นางสาวกุหลาบ กิมศรี รองกรรมการผู้จัดการ สำนักระบบมาตรฐานสากล ซีพีเอฟ กล่าวว่า การเข้าร่วมในโครงการนำร่องของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการร่วมกับสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อรองรับแนวโน้มความต้องการของตลาดโลกในอนาคต โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยไก่สดจากโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ สระบุรี และอกไก่นุ่ม จากโรงงานอาหารแปรรูป มีนบุรี 2 ฉลากวอเตอร์ฟุตพรินต์เป็นเครื่องมือช่วยรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการร่วมอนุรักษ์การใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง
ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรภายใต้วิสัยทัศน์ "ครัวของโลก" ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี ควบคู่ไปกับการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 10 ประการ จาก 17 เป้าหมาย ของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) อาทิ การจัดการน้ำและสุขาภิบาล การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นต้น
"นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการใช้ ฉลากวอเตอร์ฟุตพรินต์ ซึ่งสะท้อนศักยภาพของบริษัทฯ ในฐานะผู้ผลิตอาหารปลอดภัยด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อความมั่นคงทางอาหาร และเดินหน้าอย่างต่อเนื่องสู่การพัฒนาอาหารยั่งยืน" นางสาวกุหลาบ กล่าวย้ำ
นางสาวกุหลาบ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำของ ซีพีเอฟ ช่วยให้การประเมินการใช้ทุกขั้นตอนทำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สะท้อนความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการทวนสอบความถูกต้องจากหน่วยงานภายนอกเพื่อความโปรงใส
ซีพีเอฟ ได้การรับรองฉลากลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint Reduction Label) สำหรับ 4 ผลิตภัณฑ์ คือ ลูกไก่ ไก่เป็น ไก่สด และเกี๊ยวกุ้ง.
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit