ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการเดินทางเข้าร่วมการประชุมผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU Plenipotentiary Conference 2018 (PP 18) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ณ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่า คณะผู้แทนไทย ได้มีโอกาสร่วมหารือทวิภาคีกับ HON. Paula Ingabire รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีและนวัตกรรมแห่งสาธารณรัฐรวันดา พร้อมร่วมลงนามใน "บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคม ไอซีทีและเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงไอซีทีและนวัตกรรมแห่งสาธารณรัฐรวันดา"
โดยบันทึกความเข้าใจดังกล่าวครอบคลุมความร่วมมือในสาขาต่างๆ เช่น การส่งเสริมระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมสำหรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล การแลกเปลี่ยนความรู้และนโยบายด้านดิจิทัล นวัตกรรมด้านดิจิทัล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัล และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมก่อนการประชุมผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ
สำหรับสาธารณรัฐรวันดาเป็นประเทศขนาดเล็กตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวันดา มีการพัฒนาในด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องซึ่งได้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของรวันดาอย่างเป็นรูปธรรม การได้พบหารือและลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านดิจิทัลระหว่างสองประเทศ และโดยที่ประเทศไทยจะทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปี 2562 จึงเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียนและแอฟริกาต่อไป
จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาประมาณ 20 ปี รวันดา ได้พ้นจากภาวะรัฐล้มเหลว และก้าวมาเป็นประเทศที่มีการจัดการสมัยใหม่ได้ ในปี 2017 รวันดาเริ่มเข้าสู่ระดับของประเทศชนชั้นกลาง และกำลังจะก้าวพ้นความยากจนกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในเขตแอฟริกากลาง เป็นประเทศที่สงบสุข มีความปลอดภัยสูง และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ประชุมสัมมนา และทำธุรกิจแห่งใหม่ในแอฟริกา โดยมีวิสัยทัศน์คือการก้าวเข้าสู่ประเทศรายได้ปานกลางในปี 2020
วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีและไอที รวันดาเปิดเสรีโทรคมนาคมและลงทุนสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกากลางและตะวันออกความยาวถึง 2,300 กิโลเมตรทั่วประเทศ ทำให้รวันดามีความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในแอฟริกา รวมถึงมีระบบ 4G ใช้งานก่อนหลายประเทศในแอฟริกา ประธานาธิบดีเองมีทั้งไอดีเฟซบุ๊ก Flickr
อินสตาแกรม และทวิตเตอร์ ระบบการเงิน และธนาคารในรวันดาสามารถเข้าถึงผ่านอินเทอร์เน็ตมือถือ ในขณะที่ประเทศใกล้เคียงยังปิดกั้นอินเทอร์เน็ต และมีโครงข่ายคุณภาพไม่ดีพอ เป้าหมายของรวันดาคือการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของแอฟริกาในอนาคต
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit