รีจัส เผยการทำงานที่ยืดหยุ่นช่วยสร้างเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจโลกมูลค่ากว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

17 Oct 2018
- การทำงานที่ยืดหยุ่น คือหนทางแห่งการประหยัดงบการเงินทางธุรกิจ ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ที่ส่งผลอย่างกว้างขวางต่อระบบเศรษฐกิจโลก
รีจัส เผยการทำงานที่ยืดหยุ่นช่วยสร้างเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจโลกมูลค่ากว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030
  • คาดระบบเศรษฐกิจในสหรัฐฯ อาจมีมูลค่าการเติบโตถึง 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • จีน มีแนวโน้มของมูลค่าเพิ่มรวม (GVA) สูงขึ้นถึงร้อยละ 193
  • ภายในปี 2030 การเติบโตของเทรนด์การทำงานที่ยืดหยุ่นจะช่วยประหยัดเวลาการเดินทางของผู้คนได้ถึง 3.53 พันล้านชั่วโมง

จากการศึกษาเชิงสังคม-เศรษฐกิจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านสถานที่ทำงานพบว่า ภายในปี 2030 กระแสนิยมการทำงานที่ยืดหยุ่นจะช่วยสร้างเม็ดเงินให้เศรษฐกิจโลกสูงถึง 10.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ผลสำรวจของ Regus (รีจัส) ดังกล่าวนี้ ได้จัดทำและวิเคราะห์โดยนักเศรษฐศาสตร์อิสระซึ่งได้สำรวจข้อมูลในกลุ่มประเทศสำคัญทั้ง 16 ประเทศ เพื่อเจาะลึกถึงรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นอย่างละเอียดตั้งแต่ปัจจุบันตลอดจนถึงปี 2030

ผลประโยชน์ด้านระบบเศรษฐกิจ

จากผลสำรวจ รีจัส พบว่าการจ้างงานในกลุ่มประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วจะมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นถึงร้อยละ 8 - 13 ภายในปี 2030 ทั้งนี้รูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูงขึ้นจะช่วยประหยัดงบประมาณทางธุรกิจ ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่กลุ่มธุรกิจสำคัญๆ ไปจนถึงห่วงโซ่อุปทาน

ผลประโยชน์สำคัญ ซึ่งองค์กรที่มีพื้นที่ทำงานที่ยืดหยุ่นได้รับ ได้แก่ ประสิทธิภาพในเชิงธุรกิจและส่วนบุคคลที่จะเพิ่มสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจที่ลดลง ตลอดจนเวลาในการเดินทางที่ประหยัดลงนับล้านชั่วโมง โดยปัจจัยเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มรวมให้แก่ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย

ด้วยปัจจัยเหล่านี้ จึงมีการคาดการณ์ว่าประเทศจีนและอินเดียจะมีมูลค่าเพิ่มรวม (GVA) ที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากพื้นที่การทำงานที่ยืดหยุ่น โดยมีแนวโน้มที่มูลค่าเพิ่มรวมในระบบเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 193และร้อยละ 141 ตามลำดับ ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับประเทศจีน และมากถึง 375.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับประเทศอินเดียในแต่ละปี ในขณะที่สหรัฐฯมีแนวโน้มมูลค่าเพิ่มรวมจากรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นในระบบเศรษฐกิจน้อยกว่าเล็กน้อยที่ร้อยละ 109 ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มรวมสูงสุดถึง 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ผลประโยชน์ต่อตัวบุคคล

จากผลการสำรวจยังพบว่าการทำงานที่ยืดหยุ่นไม่เพียงแต่สร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อตัวบุคคลด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีพื้นที่การทำงานที่ยืดหยุ่น มีแนวโน้มที่จะรักงานของตนเองมากกว่าผู้ที่ทำงานในแวดวงเดียวกัน ซึ่งต้องทำงานในพื้นที่ทำงานแบบเดิมมากถึงสองเท่า

ทั้งนี้เหตุผลที่สำคัญคือ พื้นที่การทำงานที่ยืดหยุ่นสามารถช่วยพวกเขาประหยัดเวลาได้มากขึ้น จากแบบจำลองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบรวดเร็วแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ผู้คนจะเริ่มหันมาทำงานที่มีความยืดหยุ่นในอัตราที่สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางลงด้วยการทำงานได้จากสถานที่ต่างๆ จึงสามารถประหยัดเวลาได้ถึง3.53 พันล้านชั่วโมง ภายในปี 2030 ซึ่งเทียบเท่ากับเวลาที่ใช้ไปในการทำงานแต่ละปีของคนทั่วไปจำนวนกว่า 2.01ล้านคน

ผู้คนในประเทศจีน, สหรัฐฯ, อินเดีย และญี่ปุ่น สามารถประหยัดเวลาในการเดินทางได้อย่างมหาศาลภายใต้สถานการณ์จำลองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบรวดเร็วนี้ โดยเหล่าพนักงานในประเทศจีนจะสามารถลดระยะเวลาในการเดินทางจนได้รับเวลากลับคืนมาถึงสองชั่วโมง ในขณะที่พนักงานในสหรัฐฯ ก็สามารถลดระยะเวลาในการเดินทางจนเทียบเท่ากับการได้รับวันหยุดเพิ่มขึ้นมาอีกเกือบเต็มวัน

คุณเอียน ฮอลเลทท์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มรีจัส กล่าวว่า "รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นนับเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ไม่เพียงสร้างประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ แต่ยังรวมไปถึงภาคสังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้คนต่างเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจกว่าล้านองค์กรทั่วโลก

"นับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นว่าสังคมของเราได้รับประโยชน์จากการทำงานอันยืดหยุ่นซึ่งทวีจำนวนมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปจนถึงปี 2030 ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าการทำงานที่ยืดหยุ่นมีความสำคัญมากเพียงใดในช่วงทศวรรษที่กำลังจะมาถึง กลุ่มธุรกิจต่างๆ ควรมองเห็นถึงโอกาสสำคัญนี้เพื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพลิกโฉมพื้นที่การทำงาน และร่วมมอบพื้นที่การทำงานที่มีความยืดหยุ่นให้แก่เหล่าพนักงานทั่วโลกต่อไป"

คุณสตีเฟ่น ลูคัส จากสถาบัน Development Economics เผยว่า "การสำรวจในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการทำงานที่ยืดหยุ่นสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างมากมาย เริ่มตั้งแต่การช่วยให้ผู้คนได้รับเวลาส่วนตัวกลับคืนมามากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างงานและการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น นับเป็นการตอกย้ำได้อย่างดีว่ารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นได้ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจซึ่งภาคธุรกิจและผู้คนต่างๆ จะได้พบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

คุณโนเอล โค้ก ผู้อำนวยการใหญ่ รีจัส ประจำประเทศไทย ไต้หวัน และเกาหลี เผยว่า "รีจัส ในประเทศไทยนับเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบธุรกิจ รวมถึงการแสวงหาโอกาสในการขยายธุรกิจในตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และเป็นฐานในการรุกสู่ตลาด ASEAN โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพฯ นับเป็นศูนย์กลางธุรกิจ e-Commerceในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งธุรกิจประเภท Start Up ซึ่งเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วซึ่งตอบรับอย่างยิ่งกับบริการพื้นที่การทำงานอันยืดหยุ่นจากรีจัส ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกและสนับสนุนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ด้วยการ "ประหยัดค่าใช้จ่าย" การสร้าง "ประสิทธิภาพ" ให้กับบุคลากรและหนุนให้ธุรกิจ "เติบโต" ได้อย่างยั่งยืน"

รีจัส พื้นที่บริการสำนักงานให้เช่านั้นมีเครือข่ายสาขาที่ครอบคลุมกว่า 21 แห่งทั่วประเทศไทย ทั้งในกรุงเทพ ภูเก็ต เชียงใหม่ และศรีราชา ซึ่งล่าสุดได้ขยายสาขาที่ 21 บนชั้น 30 ณ สิงห์ คอมเพล็กซ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรีจัส สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ www.regus.co.th

เกี่ยวกับ Regus

Regus (รีจัส) ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่สำนักงานพร้อมใช้ชั้นนำระดับโลกที่มีเครือข่ายออฟฟิศ โคเวิร์คกิ้งสเปซและห้องประชุมอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมให้บริการแก่ลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจใหม่ๆ และสนับสนุนทุกโอกาสในการพัฒนาธุจกิจแบบไร้พรมแดน

เครือข่ายพื้นที่ทำงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของเราจะสามารถช่วยทุกธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ในเกือบทุกเมืองทั่วโลกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน โดยจะไม่มีภาระด้านค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเพื่อการก่อตั้งแต่อย่างใด พร้อมมอบบริการในการดูแลและจัดการอย่างเต็มรูปแบบให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ยังได้ดีไซน์พื้นที่สำนักงานพร้อมใช้แบบพิเศษเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสามารถเข้าถึงคอมมิวนิตี้ระดับโลกที่รวบรวมกลุ่มคนระดับมืออาชีพที่มีความสนใจคล้ายๆ กันมากถึง 2.5 ล้านคน ได้อย่างทันที

HTML::image(