อก. รุก...! จับมือหอการค้าญี่ปุ่น และ JETRO จัดเวิร์คช้อป ให้ข้อมูลเชิงลึกสิทธิประโยชน์ และ ความคืบหน้า EEC หวังกระตุ้น และดึงนักธุรกิจญี่ปุ่นร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น

10 Aug 2018
เนื่องจากนักลงทุนญี่ปุ่นมีความสนใจในโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จับมือหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JCC) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Eastern Economic Corridor (EEC) Workshop เพื่อให้รายละเอียดกับนักลงทุน
อก. รุก...! จับมือหอการค้าญี่ปุ่น และ JETRO จัดเวิร์คช้อป ให้ข้อมูลเชิงลึกสิทธิประโยชน์ และ ความคืบหน้า EEC หวังกระตุ้น และดึงนักธุรกิจญี่ปุ่นร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น

ในเชิงลึกด้านสิทธิประโยชน์ รูปแบบการลงทุน พร้อมเผยความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน EEC โดยเชิญผู้บริหารระดับสูงจาก 4 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญทั้ง BOI, EEC, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมสรรพากร หวังกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนญี่ปุ่น ขณะผลสำรวจตัวเลขความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่มีต่อไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปรับตัวเพิ่มสูงสุดในครึ่งแรกของปี 2561 ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา จะส่งผลให้มีนักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

(วันที่ 10 สิงหาคม 2561 กรุงเทพฯ) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JCC) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Eastern Economic Corridor (EEC) Workshop ให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีความสนใจที่จะลงทุนในพื้นที่ ECC เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ รูปแบบการลงทุน พร้อมกันนี้ได้เผยถึงความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เชิญผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ จำนวน 4 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ สำนักงาน BOI สำนักงาน EEC การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมสรรพากร เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในเขต EEC

สำหรับการจัดงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.อุตตม สาวนายน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาฯ พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจากประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ นายมิจิโนบุ ซึงาตะ, นายฺฮิโรกิ มิตสึมาตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น, ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พร้อมด้วยนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และนักลงทุนของญี่ปุ่น กว่า 100 ราย เข้าร่วมเวิร์กช้อปในครั้งนี้

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า "การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Eastern Economic Corridor (EEC) Workshop ในวันนี้มีที่มาจากการที่ผมได้มีโอกาสพบกับประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ประธาน JETRO และคณะ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่านักลงทุนญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ รูปแบบการลงทุน และความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ดังนั้น JCC JETRO และ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ร่วมกันจัดงานในวันนี้ขึ้นเพื่อให้ข้อมูลสำหรับนักลงทุนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ดีกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เชิญผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน BOI สำนักงาน EEC การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมสรรพากร ซึ่งท่านเหล่านี้จะมาตอบปัญหาในเชิงลึก และไขข้อข้องใจของนักธุรกิจญี่ปุ่นเกี่ยวกับการลงทุนในเขต EEC ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ขั้นตอนในการลงทุน ตลอดจนความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในพื้นที่ EEC

ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังให้โครงการ EEC เป็นการสร้างฐานความเจริญใหม่ที่มีศักยภาพสูง (New High Potential Growth Platform) ที่จะนำไปสู่การเจริญเติบโตแบบทั่วถึงทุกภาคส่วน (Inclusive Growth) ในรูปแบบ WIN-WIN ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นในพื้นที่ EEC จำนวนกว่า 1,000 บริษัท ที่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว JCC และ JETRO ได้สำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีต่อการลงทุนและทำธุรกิจในไทย พบว่า มีทิศทางความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 2560 เพิ่มขึ้นจากระดับ 14 เป็น 30 และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 36 ในช่วงครึ่งปีหลัง ก่อนปรับขึ้นมาเป็น 40 ในครึ่งแรกของปี 2561 ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา "

ด้าน ดร.ณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า "เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาในเชิงพื้นที่ EEC รัฐบาลยังได้วางยุทธศาสตร์ในการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของอุตสาหกรรมไทย โดยกำหนด Roadmap การพัฒนาและขับเคลื่อน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (Priority Clusters) ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่เป็นกำลังหลักของภาคอุตสาหกรรมของไทย ในการพัฒนาและขับเคลื่อน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (S-Curve Industry) โดยขอยกตัวอย่างการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความคืบหน้าค่อนข้างมาก และครม. ให้ความเห็นชอบในมาตรการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน โดยใช้ศักยภาพของไทยที่เป็นหนึ่งในฐานการผลิตยานยนต์ขนาดใหญ่ เพื่อพัฒนารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าหลักภายในประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อระดับสากล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ (Product) มาตรฐาน (Standard) และนวัตกรรม (Innovation) รองรับการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งในขณะนี้ทาง สศอ. อยู่ระหว่างเสนอมาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า โดยบูรณาการทำงานร่วมกันกับกรมสรรพสามิต และ BOI เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิต วิจัย และพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งชิ้นส่วน โดยผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งจะทำให้ได้ประโยชน์จากการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์นี้

อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ถือเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนการยกระดับสู่ Industry 4.0 โดยได้กำหนดแนวทางพัฒนาโดยใช้มาตรการขับเคลื่อนแบบผสมผสาน เน้นการส่งเสริมให้ SMEs ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตด้วยการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อที่จะช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และแก้ไขปัญหาเรื่องแรงแรงต่างด้าวได้อีกทางหนึ่งควบคู่กับการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรม เช่น การจัดตั้ง Center of Robotics Excellence (CoRE) เพื่อพัฒนาต้นแบบ ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรโดยเฉพาะ System Integrators (SI) และการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กระบวนการผลิต (Lean Automation System Integrators : LASI) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ผ่านทางบริษัท DENSO

อุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio-Industry) ซึ่งไทยมีศักยภาพในเรื่องวัตถุดิบและความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์ม อีกทั้งยังมีความพร้อมของฐานอุตสาหกรรมเดิมที่สามารถพัฒนาไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-economy)นอกจากนี้ สศอ. กำลังดำเนินการในการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เป็นลำดับต่อไป " การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะสร้างความชัดเจนให้กับนักลงทุนในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ EEC และจะนำไปสู่การตัดสินใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC โดยรัฐบาลไทยพร้อมประสานกับรัฐบาลญี่ปุ่นในการให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวก รวมถึงดูแลผู้ประกอบการและนักลงทุนญี่ปุ่นด้วยมาตรการพิเศษที่เหมาะสมและโปร่งใส เพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระยะยาวให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืนต่อไป

อก. รุก...! จับมือหอการค้าญี่ปุ่น และ JETRO จัดเวิร์คช้อป ให้ข้อมูลเชิงลึกสิทธิประโยชน์ และ ความคืบหน้า EEC หวังกระตุ้น และดึงนักธุรกิจญี่ปุ่นร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น อก. รุก...! จับมือหอการค้าญี่ปุ่น และ JETRO จัดเวิร์คช้อป ให้ข้อมูลเชิงลึกสิทธิประโยชน์ และ ความคืบหน้า EEC หวังกระตุ้น และดึงนักธุรกิจญี่ปุ่นร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น อก. รุก...! จับมือหอการค้าญี่ปุ่น และ JETRO จัดเวิร์คช้อป ให้ข้อมูลเชิงลึกสิทธิประโยชน์ และ ความคืบหน้า EEC หวังกระตุ้น และดึงนักธุรกิจญี่ปุ่นร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น