ปัจจุบัน ABB กำลังสร้างอนาคตใหม่ภายใต้ยุคอุตสาหกรรมดิจิทัลซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การผลิตและนำพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานเบื้องต้นไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกหนแห่ง รวมถึงการเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมด้วยระบบอัตโนมัติตั้งแต่การใช้วัตถุดิบจากแหล่งธรรมชาติจนถึงการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จ ภายใต้กระบวนการขับเคลื่อนสู่การปฏิวัติพลังงานและการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Energy and Fourth Industrial Revolutions) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทยที่จะมุ่งสู่โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ไทยแลนด์ 4.0
คุณชัยยศ ปิยะวรรณรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีบี ประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว เปิดเผยว่า นับเป็นเวลา 40 ปีที่ ABB ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2521 และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ABB ก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงานมาด้วยดี โดยเมื่อปี พ.ศ. 2533 ABB ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ จัดตั้งโรงงานแห่งแรกในประเทศไทยเพื่อผลิตระบบเก็บประจุไฟฟ้าแรงดันต่ำ หรือ Low Voltage Capacitors และโรงงานหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู เพื่อจำหน่ายในประเทศไทยและส่งออกไปยังประเทศในเอเชียใต้ รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นับเป็นก้าวสำคัญในการทดแทนการนำเข้าและสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกเป็นมูลค่านับพันล้านบาทต่อปี รวมถึงเป็นการถ่ายทอดทักษะและเทคโนโลยีให้กับบุคลากรไทยอย่างต่อเนื่องจนสามารถพูดได้ว่าโรงงานดังกล่าวสามารถบริหารจัดการได้โดยบุคลากรไทยทั้งหมด
นอกจากนั้น ABB ยังมีโรงงานประกอบตู้สวิทช์เกียร์ Robot Application Center และศูนย์บริการรวมทั้งหมด 8 แห่งในประเทศไทย อีกทั้งยังมีสำนักงานตัวแทนการตลาดในประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา โดยยังคงมีเป้าหมายให้บริการใน 3 ตลาดหลัก ได้แก่ ด้านสาธารณูปโภค (Utility) โรงงานอุตสาหกรรม (Industry) และ ด้านการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน (Transport and Infrastructure) ซึ่ง ABB มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงาน เพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาของประเทศภาคสาธารณูปโภค
ABB มีโซลูชั่นส์ในด้านบริหารจัดการพลังงานแบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งกระบวนการผลิต ระบบสายส่งและระบบจำหน่าย (generation, transmission and distribution) แก่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าทั้งภาครัฐและเอกชน สาธารณูปโภคด้านประปา บำบัดน้ำเสีย รวมถึงระบบชลประทานด้วย โดย ABB ได้พัฒนาดิจิทัลโซลูชั่นส์ภายใต้ common platform ABB AbilityTM ที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน ABB AbilityTM Platform รวมทั้ง software ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ลูกค้าสามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้ทันสมัย ด้วยการให้ข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนและการควบคุมการปฏิบัติการซึ่งสามารถตอบสนองได้ทันที (real-time operations) โดยล่าสุด ABB ได้เปิดตัวหม้อแปลงไฟฟ้าระบบดิจิทัลเป็นรายแรกของโลกในงานแสดงสินค้าและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีระดับโลก Hannover Fair 2018 ที่ประเทศเยอรมัน เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา นับเป็นนวัตกรรมที่นำ digital technology มาใช้ในการทำงานของระบบหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่จะช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มความแน่นอนและการใช้ประโยชน์ของโครงข่ายไฟฟ้าได้มากขึ้น ขณะเดียวกันในส่วนของการผลิตพลังงานหมุนเวียน ABB ก็มีการพัฒนาโซลูชั่นที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน
ภาคอุตสาหกรรม
ลูกค้าในกลุ่มนี้ครอบคลุมทุกภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทั้ง process industry รวมถึง discrete manufacturing industry อาทิ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระดาษ ซีเมนต์ อาหารและเครื่องดื่ม และ อิเล็คโทรนิคส์ เป็นต้น ซึ่ง ABB มีผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นส์ รวมถึงงานเซอร์วิสในระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าของเราสามารถปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตให้ถึงจุดที่มีคุณภาพและมีความแม่นยำในระดับสูงสุด และสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำเสนอมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง (High-efficiency motors) ในคลาส IE3 และ IE4 ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานสากลสูงสุด นอกจากนี้ ABB ยังเป็นผู้นำระดับโลกในด้านอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้า (variable speed drive: VSD) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมและปรับความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้าให้ทำงานสัมพันธ์ตามความต้องการของโหลดเท่าที่จำเป็นเพื่อประหยัดพลังงาน สำหรับกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม อิเลคทรอนิกส์ และเครื่องจักรกล ต่างก็มีแนวโน้มเติบโตที่ดีเช่นเดียวกัน ซึ่ง ABB ก็มีนวัตกรรมที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของอุตสาหกรรมเหล่านี้เช่นกัน อาทิ Robot, Asset Management Software และ IOT Solutions
ภาคธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง
ธุรกิจบริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการขยายเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายใหม่ที่เชื่อมต่อย่านธุรกิจกับเขตรอบนอกกรุงเทพฯ โดยในช่วงที่ผ่านมา ABB ได้ส่งมอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (SRT) สำหรับติดตั้งใช้งานในระบบ Power supply ของสถานีรถไฟฟ้าสายต่างๆ
ขณะเดียวกัน ABB มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (E-mobility) ตอบสนองความต้องการใช้รถพลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle ที่เพิ่มสูงขึ้น
แนวโน้มการพัฒนาระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric vehicle ในประเทศไทยนั้น ขณะนี้ได้เริ่มทดลองนำมาใช้งาน โดยที่ผ่านมา ABB ได้สนับสนุนเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในโครงการ The Feasibility Study on Quick Chargers for Electric Vehicles ติดตั้งที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางใหญ่ เพื่อการศึกษาและพัฒนาระบบการให้บริการชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกัน ABB ยังได้ส่งมอบเครื่องชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วสำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อการศึกษาวิจัยด้าน Smart Grid และ Smart Mobility
ABB ถือเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีชาร์จไฟฟ้าแบบครงวงจรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้าและไฮบริด รวมทั้งเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับเรือและรถไฟด้วย โดย ABB ได้เข้าสู่ตลาด EV Charging ตั้งแต่ปี 2553 และมีฐานลูกค้าที่ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีจาก ABB มากกว่า 6,000 แห่งทั่วโลก และล่าสุด ABB ได้เปิดตัวสถานีชาร์จไฟฟ้ารุ่นใหม่ขนาด 350 kW Terra HP High Power charger เมื่อปลายเดือนเมษายน 2561 เพื่อรองรับความต้องการสถานีชาร์จไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดย EV Charger ตัวใหม่นี้จะใช้เวลาในการชาร์จเพียงแค่ 8 นาที สำหรับการเดินทางได้ถึง 200 กิโลเมตร
นอกจากนี้ ABB ได้ประกาศเข้าร่วมเป็นพันธมิตรครั้งแรกกับ FIA Formula E เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีด้าน E-mobility ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต โดย ABB FIA Formula E Championship นับเป็นรายการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต FIA ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งจะมีการจัดการแข่งขันในเมืองใหญ่ๆ ของโลก เช่น นิวยอร์ค ปารีส ซูริค และซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น
ABB รุกอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มเติบโตสูง โดยเป็น 1 ใน10 อุตสาหกรรมที่รัฐบาลให้การส่งเสริมสนับสนุน เนื่องจากประเทศไทยมีวัตถุดิบภายในประเทศอยู่แล้ว เพียงแต่ทำอย่างไรให้เกิดเป็นมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างประโยชน์ต่อประเทศมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มก็ต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแรงงานฝีมือที่มีความต้องการสูงขึ้น รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ตลอดจนต้นทุนพลังงาน วัตถุดิบ และการขนส่งที่สูงขึ้น
คุณชัยยศ กล่าวว่า ABB มุ่งเน้นขยายตลาดในภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้น โดยภายในปี 2561 นี้ ABB มีแผนงานที่จะเปิดตัวศูนย์ Food & Beverage Ingredient Center บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งคาดหมายว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เพื่อเป็นพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เช่น โรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว ได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและ Digital Solutions ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ทั้งนี้ ABB ถือเป็นหนึ่งในผู้นำเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของโลก โดยเมื่อเดือนเมษายน 2560 ABB ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท บีแอนด์อาร์ ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้นำทางด้าน Factory Automation ทำให้ ABB เพิ่มความแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากยิ่งขึ้นจากการรวมเอาความเป็นผู้นำในระบบอัตโนมัติของ ABB (DCS) เข้ากับ Factory Automation รวมถึง Internet of Things (IoT) Solutions ของ B&R ภายใต้ ABB AbilityTM Platform
หุ่นยนต์…ความท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ จะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานแล้ว หุ่นยนต์ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเพราะสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และอีกประการที่คนมักจะมองข้ามไปคือ คุณภาพของสินค้าที่มีความสม่ำเสมอ ลดปัญหาความผิดพลาดจากคน (human error) ABB ได้แนะนำหุ่นยนต์แบบสองแขนภายใต้ชื่อ YuMi ที่ได้รับการออกแบบพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ (collaborative robots) ได้อย่างปลอดภัย นับเป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญและจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต
สำหรับในประเทศไทย ABB ได้เปิดศูนย์ Robotics Application Center ตั้งแต่ปี 2554 ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้าน Application ของหุ่นยนต์ที่หลากหลาย และพนักงานที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีมากกว่า 40 คน เพื่อเผยแพร่ความรู้และให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงสถาบันการศึกษา ให้เห็นถึงประโยชน์จากการนำหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยในปีที่ผ่านมา เอบีบี ได้นำหุ่นยนต์ YuMi เข้าร่วมจัดแสดงเพื่อประชาสัมพันธ์งาน "ดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2017" ณ ทำเทียบรัฐบาล
สำหรับปีนี้ คุณชัยยศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ABB ได้เข้าร่วมงาน Propak Asia 2018 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ แห่งภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 26 ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2561 ณ ไบเทค บางนา โดยเทคโนโลยีหุ่นยนต์สำหรับระบบการผลิตแบบอัตโนมัติจะเป็นไฮไลท์ที่ ABB ต้องการนำเสนอ อาทิเช่น หุ่นยนต์สำหรับงานหยิบจับ การบรรจุ และการจัดเรียง (picking, packaging and palletizing) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งปัจจุบันหุ่นยนต์ของ ABB ถือเป็น Connected Robot โดยระบบทำงานของหุ่นยนต์อยู่บนพื้นฐานของคลาวด์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จาก Big Data, predictive maintenance ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ ABB ยังมีผลิตภัณฑ์ทางด้านซอฟท์แวร์ (MES) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สำคัญที่จะช่วยในเรื่องระบบติดตามสินค้า (product tracking) และการวางแผนการผลิต (production planning) ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพความปลอดภัยของอาหารด้วย ขณะที่ระบบการบริหารจัดการพลังงานก็เป็นอีกส่วนสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเช่นเดียวกัน
ABB หนุนขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้
เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนเมืองในยุคปัจจุบัน ABB มีโซลูชั่นที่นำเสนอระบบอัตโนมัติมากมายภายใต้แนวคิด Smart Mobility, Smart Home และ Smart Building ที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีความปลอดภัยสูงขึ้น โดย ABB มีระบบควบคุมบ้านอัจฉริยะ free@home ที่สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและปรับแต่งฟังก์ชั่นต่างๆ ภายในบ้านได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต เช่น ระบบควบคุมแสงไฟ (Light Control) อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปิด-ปิดไฟเฉพาะในแต่ละห้องหรือไฟทุกดวงภายในบ้านได้ รวมถึงระบบควบคุมประตูเข้า-ออกอัตโนมัติ (Door Entry System) ที่ช่วยให้เจ้าของบ้านหรืออาคารสามารถเห็นภาพและสนทนากับผู้มาติดต่อได้บนหน้าจอสัมผัสแม้ในขณะนั้นจะไม่ได้อยู่ภายในบ้านก็ตาม รวมไปถึงสมาร์ทเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีฟังก์ชั่น Power Controller ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ และเทคโนโลยี Solar Rooftop ที่จะช่วยให้เจ้าของบ้านหรืออาคารสำนักงานสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างสูงสุด
นอกจากบ้านพักอาศัยแล้ว ABB ยังสามารถตอบสนองความต้องการของอาคารอัจฉริยะ (Smart Building) ได้ครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานที่ทำงาน ที่อาศัย แหล่งช้อปปิ้ง (Mixed-use project) ที่กำลังขยายตัวอย่างมากในประเทศไทย ABB มีโซลูชั่นที่ทำให้สามารถบริหารจัดการพลังงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพทั้งโครงการ ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย สำนักงาน รวมไปถึงร้านค้า
40 ปี เอบีบี ประเทศไทย
คุณชัยยศ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในปี 2561 นี้ นับเป็นปีที่ บริษัท เอบีบี จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทยมาครบ 40 ปี โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ABB ได้ทำงานร่วมกับบุคคล หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะลูกค้าทั้งในภาคสาธารณูปโภค ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการขนส่งและระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากมาย ส่งมอบเทคโนโลยีและโซลูชั่นส์ต่างๆ ที่ช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ซึ่งนั่นทำให้เราได้ร่วมเติบโตไปพร้อมๆ กับลูกค้าของเรา และจากวันนี้ต่อเนื่องไปในอนาคต ABB จะยังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ลูกค้าของเรายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้เติบโตและก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน
คุณชัยยศ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ABB เดินหน้าคิดค้นพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนผ่านโมเดลธุรกิจให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบบ Digitalization ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงานและการดำเนินงานที่รวดเร็ว ทั้งนี้ ABB มีเป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม จาก Automated Operation ไปสู่ระบบที่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ Autonomous Operation โดยใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning ซึ่ง ABB มี partners ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน เช่น Microsoft Azure, IBM, Watson ที่สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างครบวงจร
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit