คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มีมติเห็นชอบระงับการนำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป พร้อมหาแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) และแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง)

02 Jul 2018
นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 3/2561 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้มีมติเห็นชอบระงับการนำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป เนื่องจากอินโดนีเซียไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขการตรวจประเมินแหล่งผลิตตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติกักพืช ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในเรื่องการควบคุมความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารนำเข้าของไทย ซึ่งประเทศไทยได้มีมาตรการผ่อนผันให้นำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย ภายใต้บทเฉพาะกาลของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ "เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550" โดยมีเงื่อนไขให้อินโดนีเซียแจ้งข้อคิดเห็นต่อร่างเงื่อนไขการนำเข้ามังคุด และเชิญเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตรไปตรวจประเมินแหล่งผลิต แต่อินโดนีเซียไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขดังกล่าว ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงมีหนังสือไปยังกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย เพื่อแจ้งระงับการนำเข้ามังคุด และยกเลิกใบอนุญาตการนำเข้าทั้งหมด ทำให้หลังจากนี้หากอินโดนีเซียต้องการส่งออกมังคุดมายังไทยจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น
คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มีมติเห็นชอบระงับการนำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป พร้อมหาแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) และแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง)

ทั้งนี้ จากข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ประเทศไทยได้นำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย ในปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 113 ล้านบาท (6,000 ตัน) โดยในปี 2561 (ม.ค.- พ.ค.) มีมูลค่าประมาณ 360 ล้านบาท (11,000 ตัน)นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2561 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร คาดว่าจะมีปริมาณลำไยออกมาจำนวน 381,498 ตัน ซึ่งคณะกรรมการฯ มีแนวทางบริหารจัดการ ได้แก่ 1) การกระจายผลผลิตภายในประเทศ จำนวน 28,084 ตัน 2) การแปรรูป จำนวน 270,870 ตัน แบ่งเป็น โรงงานผลไม้กระป๋องหรือน้ำสกัดผลไม้เข้มข้น และการแปรรูปอบแห้ง และ 3) การส่งออก จำนวน 82,544 ตัน

สำหรับแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2561 ที่ประชุมได้มีแนวทางบริหารจัดการผลผลิตที่คาดว่าจะออกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม - เดือนสิงหาคม ได้แก่ ทุเรียน คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิต จำนวน 219,323 ตัน โดยจะมีการส่งออก ล้ง/จุดรับซื้อ จำนวน 139,103 ตัน การกระจายผลผลิตภายในประเทศ 76,620 ตัน และการแปรรูป จำนวน 3,600 ตัน มังคุด คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิต จำนวน 105,196 ตัน โดยจะมีการส่งออก ล้ง/จุดรับซื้อ จำนวน 47,774 ตัน การกระจายผลผลิตภายในประเทศ จำนวน 57,133 ตัน และการแปรรูป 289 ตัน เงาะ คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิต จำนวน 82,575 ตัน โดยจะมีการส่งออก ล้ง/จุดรับซื้อ จำนวน 6,584 ตัน การกระจายผลผลิตภายในประเทศ จำนวน 75,398 ตัน และการแปรรูป 593 ตัน และ ลองกอง คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิต จำนวน 70,188 ตัน โดยจะมีการส่งออก ล้ง/จุดรับซื้อ จำนวน 5,465.40 ตัน แลการกระจายผลผลิตภายในประเทศ จำนวน 64,722.60 ตัน

คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มีมติเห็นชอบระงับการนำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป พร้อมหาแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) และแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มีมติเห็นชอบระงับการนำเข้ามังคุดจากอินโดนีเซีย มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป พร้อมหาแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) และแนวทางบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง)