ซีอีเอ จับมือ ธนาคารออมสิน เปิด “บิสซิเนสพิทช์ชิ่ง - แมทช์ชิ่ง” หนุนเพิ่มขีดความสามารถ ผปก. สร้างสรรค์ไทย แข่งขันได้ทั้งใน-ตปท.

01 Feb 2019
- เปิด 4 ตัวอย่างธุรกิจไอเดียสร้างสรรค์ใน "แบงค็อกดีไซน์วีค 2019" คือ มะม่วงน้ำปลาหวาน ฟรีสดราย, เวย์โปรตีนสกัดบริสุทธิ์, เครื่องประดับบ้าน และ ขอขวดเพ็ท
ซีอีเอ จับมือ ธนาคารออมสิน เปิด “บิสซิเนสพิทช์ชิ่ง - แมทช์ชิ่ง” หนุนเพิ่มขีดความสามารถ ผปก. สร้างสรรค์ไทย แข่งขันได้ทั้งใน-ตปท.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจและกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ และกิจกรรมนำเสนอผลงาน ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 พื้นที่นำเสนอไอเดียธุรกิจ และพื้นที่พบปะต่อยอดธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจระหว่างคู่ธุรกิจ และนักออกแบบ หรือผู้ประกอบการ พร้อมสร้างบรรยากาศการแข่งขันในรูปแบบเกมโชว์ เพื่อกระตุ้นศักยภาพของผู้ประกอบการ ตั้งแต่กระบวนการคิด ออกแบบ สร้างสรรค์อย่างเต็มรูปแบบ โดยในปี 2562 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมนำเสนอไอเดียธุรกิจเป็นจำนวนถึง 13 ราย อาทิ มะม่วงน้ำปลาหวานฟรีสดราย ธุรกิจอาหารสร้างสรรค์ ต่อยอดความชอบสู่ผลิตภัณฑ์ทำเงิน เวย์โปรตีนสกัดบริสุทธิ์ ธุรกิจเครื่องดื่มกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อคนขาดโปรตีน เครื่องประดับบ้าน ธุรกิจงานดีไซน์กับการผสานศิลปะโบราณของไทย สู่เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยสุดเก๋ และ ขอขวดเพ็ท ธุรกิจเทิร์นขวดเพ็ทแลกพอยท์ เป็นต้น ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ให้สามารถเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้ตามเป้าหมายของประเทศต่อไป ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมผลงานโชว์เคสในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 ได้ตั้งแต่วันนี้ - 4 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 16.00 - 22.00 น. ณ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/bangkokdesignweek,

แฮชแท็ก #BKKDW2019 หรือ #bangkokdesignweek หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หมายเลขโทรศัพท์ 02-105-7441

นายธิติธัช นรวีร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs Start-up กลุ่มลูกค้าธุรกิจและภาครัฐธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสิน ในฐานะธนาคารของคนไทย ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการด้านการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการให้กับประชาชนคนไทยในทุกด้าน รวมถึงเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ด้านการเงินของทุกกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะผู้ประกอบการยุคใหม่ SMEs และ กลุ่ม "สตาร์ทอัพ" ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และไทยแลนด์ 4.0 จึงได้ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรม Business Networking Event by GSB ขึ้น ภายในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 (Bangkok Design Week 2019) เมกะโปรเจกต์ระดับประเทศ ที่มุ่งสะท้อนศักยภาพที่สำคัญของกรุงเทพฯ และผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ของประเทศ

นายธิติธัช กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เกิดบรรยากาศการแข่งขันที่ช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการได้ใช้ศักยภาพตั้งแต่กระบวนการคิด ออกแบบ สร้างสรรค์ ที่ยังคงสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างเด่นชัด ตลอดจนสามารถขยายการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ และเกิดเป็นธุรกิจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมก้าวสู่การแข่งขันในหลากหลายรูปแบบ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผ่านกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ (Business Pitching) และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) พื้นที่นำเสนอไอเดียธุรกิจ และพื้นที่พบปะต่อยอดธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจระหว่างคู่ธุรกิจ และนักออกแบบ หรือผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ จะมีโอกาสนำเสนอไอเดียธุรกิจแบบสปีดเดท (Speed Dating) ภายในเวลา 3 นาที ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงจับคู่ธุรกิจกับผู้ประกอบการท่านอื่น รวมถึงนักลงทุน สถาบันการเงิน แพลตฟอร์มออนไลน์ขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงฝ่ายจัดซื้อจากผู้ประกอบการชั้นนำจากอุตสาหกรรมต่างๆ โดยในปี 2562 นี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมนำเสนอไอเดียธุรกิจเป็นจำนวนถึง 13 ราย อาทิ "มะม่วงน้ำปลาหวานฟรีสดราย" ธุรกิจอาหารสร้างสรรค์ ต่อยอดความชอบสู่ผลิตภัณฑ์ทำเงิน "เวย์โปรตีนสกัดบริสุทธิ์" ธุรกิจเครื่องดื่มกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อคนขาดโปรตีน "เครื่องประดับบ้าน" ธุรกิจงานดีไซน์กับการผสานศิลปะโบราณของไทย สู่เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยสุดเก๋ และ "ขอขวดเพ็ท" ธุรกิจเทิร์นขวดเพ็ทแลกพอยท์ เป็นต้น นายธิติธัช กล่าวอย่างไรก็ตาม ธนาคารออมสิน มีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดกิจกรรม Business Networking Event by GSB จะมีส่วนส่งเสริมองค์ความรู้ด้านต่างๆ และทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ นักออกแบบ นักสร้างสรรค์ และประชาชนโดยทั่วไป ให้มีศักยภาพพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างดี เพราะกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ นั้นเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ให้สามารถเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้ตามเป้าหมายของประเทศต่อไป นายธิติธัช กล่าวทิ้งท้าย

ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมผลงานโชว์เคสในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 ได้ตั้งแต่วันนี้ - 4 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 11.00 - 21.00 น. ณ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก โดยสามารถใช้บริการรถรับ-ส่ง เส้นทางสถานีรถไฟฟ้า สถานีสะพานตากสิน ทางออก 1 - อาคารไปรษณีย์กลาง ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/bangkokdesignweek, แฮชแท็ก #BKKDW2019 หรือ #bangkokdesignweek หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ชั้น 1 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 10.30 - 21.00 น. หมายเลขโทรศัพท์ 02-105-7441

  • ธุรกิจอาหารสร้างสรรค์ ต่อยอดความชอบสู่ผลิตภัณฑ์ทำเงิน

นายอัมพุท แสงสมุทร์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ "สวัสดีจ้า" หนึ่งในผู้นำเสนอธุรกิจในกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ กล่าวว่า 'สวัสดีจ้า' (SawasdeeJa') เกิดจากการต่อยอดความรู้เรื่องฟิสิกส์ ผสมผสานกับเทคโนโลยีฟรีสดราย และวัฒนธรรมอาหารไทยอย่าง 'มะม่วงน้ำปลาหวาน' ซึ่งถือเป็นอาหารทานเล่นที่ประเทศอื่นไม่มี และยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่ในระหว่างการรับประทานนั้น อาจจะมีการเลอะหรือเปรอะเปื้อนของน้ำปลาหวาน จึงเกิดไอเดียพัฒนาของทานเล่นดังกล่าวให้ง่ายต่อการรับประทานคือ 'มะม่วงน้ำปลาหวานฟรีสดราย' ม่วงน้ำปลาหวานที่กรอบแต่ยังคงรสชาติไว้ได้ เหมือนได้ทานสดๆ อีกทั้งยังสามารถคงคุณค่าของสารไว้ได้ครบถ้วน และมีอายุการเก็บรักษานานถึง 1 ปี ทั้งนี้ แบรนด์ 'สวัสดีจ้า' (SawasdeeJa') ได้เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาการแสดงผลงาน (SME Launchpad) ของซีอีเอ เพื่อเวิร์คช็อปถึงการทำการตลาด และนำเสนอคอนเทนต์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนร่วมจัดแสดงผลงานในส่วนธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business Showcase) ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 ครั้งนี้ เพื่อเพิ่มพัฒนาและขยายช่องทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

  • ธุรกิจเครื่องดื่มกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อคนขาดโปรตีนนายศิรจร จัยวินธวัฒน์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ "อะมิมอร์" หนึ่งในผู้นำเสนอธุรกิจในกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนาสินค้าแบรนด์ 'อะมิมอร์ โปรตีนโซดา' (AMIMOR Protein Soda) เกิดจากการเล็งเห็นถึงปัญหาการบริโภคโปรตีนของคนไทยที่ต่ำกว่าความต้องการจริงในแต่ละวัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่ในบางรายอยู่ในภาวะที่ต้องควบคุมอาหาร และทำให้เกิดการขาดโปรตีนไปโดยปริยาย จึงได้พัฒนา 'โปรตีนบรรจุขวด' เครื่องดื่มสไตล์ใหม่ ซ่าสดชื่นแบบน้ำอัดลม แต่ให้โปรตีนถึง 10 กรัมหรือเทียบเท่าไข่ขาว 3 ฟอง ซึ่งเกิดจากการสกัดโปรตีนจากนมวัวแบบสกัดบริสุทธิ์ โดยจะมีไขมัน 0% น้ำตาล 0% และคลอเรสเตอรอล 0% ที่นอกจากจะช่วยเติมเต็มโปรตีนที่จำเป็นแก่ร่างกายแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของผู้ดื่มอีกด้วย โดยที่ผ่านมา สินค้าแบรนด์ 'อะมิมอร์ โปรตีนโซดา' ได้เข้าร่วมโครงการจัดแสดงสินค้าและต่อยอดธุรกิจ (SME Launchpad) ของซีอีเอ เพื่อพัฒนาแบรนด์และแพคเกจจิ้งให้ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังร่วมจัดแสดงผลงานในส่วนธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business Showcase) ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 เพื่อขยายช่องทางธุรกิจ
  • ธุรกิจงานดีไซน์กับการผสานศิลปะโบราณของไทย สู่เฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัยสุดเก๋

นางสาวพัชรวรรณ เชยสาคร ผู้ก่อตั้งแบรนด์ "ลีฟ ไลฟ์ ดีเทล" หนึ่งในผู้นำเสนอธุรกิจในกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ กล่าวว่า 'ศิลปะการปักดิ้นทอง' ถือเป็นศิลปะไทยที่มีคุณค่า ที่ในสมัยก่อนใช้สำหรับการทำเสื้อผ้าและเครื่องประดับของคนชั้นสูงเท่านั้น อย่าง พัสตราภรณ์ ตาลปัตร รวมถึงโขน ซึ่งในปัจจุบันเลือนหายไปตามกาลเวลา ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าให้กับงานปักดิ้นทองให้มีความร่วมสมัย และสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันที่ยังคงเอกลักษณ์และเสน่ห์ของการปักดิ้นทองแบบไทยไว้ จึงพัฒนาแบรนด์ "ลีฟ ไลฟ์ ดีเทล" (Live Life Detail) เครื่องประดับบ้านสุดชิคที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ อย่าง 'ดอกไม้ ต้นไม้ และสายน้ำ' ที่นอกจากจะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรื่นรมย์และสุนทรียภาพขณะใช้งานแล้ว ยังช่วยสร้างเอกลักษณ์ เติมเต็มการแต่งบ้านให้มีความร่วมสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังมีสินค้าประเภท เครื่องประดับร่างกายช่วยเสริมบุคลิกภาพแบบเก๋ๆ อีกด้วย ทั้งนี้ แบรนด์ "ลีฟ ไลฟ์ ดีเทล" ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ตั้งแต่โครงการตลาดนัดสร้างสรรค์ (Creative Market TCDC 2017), การจัดแสดงผลงานดีไซน์โชว์เคส ในงานแบงค็อกดีไซน์วีค 2018 และต่อเนื่องในปี 2019

  • ธุรกิจเทิร์นขวดเพ็ทแลกพอยท์

นาย ปิติทัศน์ ไววิริยะ ผู้ก่อตั้งธุรกิจเพื่อสังคม "ขอขวด" (KHORKUAD) หนึ่งในผู้นำเสนอธุรกิจในกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ กล่าวว่า ธุรกิจ 'ขอขวด' (KHORKUAD) ระบบรีไซเคิลส่วนบุคคล เริ่มจากต้นแบบทดลอง "ขอขวดช้อป" (KHORKUAD SHOP) รับฝากขายใกล้บ้าน เปลี่ยนร้านโชห่วยเป็นร้านร่วมรับฝากขายขวดพลาสติกใส (เพ็ท) ที่ผ่านการบริโภคแล้ว สำหรับเพิ่มรายได้ในกลุ่มผู้สูงวัย ในรูปแบบของการสะสมคะแนนแลกรับเงินสด เริ่มต้น 20 บาท และ "ขอขวดเดอร์" (KHORKUADDER) รับฝากขายถึงที่ ผ่าน ขอคาร์โกไบค์ ร่วมปั่น รับถึงบ้าน โดยมีความคาดหวังว่าในอนาคต ขอขวดจะเป็นบริการรับฝากขายสินค้าสะดวกซื้อหลังบริโภคแล้วที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยเริ่มต้นที่ขวดเพ็ทผ่านการใช้บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม KHORKUAD.COM และ แอปฯ KHORKUAD ที่แสดงผลข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ เพื่อเชื่อมต่อคนเมืองผ่านขอรีไซเคิลบิน (KHOREBIN) ถังพร้อมแยกแลกรับพอยท์ แบบ เรียลไทม์ 1 ขวด 1 พอยท์ โดยสร้างรางวัลจูงใจแบบไลฟ์สไตล์คนเมือง อาทิ คูปองส่วนลด (Gift Voucher) จากกลุ่มเครือข่ายสินค้าออร์แกนิค และบริการ Green Business ทั้งนี้ ธุรกิจดังกล่าว ถือเป็นการจัดการสินค้าสะดวกหลังใช้แบบครบวงจรที่สนุกกว่าการรีไซเคิลแบบเดิมๆ อีกทั้งยังช่วยลดงบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีสโลแกนที่ว่า "ขอขวด สะดวกขาย รายได้เสริม" ทั้งนี้ ธุรกิจขอขวด ได้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานทางธุรกิจ และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจกับ CEA เป็นครั้งแรก และจัดกิจกรรมในงานแบงค็อกดีไซน์วีค 2019 ณ ลานใบไม้ ยิบอินซอย ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ

HTML::image( HTML::image( HTML::image(