นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT กล่าวถึงทิศทางของการจัดงาน "ฝ้ายทอใจ" ในปี 2562 ว่า SACICT จะยกระดับความเป็นสากลเพื่อต่อยอดความก้าวหน้าของการพัฒนาผ้าขาวม้า-ผ้าฝ้ายไทยในปีหน้าให้เป็น "ของที่ระลึกประจำชาติ" ที่เป็นปรากฎการณ์ใหม่อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่จะสร้างกระแสความนิยมและความสนใจกระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าเป็นของที่ระลึกประจำชาติ เพื่อใช้เป็นสิ่งแทนคุณค่าความเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติ ทั้งในโอกาสพิเศษและทุกวาระโอกาสที่ได้มาเยือนประเทศไทย
"ความสำเร็จที่จุดประกายให้ผ้าขาวม้าสามารถนำมาพัฒนาแปรรูปประยุกต์ทำเป็นสิ่งของใช้และผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ต่างๆ มากมาย อาทิ หมวก ที่โพกผม เสื้อสายเดี่ยว ผ้าพันคอ สร้อยคอ เป็นต้น ปีหน้า SACICT จะสร้างโอกาสและเปิดมุมมองใหม่ที่มากขึ้นไปอีก โดยได้ร่วมมือกับองค์กรของรัฐและภาคเอกชนที่สำคัญ อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (TAT) และ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) หน่วยงานที่เป็น กลไกลสำคัญเข้าถึงนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ ร่วมมือหาแนวคิดและแนวทางเพื่อให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้า เป็นของที่ระลึก "ผ้าของขวัญประจำชาติ" ในภาพลักษณ์ใหม่เป็นของฝากประจำชาติของไทยอย่างเป็นรูปธรรม ที่นักท่องเที่ยวต้องการเลือกหาซื้อกลับไปทุกครั้งเมื่อได้มาเที่ยวหรือเดินทางมายังประเทศไทย" ผู้อำนวยการกล่าว
เพิ่มเติมอีกว่า รวมถึงรณรงค์ให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นำผ้าผืนผ้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้า มาใช้แทนห่อของขวัญในแบบต่างๆ และเป็นของขวัญของที่ระลึกแทนสิ่งของเดิมๆ ที่เคยให้แก่กัน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการนำผืนผ้าขาวม้าและผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าให้เป็นของขวัญสำหรับผู้ที่มาเยี่ยมเยือนต่อองค์กรในทุกๆ โอกาส รวมถึงเป็นสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในองค์กร
พร้อมกับนำเสนอแนวคิดใหม่ ผสมผสาน "ผ้าขาวม้า" ไปกับการร่วมทำกิจกรรมสมัยใหม่รูปแบบต่างๆ ที่นำเสน่ห์ของผ้าขาวม้ามารวมเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตแบบสมัยใหม่ของคนไทยยุคปัจจุบัน นอกหนือจากการห่อของ ของที่ระลึก ของขวัญ ให้กับนักท่องเที่ยวและคนรุ่นใหม่แล้ว อาทิ ใช้เป็นของตกแต่งในห้องพัก โรงแรม หรือในบ้าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูที่นอน ผ้าเสริมในอุปกรณ์เครื่องออกกำลังกาย แทนผ้าขนหนูสำหรับเช็ดตัว เป็นต้น
ทั้งนี้ ผ้าขาวม้า มีความโดดเด่น เป็นผ้าที่มีแพทเทิร์น อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แฝงด้วยเสน่ห์ชวนหลงใหล สะท้อนให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความเชื่อและความชื่นชอบที่แตกต่าง แพทเทิร์นของผ้าข้าวม้าแต่ละลวดลาย จึงมีความน่าสนใจในตัวเองแบบที่ไม่ซ้ำใคร และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาอย่างยาวนาน คุณสมบัติผ้าที่มีความโดดเด่น สะดวกและสามารถพกพาได้ง่าย แห้งเร็ว นำหนักเบา ซึมซับเหงือได้ดี สามารถใช้แทนเป็นผ้าขนหนูได้อย่างดี
"SACICT จึงขอเชิญชวนคนไทย ร่วมพลังด้วยใจรักในความเป็นไทย ด้วยการให้มอบของขวัญและของที่ระลึกที่ทำจากผ้าขาวม้า ให้กับคนที่เรารัก วันสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ พร้อมกับบอกกล่าวให้ข้อมูล ทั้งคุณสมบัติ ประโยชน์ของผ้าขาวม้าที่มีมากมายนานับประการ ว่าคนไทยเรามีชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตกับผ้าขาวม้ามาได้อย่างไร ให้ต่างชาติได้ทึ่งในคุณสมบัติข้อดีของผ้าขาวม้าของเรา เพื่อเป็นการถ่ายทอดคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ เสน่ห์ของผ้าขาวม้าไทย สัญลักษณ์ไทยที่สะท้อนถึงศิลปทางวัฒนธรม ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยที่มีต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ให้สืบทอดและคงอนุรักษ์รักษาสืบไว้ต่อไป ทุกครั้งเมื่อได้มีโอกาสในการแนะนำ "ผ้าขาวม้า" ให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในเมืองไทย รวมถึงคนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย ที่เราช่วยกันได้ และเริ่มต้นกันอย่างง่ายๆ เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นคุณค่าและความภาคภูมิใจของไทยเอาไว้"
อีกส่วนหนึ่งในการสร้างกระแสความนิยมผ้าขาวม้าให้กับคนรุ่นใหม่ใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าในชีวิตประจำวันปัจจุบัน (Today Life's Crafts) มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านการพัฒนารูปแบบประยุกต์ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า-ผ้าฝ้ายหลากหลายประเภทที่เป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน คือ การที่ SACICIT จัดกิจกรรมผ่านการจัดงาน "ฝ้ายทอใจ"ต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 ในปีหน้า ซึ่ง SACICT จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีพระราชประสงค์ให้ราษฎร มีอาชีพการทอผ้าฝ้ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และเป็นการช่วยสนับสนุนการจำหน่ายผ้าฝ้ายศิลปาชีพให้ออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
สำหรับผลการจัดงาน "ฝ้ายทอใจ ครั้งที่ 11" ในปี 2561 ผู้อำนวยการกล่าวว่า มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้ง 4 วัน จำนวน 6,063 รายจากเป้าหมาย 5,000 ราย โดยการลงทะเบียนหน้างาน 3,167 ราย และลงทะเบียนออนไลน์ 2,896 ราย และมียอดจำหน่ายและคำสั่งซื้อ ภายในงานรวมจำนวน 22,957,144 บาท จากเป้าหมาย 22.52 ล้านบาท โดยเป็นยอดจำหน่ายภายในงาน 18,942,544 บาท และคำสั่งซื้อ 4,014,600 บาท
ในด้านการสร้างการรับรู้ สามารถสร้างกระแสความสนใจที่มีต่อภาพลักษณ์งานผ้าขาวม้าและผ้าฝ้ายเป็นที่ยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะกระแสในโลกโซเชียลที่มีการเข้าถึงงานฝ้ายทอใจผ่านเพจส่วนตัวของกลุ่มผู้มีอิทธิพล (Influencer) ที่เชิญเข้าร่วมงาน รวมจำนวน 236,795 ครั้ง (ไม่รวมเพจของ SACICT ซึ่งมีกว่า 300,000 ครั้ง) รวมถึงกระแสตอบรับในการสั่งสินค้าที่ร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ กระเป๋าที่ออกแบบโดย Bangkok Tales ที่มีแผนจะผลิตกระเป๋าผ้ากระสอบผสมผสานกับผ้าขาวม้า จำนวน 1,000 ชุด รวมถึงห้องเสือ HOOKS ที่เริ่มมีวามสนใจที่สั่งผลิตเสื้อผ้าในคอลเลคชั่นผ้าขาวม้า
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit