สำหรับงาน กิจกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับโอทอป ประกอบด้วย การอภิปราย "การยกระดับ โอทอปด้วย วทน. ได้อย่างไร และกิจกรรม STI for OTOP Upgrade Matching เรียกได้ว่างานนี้จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์โอทอปท้องถิ่นที่น่าสนใจ ซึ่งเกิดจากประเพณี วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก การนำ วทน. ลงมาช่วย จะทำให้เกิดการยกระดับคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ อันนำไปสู่การสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการภายในท้องถิ่น
นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ด้วยนโยบายรัฐบาลและนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ประเทศนวัตกรรม และต้องการนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศใน 3 เรื่องสำคัญ คือ วิทย์สร้างคน วิทย์เสริมแกร่ง วิทย์ภูมิภาค กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับสินค้าโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นงานตามกรอบวิทย์ภูมิภาค และเป็นงานสำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบูรณการและการใช้ประโยชน์ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2560 – 2564) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นงานสำคัญของรัฐบาลตามแผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน และพัฒนา SME สู่สากล ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยหน่วยงานในสังกัดและเครือข่ายสถาบันการศึกษา นำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผสานกับแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพ มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด การพัฒนากระบวนการผลิต เครื่องมือเครื่องจักร บรรจุภัณฑ์และการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความแตกต่าง มูลค่า/คุณค่า เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดทั้งในประเทศ และในระดับสากล
โดยที่ผู้ประกอบการโอทอปเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยรวม และต่อการพัฒนาพื้นที่ภูมิภาค ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้พัฒนาสินค้าโอทอปตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอปให้กับผู้ประกอบการ โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการโอทอปเข้าสู่การขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาดและลูกค้า การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแล้ว ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว จำนวนกว่า 1,600 สถานประกอบการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และเครือข่าย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ทุกภูมิภาค มีความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยี ทั้งเทคโนโลยีด้านอาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เทคโนโลยีการพัฒนาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนของใช้ ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก ครบทุกประเภทสินค้าโอทอป ที่จะเพิ่มศักยภาพ สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายชุมชน แบบครบวงจรให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งมีความเชื่อมั่นด้วยการทำงานร่วมกัน ในลักษณะบูรณาการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานภาคีทุกหน่วยงาน จะสามารถยกระดับผู้ประกอบการโอทอป ให้มีความเข้มแข็ง เติบโต มีรายได้ สร้างเงิน สร้างงาน ส่งเสริมให้เศรษฐกิจฐานรากของไทยก้าวสู่ความมั่งคั่งและมั่นคงอย่างยั่งยืน
HTML::image( HTML::image(