เฉกเช่นราชอาณาจักรบาห์เรน โดย ฯพณฯ มร.ซาเยด อาร์. อัลซายานี (H.E. Mr. Zayed R. Alzayani) รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม พาณิชย์ และการท่องเที่ยว ราชอาณาจักบาห์เรน พร้อมคณะได้เป็นเกียรติเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯ ในโอกาสที่เดินทางเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน ว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคง ทางด้านอาหาร การค้า และการลงทุนในผลิตภัณฑ์และโภคภัณฑ์การเกษตร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ซึ่งได้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศมุสลิมทั่วโลกได้ตระหนักว่า การเป็นประเทศมุสลิมของเขาทำให้เขามองพลาด โดยที่เข้าใจว่า อะไรก็ปลอดภัย แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่ เพราะในวันนี้ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ มีการป่นเปื่อนมากมาย แต่ถ้าเราจะพิสูจน์ให้ได้ว่า วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการป่นเปื่อนอะไรนั้น เราต้องใช้หลักการของ "วิทยาศาสตร์" ในการตรวจสอบ แต่สำหรับประเทศไทย โดย "ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เราได้ตระหนักถึงประเด็นสำคัญในเรื่องนี้เป็นที่แรกของโลก จึงได้ก่อตั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2538 โดยพัฒนางานด้านนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลขึ้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทั้งมุสลิมและมิใช่มุสลิม ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯ เราได้สั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี โดยในขณะนี้ยังไม่มีประเทศไหนที่สามารถตรวจผลิตภัณฑ์ได้เกินแสนผลิตภัณฑ์ แต่สำหรับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯ นั้นสามารถตรวจผลิตภัณฑ์ตรวจไปแล้วกว่า 120,000 ผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ซึ่งเราเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกว่าเป็นที่หนึ่งในเรื่องการตรวจสอบความปลอดภัยด้านฮาลาล การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล และการพัฒนาระบบในการสร้างความปลอดภัยด้านฮาลาล จนกลายเป็นต้นแบบที่ประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นประเทศโลกมุสลิมและประเทศที่ไม่ใช่โลกมุสลิมต้องให้ความสนใจในการขอเข้าศึกษาดูงานและอบรมด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล อาทิ เช่น ปากีสถาน อุซเบกิสถาน มาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย ตุรกี รวมถึง ญี่ปุ่น กัมพูชา สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมัน
ซึ่งด้วยความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการผลิตอาหารฮาลาลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานอาหารฮาลาลที่กำหนดไว้ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานของ Codex ที่ให้ทั้งความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและเป็นผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกที่มีคุณภาพ ตามนโยบายที่จะให้อาหารฮาลาลในประเทศไทยสู่ครัวโลก ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมองผลิตภัณฑ์ฮาลาลเสียใหม่ เพราะถ้าเปรียบเทียบแล้วไทยยังส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลน้อยถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งทำให้ถูกมองเห็นว่าตลาดฮาลาลนั้นเป็นตลาดเล็ก เช่น ไทยมองตลาดฮาลาลอยู่ที่ 17% ของตลาดอาหารโลก แต่สำหรับประเทศเยอรมันมองตลาดฮาลาลอยู่ที่ 89 % หรือ Halal for all ส่วนไทยมองว่าเป็น Halal for Muslim เราจึงควรเร่งพัฒนาและให้ความรู้ว่าฮาลาลเป็นเรื่องของความปลอดภัยของทุกๆ คนทั่วโลก เพราะปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชากรมุสลิมมีการกำลังขยายตัวอย่างก้าวกระโดด คาดว่าในปี 2030 จะมีจำนวนประชากรมุสลิมทั่วโลกกว่า 2,200 ล้านคน คิดเป็น26.4% ของประชากรทั้งโลก จากปัจจุบันมีอยู่ 2,000 ล้านคนหรือ 25% ซึ่งถ้าไทยให้ความสำคัญในเรื่องของเครื่องหมายฮาลาล การส่งออกของไทยก็จะสามารถขยายตัวได้อย่างก้าวกระโดด เพิ่มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้อย่างมากเลยทีเดียว รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน กล่าวปิดท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit