ศ.นพ.ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ประธานชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย ประธานคณะทำงานการวิจัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย (Thai Lymphoma Study Group) อดีต ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองปัจจุบันถือว่าเป็นโรคมะเร็งที่สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ทำให้ทั่วโลกให้ความสำคัญ และตื่นตัวกับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยในประเทศไทย และทั่วโลก จึงยกให้วันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ตรงกับ "วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก"
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยติดอันดับ 1 ใน 5 ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย โดยสถานการณ์ของโรคในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองปีละกว่า 3,000 ราย หรือ เทียบเท่า 8 รายต่อวัน ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด นอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin lymphoma หรือ NHL) จะสูงขึ้นตามอายุ และปัจจุบันสามารถพบได้ในเด็ก หรือกลุ่มคนอายุน้อยได้มากขึ้นอีกด้วย โดยเพศชายพบบ่อยมากกว่าเพศหญิง สำหรับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด ฮอดจ์กิน (Hodgkin lymphoma หรือ HD) จะพบบ่อยในช่วงอายุ 20-30 ปี โดยในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทุกรายได้อย่างชัดเจน แต่พบมีความสัมพันธ์กับหลายภาวะ ได้แก่
ทั้งนี้ สภาวะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจึงถือเป็นอุบัติการณ์ของโรคที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก ซึ่งตรวจพบผู้ป่วยใหม่ถึงปีละ 80,000 ราย จึงยกให้วันที่ 15 ก.ย. ของทุกปี ตรงกับ "วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก" เพื่อสร้างความตระหนักและหาทางป้องกันรักษา
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะพบมาก แต่ก็เป็นโรคมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ แต่ปัญหาของผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเหมือนอาการอื่นๆ ที่พบได้ในภาวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อ ภูมิแพ้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นไข้ และน้ำหนักลด ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจ การดูแลสุขภาพตนเองอย่างดี รวมถึงการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีโอกาสในการหายจากโรคได้มากขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วนั้น ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนสำคัญในการผลักดัน และให้กำลังใจผู้ป่วยระหว่างการรักษา ร่วมกับแพทย์ที่จะให้การรักษาที่ดีที่สุด และมีโอกาสหายมากที่สุด โดยทั่วไปอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะกินเวลานาน และไม่สามารถอธิบายได้จากสาเหตุอื่น แต่อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งชนิดนี้สามารถตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด และยาแอนตี้บอดี้ได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่น
สำหรับวิธีการรักษาด้วยนวัตกรรมการรักษาใหม่ๆ ได้แก่ การใช้เคมีบำบัด การใช้ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ การฉายแสง และการปลูกถ่ายไขกระดูก (สเต็มเซลล์) โดยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 4 ระยะ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะที่ 1 มีโอกาสหายขาดถึงร้อยละ 70-90% ส่วนผู้ป่วยที่รับการรักษาในระยะที่ 2-4 มีโอกาสหายขาด ร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ และในปัจจุบันหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีการอนุมัติการใช้ยา Monoclonal antibody แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด นอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma : NHL) ชนิด diffused large B-cell lymphoma ที่มีเป้า CD 20 เป็นบวก ซึ่งให้คู่กับยาเคมีบำบัดสูตรมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่จะมีโอกาสหายจากโรคมากขึ้น
ดังนั้น ในปีนี้ "ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย" ด้วยความร่วมมือจากโรงเรียนแพทย์ และสถานพยาบาลที่สำคัญของประเทศ รวม 13 แห่ง จึงได้จัดกิจกรรม "ปาฏิหาริย์-เปลี่ยนมะเร็ง-ให้เป็นสุข : MIRACLE is all around – Fight to Lymphoma" ครั้งที่ 5 ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2561 เวลา 13.00 น. ณ ลานเซ็นทรัลคอร์ท ชั้น 6 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยการจัดงานในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนไข้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทุกคน มีคุณภาพชีวิต และแรงบันดาลใจที่ดี เพื่อที่จะก้าวข้ามผ่านโรคร้ายไปให้ได้ และรู้สึกว่าถึงจะป่วยแต่ก็ป่วยอย่างมีความสุข ทั้งนี้ ภายในงานจะพบกับแขกรับเชิญพิเศษ และกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ดังนี้
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อลงทะเบียนได้ที่บริเวณหน้างาน หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://goo.gl/WgkTtY
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit