โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นจากพระราชประสงค์ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการสร้างรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาประเทศชาติด้วยการศึกษา ภายใต้การดำเนินโดย มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ซึ่งได้ดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน อาทิ บริษัท นานมี บุ๊คส์ จำกัด,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, องค์การพิพิธิภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ,กลุ่มบริษัท บี กริม, มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ ฯลฯ โดยในปีการศึกษา 2560 โครงการได้ดำเนินโครงการกับโรงเรียนอนุบาลกว่า 21,352 แห่ง ผ่านผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) 232 กลุ่ม ซึ่งปรากฏผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ คือ ครูและเด็กสนใจและสนุกกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมาก
ภายหลังจากที่ผู้แทนพระองค์ นายทรงฤทธิ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กรรมการ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มอบตราพระราชทานแก่ผู้แทนโรงเรียนดังกล่าวแล้ว เปิดเผยว่า "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ซึ่งมีคุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ ประธานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ภายใต้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ได้ดำเนินการมา 8 ปีแล้ว เป็นโครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ตามพระราชประสงค์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และ นวัตกรรม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาไทยให้มีการพัฒนาเทียบเท่านานาอารยประเทศ"
ขณะที่ นางคิม จงสถิตย์วัฒนา เลขานุการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย กล่าวว่า "จากวันแรกจนถึงวันนี้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรเยอะมาก ที่ผ่านมาเราต้องต่อสู้กับการเรียนแบบค่านิยมเดิม จากเรียนแบบท่องจำท่องจำ ให้มาเรียนแบบเล่น เพื่อให้เด็กสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์สมวัยของเขา เราพยายามหยิบเอาวิทยาศาสตร์ใกล้ตัวมาสอนเด็ก ให้ได้เรียนรู้จากการทดลอง การทดลองจะล้มเหลวไม่เป็นไร เราไม่ได้คาดหวังให้เด็กต้องฉลาด แต่เราต้องการให้เด็กรู้จักการตั้งคำถาม ตอนนี้เราพัฒนาการสอนได้มากขึ้น ทุกวันนี้ดีใจที่โรงเรียนกว่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนวิธีการสอน ครูเชื่อมั่นและศรัทธาในรูปแบบการเรียนที่เรานำเสนอ ทำให้เด็ก ๆ ได้ความรู้และสนุกกับการเรียนไปโดยที่เขาไม่รู้ตัวค่ะ"นอกจากนั้นด้านตัวแทน ครู จาก 4 ภาคทั่วประเทศ ทั้ง ภาคกลาง, ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ ล้วนปลาบปลื้มใจที่ได้เข้ารับตราพระราชทานและมีความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของโคงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เผยตลอดมาได้ทุ่มเทพลังกายพลังใจกายอย่างเต็มที่ ขานรับนิยามของคำว่า "เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า" ประโยคที่ต่อให้อีกกี่ยุคใหม่ กี่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร ย่อมเริ่มต้นที่ "เด็ก" เสมอ ด้วยรากฐานที่สำคัญที่จะเติบโตเป็นพลังของประเทศไทย
ตัวแทนครูภาคใต้ นางสาวสุวรรณา บุตรสมัน โรงเรียนบ้านนาทุ่งกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เป็นครูมา 10 ปี เผยว่า "โครงการนี้ทำให้เด็กได้พัฒนาด้านสติปัญญา ร่างกาย สังคม จิตใจ ผลที่ได้คือเด็กเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนาน มีวิวัฒนาการที่ดีขึ้น เกิดความกล้าที่จะถาม ในกรณีที่เด็กอาจยังไม่กล้าถาม ทางครูจะปรึกษาและเข้าผ่านทางผู้ปกครอง ทำให้เกิดความใกล้ชิดทั้ง 3 ส่วนคือ ครู ผู้ปกคอรง และเด็ก ร่วมทั้งทางโรงเรียนมีหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่ต่อเนื่องด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาเยอะและเปลี่ยนแปลงทุกวัน ถ้าผู้ปกครองและครูไม่ช่วยกัน เด็กก็จะขาดโอกาสและขาดการพัฒนา ทุกฝ่ายช่วยกันพันฒนาเด็กในวันนี้ให้ได้ดีที่สุด"
ตัวแทนครูภาคเหนือ นางสาวรจนา พุทธวงค์ โรงเรียนอนุบาลดอยหลวง จ.เชียงราย เผยว่า "การได้เข้าอบรมในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นการสร้างโอกาสให้เราได้เกิดมุมมอง ไอเดีย ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาส่งต่อกับเด็ก ทำให้เราเองรู้ว่าเราสามารถนำธรรมชาติที่อยู่รอบตัว มาเป็นสื่อการสอนและยังเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก เพราะเด็กได้พัฒนาทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และชื่นชอบในธรรมชาติ"
ตัวแทนครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางสาวอารีย์ เจียมรัมย์ โรงเรียนบ้านโคกสูง สพป.บร.2 จ.บุรีรัมย์ เผยว่า "ทางโรงเรียนเน้นให้เด็กเรียนรู้กับธรรมชาติ ซึ่งโครงการนี้เน้นการปฏิบัติทำให้เด็กเกิดความชอบโดยไม่รู้ตัว กระตือรือรน เกิดความรักโรงเรียน รักท้องถิ่น ไม่เคยขาดเรียชอบทำกิจกรรม เด็กมีจินตนาการ และทำให้เด็กได้มีการต่อยอดหลังจากที่เข้าเรียนเต่อในชั้นเรีนประถม เด็กไม่เพียงชอบวิทยาศาสตร์ แต่เด็กมีการเรียนรู้ที่เร็ว เด็กได้สร้างสรรค์ เติบโต เป็นพลังของประเทศไทยต่อไป"
ตัวแทนครูภาคกลาง นางสาวกิติยา ศรีวิชัย โรงเรียนบ้านเกริงกระเวีย จ.กาญจนบุรี เผยว่า "เห็นได้ชัดเลยว่าเด็กคิดอะไรได้เยอะจริงๆ รู้ได้ด้วยคำถามที่เด็กถาม เรามีพาเด็กไปสัมผัสธรรมชติ ทั้ง ชุมชน วัด ฯลฯ จนทำให้เราซึ่งเป็นครูก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก ครูเองก็สนุกไปด้วยตื่นเต้นว่าวันนี้เด็ก จะถามอะไรเราบ้าง ทำให้เราเตรียมแผนการสอนมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นยังเห็นได้ชัดว่า เด็กมีกระบวนการเป็นขั้นตอน มีวิธีในการแก้ปัญหา และนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ผลที่ได้รับกลับมาทำให้เรามีกำลังใจในการสอนมากขึ้น และครูได้นำสิ่งที่ได้จากโครงการนี้ ไปบูรณาการในการสอนหน่วยต่างๆ อีกด้วยค่ะ"
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit