หนึ่งในนั้นคนที่มีความพิการทางจิตเป็นกลุ่มคนอีกประเภทหนึ่งที่ความจริงแล้วเขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เขาสามารถประกอบอาชีพร่วมกับเราในสังคมได้ ในปัจจุบันคุณนุชจารี สว่างวรรณ นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปัจจุบันคนพิการมีกฎหมายรองรับสิทธิเสรีภาพเช่น "คนพิการทางจิต" หรือคนบกพร่องทางจิตนั้น ยังมีสิทธิทางการเมืองและนโยบายสาธารณะชัดเจน เว้นแต่ศาลสั่งว่าทำไม่ได้ และมีใบรับรองแพทย์ว่า เลือกตั้งหรือเสนอความเห็นไม่ได้เท่านั้น เสียงและสิทธิของผู้พิการจึงไม่มีผลหรือเมื่อลงคะแนนแล้วเป็นโมฆะ นั่นหมายความว่าถ้าคนพิการทางจิตที่ศาลไม่ได้สั่งให้ระงับเสรีภาพตรงนี้เขาก็มีสิทธิเท่าเทียมกับคนทุกคนในสังคม
คนพิการทางจิตมีสองแบบ คือคนที่จดทะเบียนเป็นคนพิการ กับคนที่ไม่ได้จดทะเบียน บางครอบครัวไม่ให้ผู้ป่วยจดทะเบียนคนพิการทางจิต เพราะกลัวว่าสังคมจะไม่ยอมรับ เสียหายต่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูล จึงทำให้ผู้นั้นไม่ได้รับการบำบัดรักษาและสูญเสียโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาตนเองไปอย่างน่าเสียดาย
เป็นเรื่องที่คนในครอบครัวต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกและต้องยอมรับเขา และต้องให้โอกาสเขาเพื่อการพัฒนาซึ่งเมื่อเขาได้รับการดูแล บำบัดและฝึกฝน เขาก็จะสามารถมีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองมากขึ้นและไม่เป็นภาระต่อครอบครัวหรือสังคมทัศนคติของสังคมไทย ซึ่งมองว่าคนพิการต้องให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่คิดที่จะพัฒนาและให้โอกาส สังคมอาจจะให้โอกาสเหมือนกันแต่ยังให้น้อยเกินไป สังคมมองเราเป็นผู้รับ ดังนั้นโอกาสที่เราจะเป็นผู้ให้จึงยังมีน้อย ทั้งหมดอยู่ที่การเปิดใจของสังคมขอให้โอกาสพวกเขา เข้าใจพวกเขามากขึ้น เชื่อแน่ว่าเขาจะเป็นภาระต่อสังคมน้อยลงและสามารถพัฒนาขึ้นในจนถึงระดับที่พวกเขาสามารถให้สิ่งดีๆแก่สังคมได้ด้วย
ขอเชิญท่านผู้ชมร่วมส่งกำลังใจให้พวกเขาเหล่านั้นร่วมกับอิ๋งอิ๋งผ่านทางรายการ "ทำด้วยใจเพื่อแผ่นดิน"ทาง NBT ทุกวันศุกร์ เวลา ๒๒.๐๐-๒๒.๓๐ น. นะคะ กำลังใจที่ส่งถึงพวกเขาและการร่วมเชิดชูเกียรติผู้ที่ทำหน้าที่แทนพวกเขาจะเป็นหนึ่งพลังที่ผลักดันให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมค่ะ
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit