รางวัลลูกโลกสีเขียวเป็นหนึ่งในโครงการเสริมของโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ของบริษัท ปตท..จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2542 เนื่องในปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา ด้วยความร่วมมือของผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ นับจากปีแรกจนถึงปัจจุบัน "รางวัลลูกโลกสีเขียว" เดินทางเข้าสู่ทศวรรษที่สองแล้ว และยังคงน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การประกวดในหัวข้อ "วิถีพอเพียง แบ่งปัน ผูกพัน ดิน น้ำ ป่า" เพื่อเป็น "พลังเปลี่ยนโลก"
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียวและประธานกรรมการตัดสิน"รางวัลลูกโลกสีเขียว" กล่าวว่า "ผมขอแสดงความยินดี กับบุคคลและกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวในครั้งนี้ ขอชื่นชมกับทุกผลงานที่เปี่ยมพลังความมุ่งมั่น สานเครือข่ายลูกโลกสีเขียวให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ขอเป็นกำลังให้ทุกคนยืนหยัดอุดมการณ์ รักษาโลกของเราเพื่อส่งต่อคุณค่ามรดกนี้ให้แก่ลูกหลาน สร้างชุมชนเข็มแข็งเพื่อเป็นพลังให้แก่ประเทศชาติในการก้าวไปข้างหน้า"
นางศรีสุรางค์ มาศศิริกุล ผู้อำนวยการสถาบันลูกโลกสีเขียว กล่าวว่า ตลอด 20 ปีของการดำเนินงาน "รางวัลลูกโลกสีเขียว" ได้เชิดชูชุมชนที่มีการจัดทำป่าชุมชน คิดเป็นจำนวนกว่า 2.4 แสนไร่ ชุมชนเหล่านี้ยังร่วมบริหารจัดการป่าในพื้นที่เขตอนุรักษ์กว่า 1.8 ล้านไร่ ในขณะที่กรมป่าไม้ระบุว่า มีชุมชนกว่า 8,000 หมู่บ้านจัดทำป่าชุมชน รวมเป็นเนื้อที่กว่า 3.2 ล้านไร่ทั่วประเทศ
ภายใต้การสนับสนุนของ ปตท. สถาบันลูกโลกสีเขียว ได้เพิ่มภารกิจในการทำงานนอกเหนือจากยกย่องให้กำลังใจแก่ ผู้ที่ทำความดี โดยงานจัดการความรู้เพื่อหนุนเสริมความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย การจัดเวทีเครือข่ายลูกโลกสีเขียว ในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนหยิบยกประเด็นที่เป็นสภาพปัญหาในแต่ละภูมิภาคมาสร้างกิจกรรมเพื่อให้ชุมชนมีภูมิคุ้มกัน สามารถตั้งรับปรับสู้กับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ภายในงานพบ "ตลาดความรู้" หลากหลาย อาทิ นิทรรศการเส้นทางแห่งสองทศวรรษรางวัลลูกโลกสีเขียว นิทรรศการผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 18กิจกรรมเชิงวิชาการและวัฒนธรรม ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "พลังเปลี่ยนโลก" โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียวฯ ห้องเสวนาย่อยนำเสนอกรณีศึกษาผ่านการ "ตั้งรับ-ปรับสู้-เปลี่ยนแปลง-อยู่รอด" ในแต่ละภูมิประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง และห้องเวิร์คช็อปเพื่อเยาวชนเรื่อง "เทคนิคการสื่อความด้วยรูปแบบมัลติมีเดีย" ลานวัฒนธรรมภาค การแสดงศิลปะพื้นบ้านจากเยาวชนที่สะท้อนความงดงามของพหุวัฒนธรรม และร่วมเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 18 ในพิธีประกาศผลและมอบรางวัลฯ ในวันที่ 28 สิงหาคม 2561 โดยมีผลงานที่ได้รับการยกย่องทั้งสิ้น 38 รางวัล ดังนี้
รางวัลประเภทชุมชน จำนวน 7 รางวัล
รางวัลประเภทบุคคล จำนวน 3 รางวัล
รางวัลประเภทกลุ่มเยาวชน จำนวน 8 รางวัล
รางวัลประเภท "สิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน" จำนวน 8 รางวัล
รางวัลประเภทงานเขียน จำนวน 3 รางวัล
รางวัลดีเด่น
รางวัลประเภทความเรียงเยาวชน จำนวน 7 รางวัล
อายุไม่เกิน 15 ปี
รางวัลดีเด่น
รางวัลชมเชย 2 รางวัล
อายุ 16-25 ปี
รางวัลดีเด่น 2 รางวัล
รางวัลชมเชย 2 รางวัล
รางวัลประเภทสื่อมวลชน จำนวน 2 รางวัล
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.GreenglobeInstitute.con
สถาบันลูกโลกสีเขียว โทร.02 537 2146/ 02 537 1993