ด้านนายสรเลข เกียรตระกูล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร กล่าวว่า การปรับปรุงบ้านในชุมชน 70 ไร่ คลองเตย เป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการทำงาน ซึ่งนอกจากต้องทำงานแข่งกับเวลา พื้นที่ที่มีขนาดเล็ก และการทำงานที่ต้องประสานความร่วมมือจากเพื่อนอีก 2 ประเทศ จึงทำให้รู้สึกกังวลในตอนแรก แต่งานก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งการทำงานได้แบ่งหน้าที่กันเป็นฝ่ายๆ ฝ่ายรื้อถอน ฝ่ายเลื่อยไม้ และฝ่ายแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ทุกคนต่างนำความรู้ในห้องเรียนออกมาใช้อย่างเต็มที่ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการทำงานของแต่ละประเทศ
ขณะที่นางสาวยูกิ คิตาอุระ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัย Shibaura Institute Of Technology เล่าว่า มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นมีโครงการในลักษณะนี้บ่อยครั้ง ตนเองได้ลงไปทำกิจกรรมทุกครั้งเพราะอยากได้รับประสบการณ์ทำงาน แต่การมาทำงานที่ประเทศไทยต่างจากที่ประเทศญี่ปุ่นมาก ที่นี่เป็นชุมชนเล็กๆ แต่มีคนเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่เป็นโจทย์การทำงานที่ท้าทายเราจะช่วยปรับปรุงบ้านอย่างไรให้รู้สึกน่าอยู่และมีอากาศถ่ายเทสะดวก การทำงานร่วมกับเพื่อนคนไทยและชาวลาวสัมผัสได้ถึงความมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สุดท้ายนายเจมจะเลิน จะเลินผล นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว กล่าวว่าการเรียนรู้ในห้องเรียนกับนอกห้องเรียนนั้นต่างกันมาก การทำงานในครั้งนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ ซึ่งจะค่อยสังเกตจากอาจารย์และเพื่อนๆ จากประเทศอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ต่างกันนำความรู้ที่มีออกมาใช้ นอกจากความรู้และการได้ฝึกภาษาแล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับผมคือมิตรภาพ ทุกคนคอยช่วยเหลือกันตลอด
HTML::image( HTML::image(