ทั้งในด้านการขายยางพาราที่มีอยู่ในสต๊อก การจัดซื้อปุ๋ยเคมีแจกเกษตรกรชาวสวนยางตามช่วงฤดูกาล และเสนอให้ สถาบันวิจัยยาง ไปสังกัดกรมวิชาการเกษตรตามเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารของ กยท. นั้น จากขอเสนอแนะดังกล่าว กยท. ขอยืนยันว่า การขายยางพาราของ กยท. นั้น ดำเนินการโดยสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา และให้เกษตรกรชาวสวนยางขายยางคุ้มค่าต่อการลงทุน อย่างไรก็ตามในประเด็นดังกล่าว กยท. พร้อมที่จะให้รายละเอียดเพิ่มในเรื่องของการดำเนินการ เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในส่วนประเด็นเรื่อง การจัดซื้อปุ๋ยเคมีแจกเกษตรกรสวนยาง ซึ่งใช้วิธีการประมูลมีขั้นตอนล่าช้านั้น กยท. ขอชี้แจงว่า การจัดซื้อปุ๋ยทุกครั้ง ดำเนินการเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ กยท. เห็นชอบและอนุมัติ โดยเปิดการประมูลผ่านระบบ E bidding ตามระเบียบของกรมบัญชีกลางอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด และมีกระบวนการขั้นตอนที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
และประเด็นสุดท้าย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในฐานนะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกิดจากการรวมตัวกันของ 3 องค์กร ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.การยางฯ ปี 2558 โดยมีวัตถุประประสงค์หลัก เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการยางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร ซึ่งทั้งสามหน่วยงานเดิมต่างมีบทบาท หน้าที่ และความสามารถเฉพาะด้านที่ต่างกัน ทั้งด้านการส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในการปลูกสร้างสวนยาง ตลอดจนการสนับสนุนอาชีพทางเลือกเสริมในเกษตรกรมีรายได้ ด้านการผลิตโดยการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรมาแปรรูปในโรงงานของ กยท. จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงด้านการวิจัยพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรชาวสวนยางและผู้ประกอบการที่สนใจ ทั้งนี้การรวมตัวกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรชาวสวนยาง ในทุกด้าน รักษาการ กยท. กล่าวทิ้งท้าย