ปี 2561 เป็นปีแรกในการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษท โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนจากประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน17 ประเทศเข้ามาศึกษาในประเทศไทย โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือก15คน จากประเทศอินเดีย บังคลาเทศ กัมพูชา เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และนักศึกษาเหล่านี้จะเข้าศึกษาร่วมกับนักศึกษาไทยที่ผ่านการคัดเลือกอีก 33คน เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี4 ปี คณอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม (Farm Technology Management) และ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร (Food Processing Technology Management)
นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซีพีเอฟ กล่าวว่าบริษัทให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพทั้งในประเทศไทย โดยเฉพาะบุคลากรรุ่นใหม่ให้สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีที่สำเร็จการศึกษา โดยนักศึกษาที่ได้รับทุนในครั้งนี้จะได้เรียนภาคทฤษฎีที่ PIM รวมถึงการได้ฝึกงานจริงในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารมาตรฐานระดับโลกเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาให้เป็นมืออาชีพอย่างแท้จริงและพร้อมรองรับทิศทางการเติบโตทางธุรกิจของ ซีพีเอฟ ในระดับโลก
"การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญ เป็นนโยบายสำคัญที่ ซีพีเอฟ ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ปรัชญา 3ประโยชน์สุ่ความยั่งยืน คือ ประโยชน์ต่อประเทศไทยและประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุนประโยชน์ต่อประชาชนทุกประเทศ และประโยชน์ต่อบริษัทฯ เป็นลำดับสุดท้ายเพื่อพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน" นายสุขสันต์ กล่าว
นายสุขสันต์ กล่าวย้ำว่า นักเรียนต่างชาติที่ได้รับทุน ซีพีเอฟ เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับโอกาสเข้าทำงานกับธุรกิจของ ซีพีเอฟ ในประเทศบ้านเกิดของตนเอง เพื่อนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากเรียนการสอนในประเทศกลับไปต่อยอดและพัฒนาประเทศความรับผิดชอบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับบัณฑิตชาวไทยก็สามารถปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือไปปฏิบัติงานในประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้
นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจอาหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซีพีเอฟ กล่าวว่า ความสำเร็จของบริษัทฯในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรเริ่มจากธุรกิจอาหารสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์ นำไปสู่การแปรรูปอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานสากลด้วยเทคโนโลยีทันสมัยระดับโลก จะทำให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าไปเรียนรู้และปฏิบัติงานจริงในระบบการผลิตแบบครบวงจรของบริษัทฯ ซึ่งนักศึกษาจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในประเทศของตนขณะเดียวกันยังเป็นการสนันสนุนวิสัยทัศน์ "ครัวของโลก" ของ ซีพีเอฟ ด้วย
"บุคลากรถือเป็นรากฐานและหัวใจสำคัญของการสร้างความการเติบโตและความสำเร็จขององค์กร การได้รับทุนและได้ฝึกงานในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารของบริษัท จะทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองไปพร้อมๆกับการเรียนรู้และคิดค้นสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะนวัตกรรมทางอาหารให้มีความหลากหลายตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย" นายสุขวัฒน์ กล่าว
ดร.ถิรนันท์ ศรีกัญชัย คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรPIM กล่าวว่า รูปแบบการศึกษาแบบ Work Based Educationมีการเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนครั้งละ 3 เดือน สลับกับฝึกงานในสถานประกอบการจริงอีกครั้ง3 เดือน สลับกันตลอดหลักสูตร 4ปี โดยกำหนดเวลาเรียนภาคทฤษีไว้45% และภาคปฏิบัติทั้งในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารอีก55% ตามวิสัยทัศน์ "การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง" ของ PIM ซึ่งเป็น Corporate University หรือ มหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจแห่งแรกของประเทศไทย
หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม และสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร ได้รับการออกแบบจากผู้บริหารมืออาชีพจาก ซีพีเอฟ โดยออกแบบหลักสูตรร่วมกับคณะกรรมการของ PIM ทำให้เนื้อหาหลักสูตร มีความสอดคล้องกับกระบวนการเลี้ยงสัตว์จริงในฟาร์มอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับกระบวนการแปรรูปอาหารจริงในโรงงานแปรรูปอาหารที่ทันสมัยระดับโลก "คณะอุตสาหกรรมเกษตร มีมืออาชีพจาก ซีพีเอฟ มาเป็นอาจารย์พิเศษมาช่วยสอนเป็นรายวิชากว่า100 คน โดยการนำประสบการณ์มาสอนนักศึกษาให้มีพื้นฐานความรู้แบบมืออาชีพ ที่โดดเด่นที่สุด คือ นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าไปฝึกปฏิบัติงานจริง ในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารระดับโลกของ ซีพีเอฟ ให้ได้สัมผัสงานจริง แก้ปัญหาจริง ในสภาพแวดล้อมการทำงานจริงจึงมั่นใจได้ว่าบัณฑิตของเราสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่สำเร็จการศึกษา" ดร.ถิรนันท์กล่าว.