นายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ทีมจัดการลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจประเทศจีนที่ยังคงมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและการลงทุนในตลาดหุ้นจีนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว แม้ว่าปัจจุบันประเทศจีนมีความขัดแย้งทางการค้ากับประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ประเมินว่าจะเป็นผลกระทบระยะสั้นที่ไม่ส่งผลกระทบกับปัจจัยพื้นฐานและในกรณีที่เลวร้าย (Worse Case) คาดว่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ไม่เกิน 0.5-1%
ทั้งนี้ เศรษฐกิจประเทศจีนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก และยังมีแนวโน้มการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพมากขึ้นในระดับราว 6%ต่อปี จากการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ การเน้นเพิ่มการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง การควบคุมปริมาณในภาคการผลิต รวมถึงการพัฒนาโครงการเส้นทางสายไหมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจจีนกับเครือข่ายเส้นทางการค้าประเทศอื่นๆ เพิ่มโอกาสขยายธุรกิจ
ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนได้มีการปฏิรูปตลาดการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศด้วยโครงการต่างๆ เช่น การเชื่อมโยงตลาดทุน การยกเลิกข้อจำกัดใการลงทุนบางประการ ทั้งนี้ในอดีตที่ตลาดหุ้นจีนถือเป็นตลาดที่นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงได้ยาก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม A-share ที่มีจำนวนหลักทรัพย์และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดใหญ่ที่สุดในจำนวนหุ้นจีนทั้งหมด เนื่องจากมีข้อกำหนดให้นักลงทุนต่างชาติต้องลงทุนผ่านโควต้า QFII, RQFII และจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎต่างๆ ที่กำหนด แต่ปัจจุบันภาครัฐได้มีการผ่อนคลาดกฎเกณฑ์บางส่วนในการลงทุน เพิ่มความน่าสนใจของหุ้นจีนในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น นอกจากนี้การที่ MSCI ได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนหุ้นในกลุ่ม A-share เข้าในดัชนี MSCI Emerging Market ที่ระดับเป้าหมาย 16.2% ในปี 2563 โดยนำร่องจากการเพิ่มสัดส่วนหุ้น A-share 5% ของเป้าหมาย หรือที่ระดับ 0.8% ของดัชนีในปีนี้ คาดว่าในระยะถัดไป ยังมีโอกาสที่ Fund Flow จะไหลเข้าหุ้นจีนจากปัจจัยดังกล่าวอยู่
"ณ ปัจจุบันราคาหุ้นจีนก็ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยค่า P/E ของตลาดหุ้นโดยเฉลี่ย (ราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น) ณ ปัจจุบัน ลดลงเหลือเพียง 10 เท่าเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีหุ้นทั่วโลก ในขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศจีนยังมีแนวโน้มเติบโตสูง ทั้งนี้เมื่อทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าราคาหุ้นกลุ่ม Mid-Small Cap หรือหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กก็อยู่ในระดับที่น่าสนใจไม่แพ้หุ้นขนาดใหญ่และยังมีแนวโน้มเติบโตสูง โดยในปี 2560 กลุ่มหุ้นขนาดเล็กมีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นประมาณ 40% เทียบกับหุ้นขนาดใหญ่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 10-20% เท่านั้น" นายวิน กล่าว
ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล กล่าวว่า จากปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวในวันที่ 3-11 กันยายน 2561 บลจ.ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล จึงกำหนดเปิดตัวกองทุนเปิด 'ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้' หรือ CIMB-Principal China Equity Fund (CIMB-PRINCIPAL CHEQ) เป็นกองทุนรวมประเภท Fund of Funds โดยจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวม และ/หรือ กองทุน Exchange Traded Fund (ETF) ต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศจีน หรือบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจในประเทศจีนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน
โดยบริษัทจัดการจะลงทุนอย่างน้อย 2 กองทุน ในสัดส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีกองทุนละไม่น้อยกว่าร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ที่มีลักษณะแตกต่างกันทั้งหุ้นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง-เล็ก เพื่อกระจายการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมในเกณฑ์ที่เหมาะสม เบื้องต้นคาดว่าจะเข้าลงทุนในกองทุน CIMB-Principal China Direct Opportunities Fund ที่ลงทุนในหุ้นจีนขนาดกลางและขนาดเล็กและจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียในสัดส่วนประมาณ 70% และกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ 50 ตัวแรก A50 ในกองทุน iShares FTSE A50 China Index ETF โดยจะมีสัดส่วนลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ประมาณ30% ซึ่งเป็นกองทุนที่จดทะเบียนจัดตั้งในฮ่องกง
จากพอร์ตจำลองพบว่าพอร์ตสามารถสร้างผลตอบแทนในแต่ละปีได้อย่างเหมาะสม โดยพอร์ตจำลองสามารถสร้างผลตอบแทนในปี 2560 ได้20.1%, ปี 2559 ที่ -3.4% และปี 2558 ได้ 33.39% ดีกว่าดัชนีเปรียบเทียบ (CSI500 Index 70% + FTSE A50 China Index 30%) ที่ 17.7%,-18.8% และ 23.28%ตามลำดับในขณะที่นับตั้งแต่กองทุนอ้างอิงจัดตั้ง (23 มกราคม 2557) ให้ผลตอบแทนได้ 37.5% สูงกว่าดัชนีเปรียบเทียบที่ 1.9% หรือสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า +35.6% (ที่มา Bloomberg, ข้อมูล ณ กรกฎาคม 2561) (กองทุนที่ลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน)
ทั้งนี้ กองทุนหลัก CIMB-Principal China Direct Opportunities Fund บริหารงานโดยทีมงาน CIMB-Principal Asset Management Berhad ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีทีมจัดการลงทุนจาก CCB Principal Asset Management บริษัทจัดการในประเทศจีนเป็นที่ปรึกษาการลงทุน โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนในลักษณะเดียวกับการบริหารกองทุน (กองทุนอ้างอิง) CCB Principal CSI 500 Enhance Index ที่เข้าลงทุนในหุ้นจีนขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งมีโอกาสเติบโตสูงและผลประกอบการและงบการเงินที่แข็งแกร่ง จุดเด่นการบริหารกองทุนคือ การใช้หลัก Quant Model ในการคัดเลือกหุ้นและประเมินสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เน้นสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากการเลือกลงทุนหุ้นรายตัว เช่น หุ้น Better Life Commercial Chain Share Co. Ltd ผู้ดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตในจีนที่มีกว่า 260 สาขาและมียอดขายเติบโตเฉลี่ย 12.96% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (ที่มา Reuters, Bloomberg:ข้อมูล ณ มีนาคม 2561)
ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล กล่าวเพิ่มเติมว่า แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีนผ่านกองทุน CIMB-PRINCIPAL CHEQ เพื่อกระจายการลงทุนตามกลยุทธ์ Asset Allocation เพื่อจัดสัดส่วนการลงทุนและบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เนื่องจากตลาดหุ้นจีนมีการปรับฐานลงมาพอสมควร ทำให้ระดับราคาอยู่ในเกณฑ์น่าสนใจลงทุน ในขณะที่เศรษฐกิจจีนสามารถเติบโตต่อเนื่องและโอกาสการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน MSCIของนักลงทุนต่างชาติจะส่งผลดีการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น มองเป็นโอกาสเข้าลงทุนเพื่อได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม
กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ (CIMB-PRINCIPAL CHEQ) เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 3-11 กันยายน 2561 ทุนจดทะเบียน3,000 ล้านบาท กำหนดวงเงินสั่งซื้อขั้นต่ำครั้งละ 5,000 บาท สำหรับ นักลงทุนที่สนใจสามารถขอหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา ทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด โทร.02 686 9595 website www.cimb-principal.co.th
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ก่อนการตัดสินใจลงทุน/บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน/กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือ ได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน / หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้ / กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีนผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต(กองทุนดังกล่าวอยู่ระหว่างการขออนุมัติจัดตั้งจาก สำนักงาน ก.ล.ต)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit