ดังนั้นทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดโครงการบิสซิเนส บราเดอร์ฮูด ( Business Brotherhood ) ขึ้น โครงการนี้ครอบคลุมระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 4 เดือน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน 2561 ตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดรับสมัคร จนถึงช่วงเดือนกันยายน เป็นช่วงเวลาของการส่งผลงานและการจัดแสดงผลงาน
ทางด้านสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำโดย ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้เปิดโครงการบิสซิเนส บราเดอร์ฮูด (Business Brotherhood ) ขึ้น มีวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ เร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพโดยเป็นความร่วมมือจากทางภาครัฐและเอกชน ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจะเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่ว ๆ ไป หรือในหนึ่งทีมจะเป็นการรวมตัวกันมากกว่าหนึ่งสถาบันก็ได้ ทีมหนึ่งกำหนดให้ได้จำนวนสมาชิกในทีม 3-5 คน โดยมีหลักเกณฑ์ในการตัดสินคือภาพรวมของโมเดลธุรกิจ และความคิดสร้างสรรค์ของผลงาน ปัจจุบันภาพรวมของการเรียนการสอนในสถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จะเป็นการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แต่เมื่อนักศึกษาได้เข้าร่วมโครงการแล้วจะได้รับการอบรมในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การออกแบบความคิด (Design Thinking ) การออกแบบธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ การวางแผนการตลาด การดำเนินงานและเทคนิคการนำเสนองานให้น่าสนใจ"
"ในปีหนึ่ง ๆ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่สามารถต่อยอดเป็นสตาร์ทอัพจำนวนมาก ทั้งจากงานวิจัยของคณาจารย์และโครงงานของนักศึกษา แต่หลายครั้งการต่อยอดเชิงพาณิชย์ยังไม่ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ หลายครั้งก็ประสบกับอุปสรรคที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้เนื่องจากนักวิจัยและนักศึกษาเองยังขาดประสบการณ์ด้านธุรกิจ โครงการบิสซิเนส บราเดอร์ฮูด (Business Brotherhood ) จึงนับว่าเป็นโครงการที่มาช่วยแนะนำและให้ความรู้จากพี่เลี้ยงผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจกลุ่มสตาร์ทอัพที่ยังต้องการเพิ่มพูนประสบการณ์ ในปีนี้ เป็นปีที่สองที่ทางบริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพในการให้ความรู้และข้อแนะนำเชิงธุรกิจหลาย ๆ ด้าน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแต่ละท่านก็นับว่าคัดสรรมาเพื่อช่วยเหลือในส่วนของข้อมูลที่กลุ่มสตาร์ทอัพยังขาดอยู่ นับว่างานนี้น้อง ๆ สตาร์ทอัพได้ข้อมูลแบบพูน ๆ เลยก็ว่าได้ "ผศ.ดร. รัชนี กุลยานนท์ กล่าวในตอนท้าย
โครงการบิสซิเนส บราเตอร์ฮูด (Business Brotherhood) ครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 มีนักศึกษาที่ผ่านเข้ารอบ 13 ทีม และ เหลือ 7 ทีม มีที่ปรึกษาจากบริษัทเอกชนทั้งหมด 7 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 15 ท่าน
โครงการที่เข้ารอบ 7 ทีมประกอบไปด้วย 1. ทีม T Bike เป็นทีมที่เกี่ยวข้องการการให้ยืมรถจักรยานด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด ช่วงเวลานี้มีให้บริการในมหาวิทยาลัย ในอนาคตอาจะขยายไปที่มหาวิทยาลัยอื่น หมู่บ้าน ทีมที่ 2 ทีม เพียวริแอร์ แคน เป็นเครื่องฟอกอากาศขนาดพกพา ที่เลือกกรองอากาศได้ มีความพิเศษและไม่เหมือนใครอยู่หลายประการ เช่น สามารถเชื่อต่อได้ทั้ง มีทั้งบลุธูทและไวไฟ ทีมที่ 3 ทีม. มูฟเวอร์ เป็นแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับบุตรหลานที่ขึ้นรถโรงเรียน สามารถวางเส้นทางการขับขี่และตรวจสอบเส้นทางเพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองรู้ว่าบุตรหลายอยู่จุดใด ทีมที่ 4 เพอเพิล คัพ เป็นแอพพลิเคชั่นด้านไลฟ์สไตล์ ที่เกี่ยวกับผู้ที่ชอบดื่มกาแฟแบบเฉพาะเจาะจงรสชาด จะช่วยเพิ่มยอดขายให้แก่ร้านกาแฟที่มีคุณภาพและยาก หากทางร้านมาร่วมกิจกรรมกับแอพพลิเคชั่นนี้จะมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นและมีโอกาสเพิ่มยอดขาย ทีมที่ 5 ทีม สเตชั่น อะเลิต เป็นทีมที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้โดยสารเล่นมือถือจนนั่งรถเลยสถานี จึงให้มีระบบการแจ้งเตือนก่อนจะถึงสถานีปลายทาง ทีมที่ 6. ทีมเกิตเทิล Platform รองรับผู้จัดการเรื่องการแข่งขันกีฬาeSPOTRs กีฬาที่กำลังเติบโตอย่างมากในปัจจุบัน ทีมที่ 7 ทีมโคดิ จะเป็นทีมที่ส่งผลงานด้านการเว็บไซต์โปรแกรม IOT พร้อมสำหรับนำไปใช้งานได้จริง โดยผู้ใช้งานไม่ต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเองให้เสียเวลา เหมาะที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการลดเวลาการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพของงาน IOT ผล ผลงานทั้งหมดมีความสนใจและพร้อมที่จะต่อยอดไปให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในวงกว้าง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit