ทีเซลส์ผนึกพลังเดินหน้าขับเคลื่อนงานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจและการลงทุน “Promoting I with I” Ep. 2/2018 Thailand 4.0 - (TCELS)

12 Sep 2018
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ผนึกพลังเดินหน้าขับเคลื่อนงานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจและการลงทุน "โครงการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน" Promoting I with I Episode 2/2018 Thailand 4.0 จับมือร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBio), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดกิจกรรม Pitching Day การนำเสนอแผนธุรกิจ จับคู่ทางธุรกิจ ในวันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา 08.30 - 17.00 น. ณ ห้องอโนมา 3 ชั้น 3 โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ
ทีเซลส์ผนึกพลังเดินหน้าขับเคลื่อนงานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจและการลงทุน “Promoting I with I” Ep. 2/2018 Thailand 4.0 - (TCELS)

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า "โครงการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน (Promoting I with I Episode 2/2018) โดยทีเซลส์จับร่วมมือกับ ThaiBIO, สกว., สวก., และ สกอ. ร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านชีววิทยาศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ "Value–Based Economy" หรือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม จากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรมมากขึ้น ทั้งยังส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ต่อยอดไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ ที่พร้อมออกสู่ตลาดธุรกิจ อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสพัฒนาโครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ตอบรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0"

"โดยจัดเวที Pitching นำเสนอแผนธุรกิจ ผลงานวิจัยให้กับคณะกรรมการ และนักลงทุนได้ร่วมรับฟัง การนำเสนอผลงานวิจัยที่พร้อมต่อยอดธุรกิจ คัดเลือกจากผู้ร่วมโครงการกว่า 20 ผลงาน คัดสรรให้เหลือเพียง 10 ผลงาน ถือได้ว่าเป็นการเปิดช่องทางให้กับ Innovation ได้พบกับ Investors (นักลงทุน) เกิดการเจรจาธุรกิจกับนักวิจัยเจ้าของผลงาน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี ผลงานวิจัยในงานประกอบด้วย เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์, ชุดตรวจวิเคราะห์ Test-kit และ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ" ดร.นเรศ กล่าว

"ภายในงานพบกับ ดร.สิรินมาส คัชมาตย์ เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาให้คำแนะนำแก่ ผู้ร่วมงานถึงการขึ้นทะเบียน และมาตรฐานการขึ้นทะเบียนอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ และ คุณกิตติเทพ จริงจิตร ตัวแทนสิทธิบัตรและผู้จัดการฝ่ายสิทธิบัตร บริษัท อินเทลเล็คชวลดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา จะมาเจาะลึกทิศทางแนวโน้มเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เป็นกระแสของโลก ในหัวข้อ นวัตกรรมทันเทรนด์ : IP Landscape Analysis of Medical Devices 2018 และร่วมฟังการเสวนา จากผู้แทนทีมวิจัยผู้ถ่ายทอดผลงาน และ ผู้แทนบริษัทเอกชนที่สร้างสรรค์ผลงานสู่เชิงพาณิชย์ โดย ผศ. ส. พญ. ดร. มนชนก วิจารสรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คุณรัตติญา ศริดารา สำนักวิชาการ กองงานสนับสนุนงานวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผศ. ทพ. วิจิตร ธรานนท์ ที่ปรึกษาและอตีดผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง, คุณนริศชา ต่อสุทธิ์กนก ตัวแทนบริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และคุณยงยุทธ โฆธิพันธ์ ตัวแทนบริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด จะมาร่วมเล่าประสบการณ์การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ช่วยลดการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ชุดทดสอบและเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ โดยประเทศไทยสามารถผลิต และจำหน่าย ส่งออก นำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อให้นักวิจัย นวัตกร และภาคเอกชนได้เห็นโอกาสการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์อย่างครบวงจร นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการเจรจาธุรกิจ Business matching ระหว่างนักวิจัยและนักลงทุนภายในงานนี้ด้วย" ดร.นเรศ กล่าวปิดท้าย

สำหรับ 10 ผลงาน ที่ได้รับคัดเลือก Pitching นำเสนอแผนธุรกิจ

1. Recombinant human peptide: ทางเลือกใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะและสารกันเสีย

โดย ดร. นุจริน จงรุจา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

2. พุดดิ้งผักสำหรับผู้สูงวัยที่มีสูญเสียฟัน

โดย นางสาววิภาดา มิตรบำรุง สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

3. สครับขัดผิวจากยางธรรมชาติผง

โดย ผศ. ดร. ช. วยากรณ์ เพ็ชญไพศิษฏ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. นวัตกรรมวัสดุบ้ำบัดน้ำเสียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการดูดซับเชิงกายภาพ-เคมีและการกรองทางชีวภาพ

โดย ดร. ภัทร์ สุขแสน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

5. ชุดทดสอบแบบรวดเร็วสำหรับการตรวจหาแอนติบอดีต่อโรคเลปโตสไปโรสิส

โดย รศ. ดร. อุไรวรรณ โฆษิตานนท์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6. ซีเมนต์กระดูกแบบฉีดสำหรับทดแทนกระดูกและสภาวะกระดูกพรุน

โดย รศ. ดร. ศิริรัตน์ ทับสูงเนิน รัตนจันทร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

7. จมูกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประยุกต์ใช้ด้านสุขภาพ

โดย นางสาวธารทิพย์ เอี่ยมสอาด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

8. หมอนรักษ์หลัง

โดย รศ. ดร. รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

9. อุปกรณ์ช่วยเดิน

โดย รศ. พรรณี ปึงสุวรรณ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10. เตียงนวดและดึงหลัง

โดย รศ. ดร.วิชัย อึงพินิจพงศ์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

HTML::image( HTML::image(