ที่ผ่านมา เกิดอาสาสมัครทั้งหมด 2,133 คน 4,880 ผลงาน และมี 62 องค์กรมาร่วมขับเคลื่อน ทั้งด้านการออกแบบ สร้างนวัตกรรมช่วยเหลือคนพิการ จัดงานถ่ายภาพ workshop อบรมพัฒนาศักยภาพ แชร์ประสบการณ์ กิจกรรมระดมอาสาสมัคร เป็นต้น ซึ่งตนหวังว่าผู้ร่วมงานจะเกิ ดแรงบันดาลใจในการคิดหรือลงมื อทำ เพื่อร่วมสร้างสังคมให้ดีขึ้น จากสิ่งเล็กๆ ที่ทุกคนก็สามารถเริ่มได้" ผู้จัดการโครงการฯ เล่า
พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ คุณหมอผิง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ ชะลอวัย เจ้าของบัญชีทวิตเตอร์ @Thidakarn ที่จำกัดความตัวเองว่า 'หมอที่ไม่อยากเห็นใครป่วย' 1 ใน 10 Speakers CCTalk2018 ร่วมแชร์ประสบการณ์ว่า ทุกๆ 6 วินาที จะมีผู้ป่วยเบาหวานเสียชีวิต 1 คน ซึ่งพ่อของตนก็เป็นหนึ่งในนั้ นเมื่อตอนที่ผ่านงานรับปริ ญญาได้ไม่นาน นั่นจึงเป็นสิ่งที่มากระตุ้นให้ ต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งไม่ออกกำลังกาย ไม่ใส่ใจในอาหารการกิน พักผ่อนไม่เพียงพอ เรียกง่ายๆ ว่า เป็นโรคที่ทุกคนสามารถป้องกันหรือลดโอกาสที่จะเป็นได้ เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต "เริ่มตนเราก็มีบัญชีทวิตเตอร์ ที่เอาไว้ติดตามข่าวงานวิจัยสุขภาพจากต่างประเทศ แล้วมีคนไข้ที่มีจำนวนคนติดตามหลายคนเข้ามาถามเราเรื่องสุขภาพ เราก็ตอบเขาไป แล้วคนอื่นเห็นว่าบัญชีนี้เป็นหมอ ให้ความรู้ด้านสุขภาพได้ ก็เริ่มมีจำนวนคนติดตามมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันมียอดผู้ติดตาม 722,447 คน
ซึ่งเรื่องที่เราทวิตสื่อสารก็ มีทั้งประเด็นการถามตอบ การป้องกันโรค การเลือกกินยา ความเชื่อด้านสุขภาวะที่ส่งต่อมาจนเป็นความเชื่อ การใช้ชีวิตส่วนตัว และข่าวสารในด้านต่างๆ เช่น ห้ามกินน้ำเย็นเพราะจะทำให้ไขมันเกาะตับและประจำเดือนเป็นลิ่มเลือดซึ่งไม่เป็นความจริง เรื่องการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง เรื่องค่าฝุ่นควันในอากาศ เป็นต้น เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีจำนวนคนเข้าถึงกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น" พญ.ธิดากานต์ เล่าว่ากันว่าเรื่องเพศ นับเป็นสิ่งสำคัญหนึ่งในเรื่องสุขภาวะวีระพงษ์ โอสถวิสุทธิ์ (แมค) Designerและ วรัญญู ทองเกิด (โบจัง) Game Designer คู่หูนักออกแบบเกมJudies จากบริษัท Opendream ที่ให้เกมเปลี่ยนทัศนคติเรื่ องเซ็กส์จากอายเป็นเข้าใจ บอกร่วมกันว่า การได้ลองผิดลองถูกจากการเล่นเกมจะเป็นสิ่งที่ช่วยตอกย้ำ และให้ประสบการณ์แก่เด็กได้แม้ ไม่ต้องเผชิญสถานการณ์ในชีวิตจริง เพราะการผิดพลาดก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกมที่ให้ทักษะเรื่องเพศแก่เยาวนจึงช่วยลดความเสี่ยงได้ เพราะเรื่องเพศก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่โรงเรียน ครอบครัว และสังคมยังไม่ค่อยสอนอย่างเปิดกว้างสองนักออกแบบเกม บอกต่อว่า 8 ปีที่แล้วเราผลิตเกมรักจัดหนักสื่อสารในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย หากใส่ถุงยางอนามัยไม่ทันอสุจิ ก็จะไปโดนไข่ หรือใส่ถุงยางซ้อนกัน 2 ชั้นจะทำให้ถุงยางอนามัยแตก คือเกมเราสอดแทรกการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ป้องกันการท้อง และการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ แต่เมื่อทดลองให้คนเล่นผลตอบรับคือไม่กล้าเล่น ต่อมาจึงเปิดเพจ Sex Safe Safe ที่อัพเดทฟีเจอร์ใหม่ของเกม รวมถึงเผยแพร่อินโฟกราฟิกที่ให้ ความรู้เรื่องเพศ เช่น เรื่องแตกนอกก็ยังท้อง ที่มีคนเข้าถึงกว่า 3 ล้านคน มารวมพลังสร้างแรงบันดาลใจกระตุ้นให้ตระหนักถึงสังคมสุขภาวะผู้สนใจสามารถรับชมCreative Citizen Talk 2018: Health Forward (CCTalk2018) ย้อนหลังได้ทางแฟนเพจ Creative Citizen
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit