ไม่เพิ่มขยะต่อสิ่งแวดล้อม Reuse การใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์อื่น และ Recycle คือนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบหลอมเป็นผลิตภัณฑ์แก้วรูปแบบใหม่ ๆ โดยกิจกรรม Blackmores B for Earth รณรงค์ให้ลูกค้านำขวดแก้วเปล่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินแบลคมอร์สใช้เป็นส่วนลดในการซื้อผลิตภัณฑ์และนำขวดเปล่าเหล่านั้นกลับเข้าสู่กระบวนการ Reduce และ Reuse ด้วยกิจกรรมพิเศษ 1ขวดจากคุณ = ผัก 1 มื้อของน้อง เชิญชวนเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาจากทั่วประเทศส่งผลงานการประกวดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จากขวดแก้วเปล่าแบลคมอร์ส เพื่อชิงทุนการศึกษา กว่า 120,000 บาท
ทั้งนี้การจัดประกวดการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ในขวดแก้วแบลคมอร์ส บริษัทฯ ได้จัดทำคลิปวิดีโอ ขั้นตอนการปลูกผักจากผู้เชี่ยวชาญการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้นักเรียนได้ศึกษาถึงขั้นตอนการปลูก
ซึ่งมีน้องๆ นักเรียนชั้นประถมศึกษากว่า 97 แห่ง ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขัน โดยผักที่ปลูกจะต้องเป็นผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า วอเตอร์เครสใบเล็ก วอเตอร์เครสใบใหญ่ ซึ่งเป็นผักรับประทานง่าย และมากด้วยคุณค่าทางสารอาหารพร้อมถ่ายทำคลิปวิดีโอ การปลูกจนไปถึงการปรุงอาหาร เพื่อให้ตรงกับแนวคิดที่ว่า "1 ขวดจากคุณ = ผัก 1 มื้อของน้อง" ซึ่งโรงเรียนที่ชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนแม่ลายเหนือ จ.เชียงใหม่ ส่วนขวดเปล่าอีกกว่า 1.3 ตัน ที่ลูกค้านำเข้าร่วมกิจกรรมได้นำกลับเข้าไปสู่กระบวนการ Recycle
ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายขวดเปล่ากว่า 1.3 ตัน มอบให้กับสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ซึ่งมีเด็กๆ อยู่ในความดูแลกว่า 400 คน พร้อมทั้งนำวิทยากรสอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดแก้วเปล่าแบลคมอร์ส
โดยเด็กๆ ในบ้านราชวิถีทุกคนจะได้ปลูกผักเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการทำอาหารรับประทานเองทุกวันหยุด การเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การใช้ทรัพยาการอย่างรู้คุณค่า ได้ผักที่สะอาดและปลอดภัยจากสารพิษ รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสารอาหาร "การจัดกิจกรรม Blackmores B for Earth ปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนและเราสามารถช่วยกันลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ โดยทุกครั้งที่ผ่านมากิจกรรมนี้ได้รับเสียงตอบรับ
จากลูกค้านำขวดเปล่าแบลคมอร์สเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต่ำกว่า 1 ตันทุกปี เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล แต่ในปีที่5 นี้ แบลคมอร์สต้องการปลูกจิตสำนึกในเรื่องนี้ไปสู่เด็กให้รู้จักการนำสิ่งของใกล้ตัวมาใช้ซ้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การปลูกผักจากขวดแก้ว เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจถึงการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ ช่วยลดปัญหาโลกร้อน และยังได้รับประโยชน์จากสารอาหารในผักที่ปลูกเอง ซึ่งการเรียนรู้ด้วยตัวเด็กเอง เราเชื่อว่า เด็กจะเข้าใจถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น และรู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรใกล้ตัวให้เกิดคุณค่ามากที่สุด" น.ส.ผุสดี กล่าวในที่สุด
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit