เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน กับ เฟรชชี่ นิติศาสตร์ ม.ศรีปทุม @ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี

24 Jul 2018
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อย คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วยคณาจารย์ จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาใหม่ คณะนิติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2560 ด้วยการเปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ๆสำหรับนักศึกษาในการเข้าศึกษาเรียนรู้แง่มุมเชิงประวัติศาสตร์ชุมชน ศึกษาประวัติความเป็นมาของอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี และที่ขาดไม่ได้สำหรับลูกๆศรีปทุม คือ การเข้าศึกษาพระราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี "สมเด็จย่า" พระผู้พระราชทานนาม "ศรีปทุม" พร้อมความหมายว่า "เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว" ณ. อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ
เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน กับ เฟรชชี่ นิติศาสตร์ ม.ศรีปทุม @ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อย คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ชุมชน คือ ความเข้าใจคุณค่าและความหมายของชุมชนผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น "ทุกคนในชุมชนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่กำลังดำเนินต่อไปในอนาคต"ประวัติศาสตร์จึงมิใช่ผลผลิตทางความคิดที่สร้างขึ้นจากพื้นที่ศูนย์กลาง แต่เป็นสิ่งที่ชุมชนท้องถิ่นสามารถสร้างขึ้นได้ รวมถึงหาใช่สิ่งที่หลายคนเข้าใจกันว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวของอดีตที่มีจุดเริ่มต้นและมีจุดสิ้นสุด แต่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนเข้าใจ "ตัวตน" ของชุมชนทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงเล็งเห็นคุณค่าของการเรียนประวัติศาสตร์ชุมชน จึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นมา เพื่อให้นักศึกษาใหม่คณะนิติศาสตร์SPU ได้เรียนรู้และเปิดโลกทัศน์ให้กับตนเองมาขึ้นด้วยการเข้าศึกษาเรียนรู้ประวัติของอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จประศรีนครินทราบรมราชชนนี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประวัติความเป็นมา ของอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จประศรีนครินทราบรมราชชนนี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นสนองกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ที่จะให้อนุรักษ์อาคารเก่าในย่านนิวาสสถานเดิมครั้งทรงพระเยาว์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ และพัฒนาพื้นที่ซึ่งนายแดง นานา และนายเล็ก นานา ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ได้พร้อมใจน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายจำนวน 4 ไร่ ในบริเวณชุมชนหลังวัดอนงคาราม ให้เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นเจ้าของที่ดิน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บุคคลและหน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินการในรูปคณะกรรมการจัดสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตามแนวพระราชดำริ

มีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นพิพิธภัณฑ์เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพัฒนาพื้นที่เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชน สวนแบ่งเป็นสวนส่วนหน้าและส่วนใน สำหรับประชาชนทุกเพศ ทุกวัยใช้พักผ่อนหย่อนใจ ฟื้นฟูสุขภาพ ร่วมชุมนุมประกอบพิธีหรือ กิจกรรมรื่นเริงตามเทศกาล และเป็นแหล่งศึกษาพันธุ์ไม้ รวมถึงเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการ อบรมศิลปะ และงานฝีมือ โดยจัดให้ผสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ผศ.เจียมจิต กล่าว

HTML::image(