โดยได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ คุณวิทวัส ชัยปาณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟ จูซ จีวัน จำกัด และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และรองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อดีตกรรมการ กสทช. มาร่วมแสดงทัศนะ โดยคุณวิทวัส กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อออนไลน์เป็นสื่อที่มีคนเสพค่อนข้างมากเพราะเข้าถึงง่ายและสะดวก ขณะเดียวกันทุกคนยังสามารถตั้งตนเป็นสื่อได้ด้วย ทำให้น่าเป็นห่วงเรื่องการขาดคัดกรองข้อมูลที่ถูกต้อง ปัจจุบันมีหน่วยงาน องค์กร ออกกฎหมายเข้ามากำกับดูแลด้านการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ แต่ยังไม่สามารถครอบคลุมได้เต็มที่ ฉะนั้นวิธีการเสพสื่อออนไลน์ที่เหมาะสมสามารถเริ่มต้นได้จากครอบครัว ที่จะแนะนำกันในการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้รับมาอย่างมีสติ และตรวจสอบให้แน่ใจก่อนจะส่งต่อไปให้กับผู้อื่น เพราะการแชร์ข้อมูลที่มีสไตล์ คือการแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมที่เข้มแข็ง
รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม กล่าวว่า ขอให้ทุกคนพึงระลึกไว้ว่าทุกอย่างที่ทำไปในโลกออนไลน์จะถูกบันทึกอยู่ในอินเทอร์เนต ไม่มีหมดเวลา ไม่มีหมดอายุ และไม่สามารถลบได้ ดังนั้น จึงควรคิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนโพสต์หรือแชร์อะไร โดยเฉพาะเรื่อง Cyber bullying เพราะมีผลกับจิตใจของผู้ถูกกระทำ
ภายในงานมีการจัดนิทรรศการผ่านสื่อผสมแบบ interactive เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโลกดิจิทัล ผ่านภาพอินโฟกราฟิก เกมตอบคำถามเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงมัลติมีเดียในรูปแบบการ์ตูน เพื่อสร้างความน่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มผู้ชมให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น รวมถึงการเสวนา ในหัวข้อ "จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ ก่อนแชร์ต้องคิด!!" ของ 2 ดาราดัง ไมค์ ภัทรเดช สงวนความดี และพีค ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ ร่วมกับคุณสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ทนายความชื่อดังเจ้าของฉายา เปาบุ้นจิ้น เมืองไทย คุณสงกานต์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแชร์ข้อมูลทางสื่อออนไลน์ว่า การแชร์ข้อมูลข่าวสารเป็นสิทธิ์ที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่ควรตรวจสอบที่มาที่ไปของข้อมูลให้แน่ใจว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ละเมิด ไม่หลอกลวงผู้อื่น ปัจจุบันมีมิจฉาชีพแฝงตัวในสื่อออนไลน์อยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ การแอบอ้างรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ประสบภัย และสัตว์พเนจร ที่ไม่เป็นจริง อาศัยความรู้สึกสงสารหลอกลวงเงิน ทุกคนควรใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ และเพื่อความเป็นธรรมให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่นและสังคม
ไมค์ ภัทรเดช สงวนความดี ซึ่งเคยมีประสบการณ์โดยตรงในเรื่องการแชร์ข้อมูลโดยไม่คิดมาแล้ว เห็นว่า "ส่วนตัวผม จากที่เคยถูกแชร์เรื่องที่ไม่เป็นความจริงในหลาย ๆ เรื่อง ที่หลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องตลก แต่สำหรับผู้ที่ถูกกระทำไม่ตลกด้วย แต่ข้อดีของการนักแสดงคือทำให้มีโอกาสที่จะบอกสังคมได้ว่าความจริงคืออะไร ในกรณีที่เป็นคนที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักในสังคมและโดนแชร์ในเรื่องเสียหายก็มีผลกระทบกับการมีชีวิตในสังคมของเขา ดังนั้น ทุกคนต้องรู้จักใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ใช่ว่ามีสื่ออยู่ในมือแล้วจะต่อว่าใครก็ได้ และควรเลือกแชร์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ แสดงความสามารถของตนเองในเชิงพัฒนาสังคม ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่"
พีค ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ ขอฝากข้อคิดในเรื่องการใช้สื่อออนไลน์ไว้ว่า "ตอนนี้ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย ที่เราสามารถเสพสื่อและสร้างตัวเองเป็นสื่อได้ แต่อย่าใช้โซเชียลมีเดียเป็นที่ระบายอารมณ์ ต่อว่าคนอื่น เพราะบางครั้งมันเป็นแค่อารมณ์ชั่ววูบ แม้จะลบออกจากพื้นที่ของเราได้ แต่มันก็อาจจะยังปรากฏต่อไปอยู่บนออนไลน์จากการแคปภาพหรือการแชร์จากคนอื่น เพราะฉะนั้นใช้โซเชียลมีเดียในเชิงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมจะดีกว่า"
ติดตามรายละเอียด และความเคลื่อนไหวของโครงการ "Healthy Digital Family เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง" ได้ทางเว็บไซต์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ www.cra.ac.th
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit