“ล้ง 1919” เตรียมเนรมิต “นาล้ง” ครั้งแรก! สัมผัสนากลางกรุงริมแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมเรียนรู้การทำเกษตรกรรม – ชมผลิตภัณฑ์จากข้าว

10 Jul 2018
ร่วม 200 ปีที่ผ่านมา บนพื้นที่ท้องมังกรของตระกูลเก่าแก่ ที่ค้าขายข้าวบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา "ฮ่วย จุ่ง ล้ง" หรือท่าเรือกลไฟในสมัยนั้น เติบโตขึ้นจากการทำธุรกิจมาตลอดยาวนาน เรียกได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคทองของการค้าขายข้าวเพราะใช้การขนส่งทางเรือเป็นสำคัญ แต่เมื่อการค้าขายทางเรือเริ่มลดบทบาทลง ทำให้ ฮ่วย จุ่ง ล้ง เริ่มถูกลดทอนบทบาทในการเป็นโกดังเก็บข้าว จนรกร้างว่างเปล่า กลายเป็นที่พักอาศัยของเหล่าหลงจู๊และคนงานเก่าแก่ที่เคยทำงาน ณ ผืนดินแห่งนี้ แต่หากการเดินทางนั้นยังไม่สิ้นสุด เมื่อ ฮ่วย จุ่ง ล้ง ในวันนี้ได้รับการฟื้นฟูพัฒนามาสู่ "ล้ง 1919" โดย บริษัท ชิโน พอร์ต ลูกหลานของตระกูลหวั่งหลี ผู้พัฒนาโครงการ จึงขอชวนทุกคนย้อนเวลากลับไปสู่จุดเริ่มต้นของการค้าขายในอดีต นั่นคือ "เกษตรกรรมและการค้าขายข้าว" จึงริเริ่มโครงการ "นาล้ง 2018" ขึ้น ภายใต้แนวคิด "นากลางกรุงริมแม่น้ำเจ้าพระยา" เนรมิตให้ล้ง1919 กลายเป็นพื้นที่เขียวชอุ่มไปด้วยนา จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-19 สิงหาคม 2561 ณ ล้ง 1919 ถ.เชียงใหม่ เขตคลองสาน
“ล้ง 1919” เตรียมเนรมิต “นาล้ง” ครั้งแรก! สัมผัสนากลางกรุงริมแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมเรียนรู้การทำเกษตรกรรม – ชมผลิตภัณฑ์จากข้าว

รุจิราภรณ์ หวั่งหลี ผู้บริหารโครงการล้ง 1919 ฉายภาพย้อนกลับไปให้ฟังว่า "ผืนแผ่นดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา หรือฮ่วย จุ่ง ล้ง ในอดีต ครอบครัวหวั่งหลีได้ดำเนินกิจการค้าขายข้าวเป็นธุรกิจหลัก เมื่อในวันนี้ เราได้พัฒนาที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ให้กลายเป็น ล้ง 1919 ขึ้น จึงอยากมีกิจกรรมดีๆ ให้คนไทย โดยเฉพาะคนในเมือง ที่ในชีวิตนี้อาจไม่เคยมีโอกาสได้เห็นนาข้าวของจริง ให้ทุกคนที่สนใจได้มาเรียนรู้ถึงความสำคัญของการปลูกข้าวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำหลักทั้งในประเทศ รวมทั้งการส่งออก นอกจากนั้น ยังมีไฮไลต์ข้าวหลากหลายสายพันธุ์ จากภาคต่างๆ ของประเทศไทยให้ชมภายในงาน รวมถึงผลิตภัณฑ์จากข้าวจากทั่วประเทศให้ทุกคนได้มาชมกัน"

"สำหรับไฮไลต์ในครั้งนี้ เราได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรชาวจังหวัดสุพรรณบุรี ที่จะยกแปลงนามาปลูกกันบนพื้นที่ล้ง 1919 โดยเราจะเรียกว่านาล้ง มีต้นข้าวในทุกช่วงอายุมาจัดแสดง ตั้งแต่ต้นกล้า ตั้งท้อง จนถึงออกรวง จะเขียวชอุ่มชุ่มชื่นกันบนพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา มีแปลงนาสาธิตให้ทดลองดำนา นอกจากนั้น จังหวัดร้อยเอ็ดจะนำข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลา ซึ่งเป็นข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่สุดในโลก มาหุงด้วย 'มวย' ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการหุงข้าวที่สืบทอดต่อกันมาของชาวร้อยเอ็ด ที่จะทำให้ข้าวเม็ดสวย นุ่ม ฟู และมีกลิ่นหอมเต็มที่ รวมถึงนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหอมมะลิต่างๆ มาให้ชม ชิม และช้อป ทั้งคุกกี้ข้าวหอมมะลิ ชาข้าวหอมมะลิ รวมถึงแป้งข้าวหอมมะลิด้วย ทั้งหมดนี้จะนำมาจัดแสดงในงานตลอด 12 วันเต็ม" ผู้บริหารโครงการ รุจิราภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับบุคคลทั่วไป สามารถเข้าชมโครงการ "นาล้ง 2018" ครั้งแรกของ นากลางกรุงริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะได้เห็นความสวยงามของผลิตผล "ข้าว" ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างครบครันและสมบูรณ์ที่สุด เห็นถึงรากเหง้าดั้งเดิมของคนไทย ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักในการส่งออก รวมถึงการได้เห็นการจะมาเป็นข้าว ที่พร้อมเสิร์ฟทุกคนบนโต๊ะอาหารทุกมื้อของคนไทย กันในระหว่างวันที่ 8-19สิงหาคม 2561 ณ โครงการล้ง 1919 ท่าประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย-จีน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถ.เชียงใหม่ เขตคลองสาน เปิดให้เข้าชมฟรี! รายละเอียดเพิ่มเติมทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ LHONG1919

คำบรรยายภาพ

สกู๊ปข่าว – ล้ง 1919 เตรียมเนรมิต นาล้ง...ครั้งแรก สัมผัสนากลางกรุงริมแม่น้ำเจ้าพระยา

1. รุจิราภรณ์ หวั่งหลี

2.-3. บ้านหวั่งหลี

4. โกดังเก็บข้าว ที่ฮ่วย จุ่ง ล้ง ในอดีต

5. บรรยากาศการค้าข้าวที่ฮ่วย จุ่ง ล้ง ในอดีต

6. แผนที่จุดยุทธศาสตร์การค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา

7. บรรยากาศการค้าทางน้ำ การขนส่งทางเรือ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าข้าวในอดีต

8. เมล็ดข้าวหอมมะลิ

9. – 10. แปลงนา ต้นอ่อนข้าวหอมมะลิสำหรับผลิตใบชา

11. แปลงนา

12.-14. การหุงข้าวหอมมะลิด้วย 'มวย' แบบดั้งเดิมของชาวร้อยเอ็ด

15. อุปกรณ์การหุงข้าวแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม

16. ใบชาใบข้าวหอมมะลิ

17. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหอมมะลิ – คุกกี้แป้งข้าวหอมมะลิ

18. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหอมมะลิ – ใบชาใบข้าวหอมมะลิ

19. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหอมมะลิ - แป้งข้าวหอมมะลิ

“ล้ง 1919” เตรียมเนรมิต “นาล้ง” ครั้งแรก! สัมผัสนากลางกรุงริมแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมเรียนรู้การทำเกษตรกรรม – ชมผลิตภัณฑ์จากข้าว “ล้ง 1919” เตรียมเนรมิต “นาล้ง” ครั้งแรก! สัมผัสนากลางกรุงริมแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมเรียนรู้การทำเกษตรกรรม – ชมผลิตภัณฑ์จากข้าว “ล้ง 1919” เตรียมเนรมิต “นาล้ง” ครั้งแรก! สัมผัสนากลางกรุงริมแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมเรียนรู้การทำเกษตรกรรม – ชมผลิตภัณฑ์จากข้าว