แล้วประกบบนกับล่างคล้ายแซนด์วิช จากนั้นทุกคนต่างพัฒนาสูตรกันมาเรื่อยๆ ความยากของขนมชนิดคือส่วนผสมที่ลงตัวและอุณหภูมิที่เหมาะสม ทั้งการอบและเก็บรักษา ส่วนเรื่องรสชาตินั้น แล้วแต่รสนิยมของพ่อครัวและสูตรลับแต่ละร้าน
Eclairs (เอแคลร์วานิลลาและเอแคลร์คาราเมล) นี่ก็เป็นขนมหวานที่มีประวัติมามากกว่า 100 ปี ทำความเข้าใจกันนิดนึงก่อนว่า 'เอแคลร์' ที่เรากำลังจะเล่าต่อไปนี้นั้น เป็นขนมหน้าตาน่ารัก ทรงยาว ไม่ใช่เอแคลร์ก้อนเล็กจิ๋วที่คนไทยนำมาพัฒนาในภายหลัง ว่ากันว่า ที่ขนมชนิดนี้ชื่อว่าเอแคลร์นั้น เพราะแปลว่าสายฟ้า ซึ่งเป็นคำเปรียบเปรยว่ากินง่ายและอร่อย จนหมดเร็วดั่งฟ้าแล็บ ไม่มีหลักฐานไหนยืนยันได้ 100% ถึงที่มาของคำนี้ แต่ที่ยืนยันได้ก็คือ สูตรขนมชนิดนี้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 (นานมาก!) โดยพัฒนามาจากชูครีม เพราะใช้แป้งชนิดเดียวกัน แต่บีบเป็นแท่ง เมื่ออบจนได้ที่ แป้งด้านนอกจะขึ้นฟู มีกลิ่นหอม ส่วนด้านในจะกลวง นั้นนั้นสอดไส้ด้วยคัสตาร์ดหรือ ช็อกโกแลต แล้วเคลือบด้วยน้ำตาลเหลวอีกที
Cupcake (คัพเค้กรูปกระถางต้นไม้ ซิกเนอเจอร์ของร้าน Audrey Cafe & Bistro)
ชื่อก็บอกที่มาจากคำว่า Cup+Cake อยู่แล้ว แต่ มีถึง 2 ข้อสันนิษฐานด้วยกัน อย่างแรกคือเพราะเป็นเค้กที่อยู่ในถ้วย แปลกันตรงตัว ส่วนอย่างที่สองนั้น มาจากการชั่ง-ตวง-วัด อย่างแม่นยำซึ่งต้องอาศัย 'ถ้วยตวง' จึงยังคลุมเครืออยู่ว่า ที่มาอันไหนนะคือความตั้งใจของคนทำคนแรกอย่างแท้จริง คัพเค้กเป็นขนมที่เกิดขึ้นที่ประเทศอเมริกาช่วงศตวรรษที่ 19 เก่าแก่กว่าที่เราคิดมาก ถูกพบคำนี้ครั้งแรกในหนังสือ Eliza Leslie's Receipts Cookbook พิมพ์ในปี 1828 สันนิษฐานว่า เริ่มเป็นที่นิยมเพราะการทำคัพเค้กนั้นสะดวกและรวดเร็วกว่าการทำเค้กก่อนใหญ่ โดยใช้ถ้วยกระเบื้องเป็นแม่พิมพ์ในช่วงแรก จากนั้นจึงพัฒนามาเป็นถ้วยอลูมิเนียม และกระดาษไขที่เห็นอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
Red Velvet (เค้กเรดเวลเว็ท จากร้าน Dean & Deluca) เค้กเรด เวลเว็ท คือขนมที่เกิดจากความบังเอิญ หากอ้างอิงตามหนังสือสอนทำอาหารที่ชื่อ 'American Cookery' (1972) ก็จะรู้ว่าที่มาของขนมสีแดงชิ้นนี้นั้น เกิดจากการพ่อครัวขนมหวานอยากทำเค้กช็อกโกแลต แต่เขากับพบว่าน้ำสมสายชูกับผงโกโก้นั้น สามารถทำปฏิกิริยาให้แป้งเค้กนุ่มฟูและน่ากิน แถมยังเปลี่ยนเป็นสีแดงอีก เขาเลยทดลองทำเค้กชนิดนี้ขึ้นมา แล้วเอารสเปรี้ยวของครีมชีสมาตัดความหวานของเนื้อเค้ก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ทำขนมสูตรนี้ที่สืบทอดกันมายังมีไอเดียเอาน้ำบีทรู้ทผสมลงไปเพื่อให้สีของเค้กแดงสด ดูน่ากินมากยิ่งขึ้น แต่ชื่อ 'เวลเว็ท' ที่แปลว่ากำมะหยี่นั้น ไม่ได้เป็นความบังเอิญ หากคือการเปรียบเทียบเนื้อที่บางเบาราวผ้ากำมะหนี่ เพราะเกิดจากการที่กรดไป สร้างฟองอากาศในเนื้อเค้ก เลยทำให้นุ่มลิ้นทุกครั้งที่ตักเข้าปาก
Scone (สโคนและชุดอาฟเตอร์นูน ที จากร้าน Harrods Tea Room) โอเคๆ ถึงแม้ว่าสโคนจะไม่ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ 'ขนมหวาน' เพราะเน้นแป้งและใช้การอบ ซึ่งควรอยู่ในหวมด Boulangerie หรือขนมปังมากกว่า แต่ว่าเจ้าสโคนลูกกระทัดรัดนี่ก็มักได้รับเกียรติให้อยู่ในเซ็ตน้ำชายามบ่ายเคียงข้างขนมหวานชนิดอื่นๆ
แถมคนยังนิยมกินคู่กับคอทเทจครีมและแยมรสชาติหวานมันอีก สืบย้อนไปพบว่าเป็นอาหารของคนสก็อต กำเนิดมาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1500 โดยในช่วงแรกนั้น สโคนมีขนาดใหญ่เท่าจานและแบนกว่าสโคนในปัจจุบันประมาณเท่าตัว ปัจจุบันสโคนถือเป็นขนมอบแบบคลาสสิก ที่มีจำหน่ายทั้งในขนมเบเกอรี่ ร้านขายเค้ก รวมทั้งร้านกาแฟ เพราะกินง่าย ขนาดกำลังดี แต่สามารถเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ ลงไปได้ เช่น ผลไม้อบแห้งและช็อกโกแลต
Taiyaki (Croissant Taiyaki ร้านที่นำแป้งครัวซองท์มาทำขนมไทยากิ อร่อยไม่เหมือนใคร มีไส้ให้เลือกเยอะ)หนึ่งในขนมประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น 'ไทยากิ' ทำมาจากแป้งรูปปลาไทและสอดไส้ถั่วแดง ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดมาในช่วงไหน แต่มีมานานมากกว่า 100 ปีอย่างแน่นอน โดยมีการตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าราคาปลาในหน้าหนาวนั้นค่อนข้างแพง ชาวญี่ปุ่นจึงทำขนมรูป ปลาขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทน โดยใช้ปลาไทเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าโชคดี ส่วนคำว่า ยากิ แปลว่าย่าง ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ขนมชนิดนี้สุกนั่นเอง ไทยากิมาบูมเป็นพลุแตกประมาณปี 1976 มีการทำเป็นปลาหลายรูปทรง กำเนิดไทยากิแช่แข็งเพื่อความสะดวกสบายในการรับประทาน และเริ่มแพร่หลายสู่ต่างประเทศตั้งแต่นั้นมา
Bingsu (บิงซูผลไม้สุดฉ่ำ จากร้าน Hanbingo) เชื่อไหมว่า บิงซู หรือน้ำแข็งไสสไตล์เกาหลีก็มีประวัติศาสตร์มามากกว่า 100 ปีหรือมากกว่านั้นอีกนะ คำว่า บิงซู นั้นมาจากคำว่า 'พัทบิงซู' ซึ่งหมายถึงน้ำแข็งไสราดด้วยถั่วแดงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมกันระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น แต่เคยมีบันทึกไว้ว่า ในสมัยโชซอน (ค.ศ. 1392 – ค.ศ. 1910) ก็พบว่ามีการทำเมนูของหวานด้วยน้ำแข็งบดหยาบ แล้วท้อปด้วยส่วนผสม 2 – 3 ชนิด เช่น ผลไม้ เค้กข้าว หรือถั่วบด ซึ่งถือว่าเป็นท้อปปิ้งที่ต้องมีของขนมชนิดนี้ หลังจากยุคสงครมเกาหลีเป็นต้นมา พัฒนาการของบิงซูเริ่มก้าวกระโดด จากน้ำแข็งใสหน้าถั่วแดงและผลไม้ คนเริ่มใส่ไอศกรีม ซีเรียล น้ำเชื่อม และวิปครีมลงไป ปัจจุบันความนิยมการกินบิงซูยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ร้านขนมต่างๆ เริ่มใช้วัตถุดิบในเมืองไทย เช่น มะม่วง ทุเรียน หรือครีเอทหน้าตาบิงซูใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อเรียกร้องความสนใจของคนรักขนมหวาน แต่ก็อย่างว่า คนเมืองร้อนอย่างเรา ยังไงก็รักขนมเย็นๆ ชามโตนี้ไม่เปลี่ยนแปลงอยู่แล้วสินะ
อ่านต่อ
https://www.emquartier.co.th/ประวัติศาสตร์ความหวาน/
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit