ทั้งนี้ ตามมาตรฐานสากลได้แบ่งประเภทยาไว้ 3 ประเภท คือ ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา ยาที่จ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และ ยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งหากต้องการให้ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่เป็นไปตามหลักสากลจริงๆ คือ ควรหันมาใช้ระบบใบสั่งยา มากขึ้นแทนการเปิดให้วิชาชีพอื่นมาจ่ายยาสำหรับผู้ปวยได้ ยกเว้นกรณีในพื้นที่ห่างไกล หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีข้อจำกัดเรื่องบุคลากร ตามกฎหมายได้อนุญาตให้วิชาชีพอื่นสามารถร่วมกันจ่ายยาได้ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพ
นายกิตติ กล่าวว่า ประเด็นที่เปิดให้วิชาชีพอื่นสามารถจ่ายยาได้ เคยถูกคัดค้านไปแล้วเมื่อปี 2557 โดยได้มีการหารือข้อสรุปร่วมกันระหว่างเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม องค์การอาหารและยา (อ.ย.) รวมถึงวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้จัดทำร่างพ.ร.บ.ยาฉบับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นฉบับที่มีการปรับแก้ในประเด็นที่มีการคัดค้านเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม การประกาศร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ จาก อ.ย. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม จะเห็นว่าร่างพ.ร.บ.ยาฉบับกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ถูกนำมาใช้ ซึ่งการที่ อ.ย. ระบุว่าต้องการให้ ร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ทันสมัยและสอดคล้องตามมาตรฐานสากล แต่สิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นกลับตรงกันข้าม และยิ่งทำให้ ร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่วนกลับไปสู่จุดเดิมที่เคยเป็นมา
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit