ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างเวทีเพื่อพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้สามารถสร้างนวัตกรรมตามบริบทของวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนำพาประเทศไทยสู่ Thailand Halal 4.0 ภายในงานประกอบไปด้วย งาน Halal Run Halal Routh, โครงการสร้างเครือข่ายและฝึกปฏิบัติการภาคสนามด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลสำหรับนิสิตนักศึกษาที่เรียนด้านวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ, การเปิดห้องปฏิบัติการวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ศาสตร์ฮาลาล ตันศรี ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลในหัวข้อ "ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างนวัตกรรมฮาลาล" ซึ่งมีโครงงานเข้าร่วมประกวดทั้งหมด 29 โครงงาน ประกอบด้วยสาขาวิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาสิ่งประดิษฐ์ และสาขามัลติมีเดีย รอบการแข่งขันระดับประเทศ และโครงการสร้างเครือข่ายและฝึกปฏิบัติการภาคสนามด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลสำหรับนิสิตนักศึกษาที่เรียนด้านวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ (Halal Science Camp & Quiz bowl 2018) มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 200 คน เป็นอาจารย์ 40 คน และนักเรียนนักศึกษา 160 คน จากโรงเรียน 25 แห่ง และมหาวิทยาลัย 15 แห่ง ณ ห้องประชุมอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ ชั้น 7 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย