นายธนา สุวัฑฒน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน เปิดเผยว่าเมื่อมีแผนดำเนินการหลายแผน หากเป็นความเชี่ยวชาญของกรมชลประทานเช่นเรื่องคุณภาพน้ำซึ่งมีสำนักวิจัย มีสำนักสิ่งแวดล้อม ก็จัดการเองได้ แต่นอกเหนือกว่านั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากที่อื่น
"พอไปเรื่องโบราณคดี เรื่องขุดค้น หรือบางทีต้องทำพิพิธภัณฑ์เลยด้วยซ้ำ หรือเรื่องประมงเราก็ทำเองไม่ได้ ต้องมีกรมประมงเข้ามาช่วย หรือเรื่องโรคเขตร้อนที่เกี่ยวกับน้ำ ก็ต้องไปทางสาธารณสุข ส่วนที่เกี่ยวกับป่าไม้ก็ไปที่กรมป่าไม้ มีหน่วยงานเยอะเลยที่มาร่วมกันทำงาน นี่คือการบูรณาการ พื้นที่เดียวกัน งานเดียวกัน แต่ทำงานกันหลายหน่วยงาน"
เกณฑ์การคัดเลือกคนที่เข้ามาร่วมทำงาน ทางกรมชลประทานยึดหลักว่าผลกระทบเกิดด้านใดบ้าง จึงเลือกหน่วยงานที่เชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพเข้ามาทำงาน
ยิ่งการทำงานซับซ้อนและมีหลายฝ่ายร่วมกัน งบประมาณที่ใช้ย่อมมากขึ้นตาม ลำพังจะผลักให้หน่วยงานที่เข้ามาช่วยต้องแบกรับคงไม่ดีแน่ ด้านงบประมาณ ผอ.สำนักวิจัยฯ บอกว่ากรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
"เราดูว่าจำเป็นต้องทำอะไรบ้าง หน่วยงานต่างๆ จะเสนอแผนมา แล้วเราพิจารณาร่วมกัน เช่น จุดสกัดป่าไม้ กรมป่าไม้เสนอมา 5 จุด เราก็เอาแผนที่มาหารือกัน พอตกลงกันได้ว่าต้องทำกี่จุด เราก็จัดสรรงบประมาณให้ อย่างกรมประมงต้องมีเรือตรวจการณ์ เราก็จัดสรรงบประมาณซื้อให้ อะไรที่จำเป็นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ต้องทำได้เลยอย่างเต็มที่"
ในปีที่แล้วกรมชลประทานได้รับงบประมาณราว 200 ล้านบาท เพื่อจัดการโครงการแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่จำนวนตัวเลขนี้ไม่แน่นอนในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการจัดการ ผอ.สำนักวิจัยฯ บอกว่างบจะอยู่ราว 100-200 ล้าน ซึ่งในตัวเลขดังกล่าวต้องเกิดเกิดผลสัมฤทธิ์คุ้มค่า
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit