวนการธรรมชาติ ซึ่งวิธีง่ายๆที่ดีที่สุดคือ ขอให้ศึกษาข้อมูล และช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดผลประทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล เช่น ห้ามจับสัตว์น้ำไม่ให้อาหารปลา การดำน้ำ ต้องไม่เหยียบและไม่สัมผัสปะการัง เพราะปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบาง เพียงเท่านี้เราก็สามารถช่วยดูแลปะการังได้ เพราะปะการังจะเยียวยาตัวเองได้ โดยที่เราไม่ต้องมาปลูกเหมือนเช่นวันนี้ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน งบประมาณสูง และโอกาสรอดมีเพียง 70-80% เท่านั้น
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit